วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม

วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม พระอารามหลวงชั้นตรี[1] ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ 1549 ถนนศรีสุมังค์ ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2330 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2499 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2513 เป็นพระอารามหลวงแห่งแรกของจังหวัดศรีสะเกษ

วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 1549 ถนนศรีสุมังค์ ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธสิริเกศมงคล พระแก้วศรีวิเศษ
เจ้าอาวาสพระครูสิริปริยัติการ (หงส์ ปคุโณ ป.ธ.4) รักษาการ
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติ[2] แก้

 
อนุเสาวรีย์พระยาช้างล้มป่วย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน "เจียงอี"

วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม ตั้งอยู่ที่บ้านเจียงอี ซึ่งเป็นชุมชนของชนชาติไทย เผ่าส่วย คำว่า "เจียงอี" เป็นภาษาส่วย "เจียง" แปลว่า "ข้าง" "อี" แปลว่า "ป่วย" รวมความว่า "เจียงอี" แปลว่า ข้างป่วย[3] ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย เมื่อพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์เสวยราชสมบัติอยู่นั้น ได้เกิดอาเพศขึ้น พระยาช้างเผือกแตกโรงหนี แล้วมุ่งหน้ามาทางทิศตะวันออก เลยเข้าเขตเมืองศรีสะเกษ พระเจ้าแผ่นดินทรงจัดให้ทหารนายกองจับข้างติดตามมาทันที่ลำธารแห่งหนึ่ง อยู่ในเขตอำเภอห้วยทับทัน ในปัจจุบัน ได้เห็นพระยาช้างแต่จับไม่ได้ ช้างวิ่งหนีไปทางทิศใต้ ถึงเชิงเขาพนมดงรัก หัวหน้าผู้ปกครองบ้านเมืองแถบนั้นก็พากันช่วยตามจับพระยาช้าง แล้วไปจับได้ที่เชิงเขาพนมดงรัก ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ในปัจจุบัน จึงนำกลับมา และได้นำส่งพระยาช้างเผือก เมื่อนำพระยาช้างเผือกมาถึงหมู่บ้านใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ในตัวเมืองศรีสะเกษ พระยาช้างได้ล้มป่วยลง เมื่อรักษาพยาบาลหายแล้วจึงได้เดินทางต่อไป ชาวบ้านเป็นไทยส่วย จึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า "บ้านเจียงอี" คือบ้านช้างป่วย สืบมา วัดก็เรียกว่า "วัดเจียงอี" เช่นกันตามชื่อหมู่บ้าน

ที่ตั้งและขนาด แก้

วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม ตั้งอยู่เลขที่ 1549 ถนนศรีสุมังค์ ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ มีเนื้อที่ทั้งหมด 77 ไร่ 2 งาน 75.7/10 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 651

มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 2 แปลง

  • แปลงที่ 1 เนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 52.9/10 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 650
  • แปลงที่ 2 เนื้อที่ 1 งาน 2.7/10 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 654

ลักษณะพื้นที่ตั้งของวัด เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีส่วนโค้งบางแห่งทางทิศใต้ ตั้งอยู่กลางเมืองศรีสะเกษ

อาณาเขตติดต่อ แก้

ทิศเหนือ ติดต่อถนนชัยสวัสดิ์

ทิศใต้ ติดต่อที่ดินของชาวบ้าน

ทิศตะวันออก ติดต่อถนนศรีสุมังค์

ทิศตะวันตก ติดต่อที่ดินของชาวบ้าน และโรงเรียนเทศบาล 1 (วัดเจียงอี)

สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญภายในวัด[4] แก้

พระอุโบสถ แก้

สร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2496 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2499 เป็นอาคารคอนรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๕ เมตร ต่อมาในปี 2553 ได้บูรณะใหม่ในพื้นที่เดิม เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 11.50 เมตร ยาว 28.50 เมตร ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระประธานในอุโบสถ หล่อด้วยทองเหลือง ขนาดหน้าตักกว้าง 44 นิ้ว สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2496 โดยคุณละม้าย ลิ้มอักษร เป็นเจ้าภาพสร้างถวาย

 
พระประธานในพระอุโบสถ วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม

พระวิหาร แก้

 
พระวิหาร วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2507 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2512 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น กว้าง 18 เมตร ยาว 40 เมตร ประดิษฐานพระพุทธชินราช (จำลอง) เป็นพระประธานในพระวิหารชั้นบน ขนาดหน้าตักกว้าง 59 นิ้ว หล่อด้วยทองเหลือง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2514 โดยมีคุณอรพิน เกษชุมพล เป็นเจ้าภาพสร้างถวาย

