พินิจ จารุสมบัติ

พินิจ จารุสมบัติ เป็นนักการเมือง และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[2] อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พลเอก สุจินดา คราประยูร)[3] อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม เคยร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 โดยใช้ชื่อจัดตั้งว่า สหายพนัส[4] ปัจจุบันเป็นแกนนำกลุ่มวังพญานาค พรรคชาติพัฒนา

พินิจ จารุสมบัติ
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
หัวหน้าพรรคเสรีธรรม
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 15 กันยายน พ.ศ. 2543
ก่อนหน้าดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์
สุเมธ พรมพันห่าว (รักษาการ)
ถัดไปประจวบ ไชยสาส์น
นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 สิงหาคม พ.ศ. 2552[1]
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 ตุลาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
จังหวัดฉะเชิงเทรา
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเสรีธรรม (2535–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
เพื่อแผ่นดิน (2550–2554)
ชาติพัฒนา (2554–ปัจจุบัน)

ประวัติ แก้

พินิจ จารุสมบัติ เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียนชั้นประถมที่ "โรงเรียนวัดกระทุ่ม" อ.บ้านโพธิ์ แถวบ้าน พอชั้นมัธยมจึงย้ายไปที่ "เซนต์หลุยส์" โรงเรียนในตัวเมืองแปดริ้ว สำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีพี่น้องคือ ปราณี จารุสมบัติ และ พิทักษ์ จารุสมบัติ

ในปี พ.ศ. 2515 ระหว่างกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ร่วมจัดตั้งกลุ่มพระร่วง และได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่ได้ทำหน้าที่บริหารงานเพียง 15 วัน ก็ได้รับคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากกระทำการอันไม่เหมาะสม คือ การทำหนังสือขอความเป็นธรรมให้อาจารย์ที่ถูกสั่งให้ออก

ในเหตุการณ์ 14 ตุลา นายพินิจ จารุสมบัติ ได้รับการเลือกตั้งเป็น รองเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ฝ่ายการเมือง มีบทบาทในการเปิดโปงกรณีถีบลงเขาเผาลงถังแดง และเหมืองเท็มโก้ ระหว่างปี พ.ศ. 2517 - 2518

การเมือง แก้

พินิจ จารุสมบัติ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เมื่อปี พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคสามัคคีธรรม ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร ต่อมาภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จึงได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งพรรคเสรีธรรม ร่วมกับ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ หัวหน้าพรรค และนายพินิจ จารุสมบัติ ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคเสรีธรรม ในระหว่างปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2543 หลังจากนั้นจึงย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2544 และได้รับตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย

ในการทำงานการเมืองยังได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[5] กระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรองนายกรัฐมนตรี[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[7]

หลังการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง แก้

ในการจัดตั้งของรัฐบาลซึ่งนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2551 นายพินิจ จารุสมบัติ เป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการนำสมาชิกในกลุ่มวังพญานาค พรรคเพื่อแผ่นดิน ให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นหนึ่งในสามบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ในนาม "3พี" (ไพโรจน์ สุวรรณฉวี พินิจ จารุสมบัติ และปรีชา เลาหพงศ์ชนะ)[8] กระทั่งในปี พ.ศ. 2554 จึงได้เข้าร่วมกับสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ในการสนับสนุนพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน[9]

รางวัลและเกียรติยศ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2012-05-28.
  2. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  3. เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  4. หน้า 3, โหมงาน. " "เทียบท่าหน้า 3" ทีมข่าวการเมือง โดย ประเมศ เหล็กเพ็ชร์. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21428: วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559 แรม 5 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  7. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  8. อนาคต “ 3 พี” ... สลาย “พผ.” เข้าร่วมรัฐบาล !!![ลิงก์เสีย]
  9. “เพื่อแผ่นดิน” จับมือ “รวมชาติพัฒนา” ภายใต้ชื่อ “พรรครวมชาติเพื่อแผ่นดิน”
  10. รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย “สึนามิ”, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
ก่อนหน้า พินิจ จารุสมบัติ ถัดไป
สนธยา คุณปลื้ม    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ครม.54)
(7 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546)
  พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร
สุชัย เจริญรัตนกุล    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
  มงคล ณ สงขลา
สุเมธ พรมพันห่าว
(รักษาการ)
  หัวหน้าพรรคเสรีธรรม
(29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 15 กันยายน พ.ศ. 2543)
  ประจวบ ไชยสาส์น