วัชระ พรรณเชษฐ์

วัชระ พรรณเชษฐ์ ​อดีตผู้แทนการค้าไทย อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรี ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อแผ่นดิน และเป็นทายาทกลุ่มสิทธิผล ผู้จำหน่ายรถยนต์รายใหญ่ของไทย

วัชระ พรรณเชษฐ์
ผู้แทนการค้าไทย
ดำรงตำแหน่ง
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (62 ปี)
เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2532–2549, 2552–2554)
เพื่อแผ่นดิน (2550–2552)
ชาติไทยพัฒนา (2554–ปัจจุบัน)
คู่สมรสนวลพรรณ ล่ำซำ (2536–2547)
บุตร1 คน

ประวัติ แก้

วัชระ พรรณเชษฐ์ หรือ ดร.วัชระ พรรณเชษฐ์ เกิดวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ที่ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ ร้อยโทอนันต์ พรรณเชษฐ์ และ นางกัลยาณี พรรณเชษฐ์ วัชระเคยเป็นหนึ่งในผู้บริหารพรรคไทยรักไทยเคยดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มี นายพินิจ จารุสมบัติ เป็นรัฐมนตรีว่าการใน (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 54 ของไทย) ที่มี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบงานด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งถือว่าตรงกับความถนัด ที่ ดร.วัชระ อยู่ในธุรกิจรถยนต์รายใหญ่มาก่อน และรัฐบาลขณะนั้นมีโครงการผลักดันประเทศไทยให้เป็น “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์ทางอุตสาหกรรมที่สำคัญของรัฐบาลทักษิณ

ต่อมาภายหลัง รัฐประหาร พ.ศ. 2549 วัชระ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และต่อมาได้เข้าร่วมกับ พรรคเพื่อแผ่นดิน ที่มี นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นหัวหน้าพรรค

ชีวิตส่วนตัว แก้

วัชระ พรรณเชษฐ์ เป็นบุตรของ ร้อยโทอนันต์และนางกัลยาณี พรรณเชษฐ์ มีน้องสาวคนเดียว ชื่อ ดร.วัชรี พรรณเชษฐ์ วัชระ เคยสมรสกับ นวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้บริหารเมืองไทยประกันภัย และผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ มีบุตรสาวด้วยกันคือ นวลวรรณ พรรณเชษฐ์ (น้องปราง) แต่ต่อมาได้หย่าร้างจากกัน เมื่อปลายปี พ.ศ. 2547

การศึกษา แก้

ประวัติการดำรงตำแหน่งทางราชการ แก้

  • กรรมการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
  • กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย 5 ปี
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ฯพณฯ กร ทัพพะรังสี)
  • ผู้แทนในสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเบค APEC Business Adystory Council
  • ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมมาธิการ การพาณิชย์สภาผู้แทนราษฏร
  • กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
  • ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2533-2535)

ประวัติการดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง แก้

  • ที่ปรึกษาของรองนายกรัฐมนตรี (นายกร ทัพพะรังสี)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ และการลงทุน
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ (นายสุรเกียรติ เสถียรไทย)
  • ประธานที่ปรึกษา ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ตั้งแต่ธันวาคม 2545)
  • กรรมการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2544)
  • กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2533-2535)
  • กรรมการหอการค้าไทย แต่งตั้ง พ.ศ. 2536
  • กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2541)
  • กรรมการบริหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย / กรรมการ สภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • กรรมการคณะกรรมการการร่วมสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย (กกร.)
  • ประธานอำนวยการ APECCEO SUMMIT 2003
  • ผู้แทนในสภาที่ปรึกษาด้านธุรกิจเอเปค (APEC Business Adystory Council)
  • ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการพาณิชย์สภาผู้แทนราษฏร์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2544)
  • ประธานองค์กร YOUNG PRESIDENT ORGANIZATION (YPO) แห่งประเทศไทย

ผู้แทนการค้าไทย แก้

ในปี พ.ศ. 2552 ดร.วัชระ พรรณเชษฐ์ ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้แทนการค้าไทย (ตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรี) ในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[1]

ประวัติการดำรงตำแหน่งทางธุรกิจ แก้

  • กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานบริหาร บริษัทสิทธิผลเซลล์ จำกัด
  • ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มสิทธิผลโฮลดิ้ง จำกัด (ด้านอสังหาริมทรัพย์ คอมพิวเตอร์ ค้าปลีก ลงทุน ฯลฯ)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 130/2552 เรื่อง แต่งตั้งผู้แทนการค้าไทย (นายวัชระ พรรณเชษฐ์ นายสุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๘, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น แก้