วิหารพระพุทธไสยาสน์ แก้

 
พระพุทธสิริเกศมงคล พระประธานวิหารพระพุทธไสยาสน์

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น กว้าง 12 เมตร ยาว 40 เมตร หลังคาโค้งแบบประทุน ชั้นบนเป็นห้องโถง ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ขนาดยาว 27 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ในเศียรบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2518 นามว่า พระพุทธสิริเกศมงคล ชั้นล่างเป็นห้องโถง และมีห้องพักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม จำนวน 4 ห้อง

พระวิหารพระแก้วศรีวิเศษ แก้

 
พระแก้วศรีวิเศษ

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2556 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร หลังคาทรงไทย มุงกระเบื้อง ประดิษฐานพระแก้วศรีวิเศษ เป็นพระประธานยู่ในวิหาร ขนาดหน้าตักกว้าง 79 นิ้ว สร้างด้วยหินหยกสีเขียวจากประเทศอินเดีย ปางมารวิชัย โดยมีคุณศรีสุข รุ่งวิสัย เป็นเจ้าภาพสร้างถวาย

กุฎีสงฆ์ แก้

จำนวน 24 หลัง สร้างด้วยไม้ 13 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 9 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ จำนวน 2 หลัง

กุฎีเจ้าอาวาส แก้

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 18 เมตร

ศาลาเอนกประสงค์ แก้

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2547 เป็นอาคารชั้นเดียว คอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นหินขัด มีผนังหนึ่งด้าน ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร

ศาลาบำเพ็ญกุศล แก้

จำนวน 3 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

ฌาปนสถาน แก้

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2521 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร ยกพื้นสูง 2.50 เมตร หลังคาเป็นมณฑป ติดลายปูนปั้น

ศาลาหอฉัน แก้

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2553 จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารชั้นเดียวโล่ง ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาคอนกรีต หลังคาทรงไทยประยุกต์

หอระฆัง แก้

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 2.5 เมตร สูง 8 เมตร

หอกลอง แก้

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529 เป็นอาคารคอนรีตสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 2.5 เมตร สูง 8 เมตร

หอพระไตรปิฎก แก้

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2521 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาจตุรมุข ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร

โรงเรียนพระปริยัติธรรม แก้

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2527 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น 9 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 40 เมตร

ลำดับเจ้าอาวาส แก้

ลำดับเจ้าอาวาสจากอดีต - ปัจจุบัน เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดโบราณเก่าแก่ เริ่มแรกจึงไม่มีผู้บันทึกหรือจำได้ว่าผู้ใดเป็นเจ้าอาวาส เท่าที่มีหลักฐานปรากฏไว้ ดังนี้[5]

ลำดับที่ รายนาม ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1 พระครูสมบูรณ์มัธยมคณะกิจ (หลักคำอุด) ไม่พบข้อมูล
2 พระปลัดเสน ไม่พบข้อมูล
3 พระสมุห์แก้ว ไม่พบข้อมูล
4 พระอธิการบุญมา ไม่พบข้อมูล
5 พระอธิการสาร ไม่พบข้อมูล
6 พระสุมังคลาจารย์ (แดง สีลวนฺโต) รักษาการ พ.ศ. 2570 - 2472
7 พระอธิการสิงห์ ไม่พบข้อมูล
8 พระอธิการพิมพ์ ไม่พบข้อมูล
9 พระอธิการเผือ ไม่พบข้อมูล
10 พระอธิการผอง ไม่พบข้อมูล
11 พระปลัดสุตตา ไม่พบข้อมูล
12 พระครูเกษตรศิลาจารย์ (ทอง จนฺทสาโร) ไม่พบข้อมูล
13 พระเกษตรศีลาจารย์ (หนู อุตฺสาโห) พ.ศ. 2488 - 2530
14 พระเทพวรมุนี (วิบูลย์ กลฺยาโณ ป.ธ.3) พ.ศ. 2532 - 2551
15 พระราชกิตติรังษี (บุญทัน สนฺตจิตโต) พ.ศ. 2552 - 2565
16 พระครูสิริปริยัติการ (หงส์ ปคุโณ ป.ธ.4) รักษาการ พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติวัดเจียงอีศรีมงคลวราราม [1]
  2. หนังสือที่ระลึกพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม[2]
  3. วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม พระอารามหลวง [3]
  4. สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญภายในวัด [4]
  5. ลำดับเจ้าอาวาส [5]