รายชื่อบุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2478-2530

ในปีพ.ศ. 2477 ได้มีการแก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 โดยเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการตัดศีรษะเป็นการยิงด้วยปืน และเปลี่ยนผู้มีอำนาจการสั่งโทษจากพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่[note 1] โดยประกาศใช้กฎหมายนั้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2478[1] ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญาในปี พ.ศ. 2499 ยังคงให้ใช้การยิงด้วยปืนเป็นวิธีการประหารชีวิต[2] ปืนที่ใช้ในการประหารชีวิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2520 คือเอ็มเพ 18 หรือ เบิร์กมันน์ เอ็มเพ 18 ซึ่งใช้ในการประหารชีวิตสิบเอกสวัสดิ์ มะหะหมัด เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2478 หลังจากการประหารชีวิตปังจอง แซ่อึ้ง เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย ได้มีการเปลี่ยนปืนกลมือจากเบิร์กมันน์เป็นเฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ 5 หรือ ปืนกลมือเอ็มพี 5 เอสดี 3 และใช้เป็นครั้งแรกในการประหารชีวิตปลั่ง ยิ่งสกุล กับ วิเชียร อ่างแก้ว ในอีก 23 วันถัดมา และเฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ 5ถูกใช้จนกระทั่งการประหารชีวิตสุดใจ ชนะซึ่งเป็นบุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า[3][4]

หลังจากการประหารชีวิตสมโภชน์ ชื่นชม, ไพริน ณ วันดี, คำพัน อรรถศรี และ สุวรรณ คำภูษา เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2530 ในความผิดฐานฆาตกรรม ประเทศไทยได้ไม่มีการประหารชีวิตเป็นเวลาเกือบ 9 ปี ก่อนจะกลับมาประหารชีวิตใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 โดยเป็นการประหารชีวิตพรหมมาศ หรือจุน เลื่อมใส เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2539[5][6] และมีการประหารชีวิตอีก 42 ครั้งหลังจากพรหมมาศ ในปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลได้มีการเสนอแก้พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2546 โดยแก้ไขมาตรา 19 ว่า " ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย"ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 กันยายน 2546 โดยเป็นการเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการยิงเป้าเป็นการฉีดสารพิษ[7]

รายชื่อบุคคลที่ถูกยิงเป้าตั้งแต่ปีพ.ศ.2478 - พ.ศ 2520 แก้

นี่คือรายชื่อบุคคลที่ถูกประหารชีวิตโดยเพชณฆาตของกรมราชทัณฑ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 - พ.ศ.2530 โดยไม่รวมถึงการประหารชีวิตนอกเรือนจำโดยเพชณฆาตซึ่งเป็นตำรวจหรือทหาร หลังจากการแก้ไขประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ว่าด้วยการประหารชึวิตจากการ "ให้เอาไปตัดศีรษะเสีย" เป็น "ให้เอาไปยิงเสียให้ตาย" ในปี พ.ศ. 2477 ซึ่งรายชื่อดังกล่าวถูกรวบรวมตามข้อมูลที่บันทึกไว้โดยเรือนจำกลางบางขวางและเผยแพร่ผ่านทางเฟสบุ๊ค แฟนคลับยุทธ บางขวาง เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 โดยอรรถยุทธ พวงสุวรรณ อดีตเจ้าพนักงานอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญงาน เรือนจำกลางบางขวาง และเป็นอดีตพี่เลี้ยงนักโทษประหาร

ลำดับที่ ชื่อ อายุ เพศ วันที่ถูกประหารชีวิต ศาล/คำสั่งนายกรัฐมนตรี ความผิดฐาน เพชณฆาต นายกรัฐมนตรี
1 สวัสดิ์ มะหะหมัด[note 2][8][9] - ชาย 11 กันยายน พ.ศ 2478[10][11] ศาลพิเศษ ประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล ทิพย์ มียศ พระยาพหลพลพยุหเสนา
2 เขียน บุญกันสอน[12] 40 ชาย 12 กรกฎาคม พ.ศ 2480[note 3] พิษณุโลก สมคบคิดกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
3 เคลิ้ม น้ำทอง - ชาย 27 กันยายน พ.ศ 2481 อ่างทอง ฆ่าคนด้วยกระทำทรมาน หรือแสดงความดุร้ายทำแก่ผู้ตายให้ได้ความลำบากอย่างสาหัส
4 คูณ นกอิน 41 ชาย 16 ธันวาคม พ.ศ 2481 สุโขทัย ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย
5 เขียว จ้อยขำ 32 ชาย 7 มกราคม พ.ศ 2481[note 4] นครนายก ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนเพื่อประโยชน์ที่จะตระเตรียมการ หรือให้เป็นความสะดวกในการที่จะกระทำผิดอย่างอื่น แปลก พิบูลสงคราม
6 นิตย์ อินสมุทร์ - ชาย 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2481[note 4] สมุทรปราการ ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
7 สมบุญ พรรณขาม 41 ชาย 28 พฤศจิกายน พ.ศ 2482 ราชบุรี ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย,ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, วางเพลิงและเผาเคหะสถาน เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
8 เจียม ใจเลิศ 26 ชาย สุพรรณบุรี ร่วมกันปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น ทิพย์ มียศ
9 จอม ใจเลิศ 24 ชาย
10 เบี่ยง สังข์พันธ์เคราะห์ 27 ชาย เพชรบุรี ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
11 หับ พัดริน - ชาย 29 พฤศจิกายน พ.ศ 2482 สุราษฎร์ธานี ฆ่าคนตายโดยเจตนา ทิพย์ มียศ
12 พุด วงษ์เจริญ 37 ชาย ชลบุรี ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเพื่อจะเอาผลประโยชน์และสะดวกในการปล้น เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
13 ชม พึ่งยนต์ 31 ชาย นครนายก ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย
14 ปาน จุนทอง 36 ชาย พัทลุง ฆ่าคนตายโดยเจตนา
15 พระสุวรรณชิต (วร กังสวร) - ชาย 30 พฤศจิกายน พ.ศ 2482 ศาลพิเศษ สมคบกันกระทำการประทุษร้ายเพื่อจะทำลายรัฐบาล[13] ทิพย์ มียศ
16 เผ่าพงษ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
17 ผุดพันธ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา - ชาย ทิพย์ มียศ
18 บุญมาก ฤทธิสิงห์ - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง


19 ขุนคลี่พลพฤณฑ์ (คลี่ สุนทรารชุน) - ชาย 1 ธันวาคม พ.ศ 2482 ทิพย์ มียศ
20 แม้น เลิศนาวี - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
21 หลวงมหิทธิโยธี (สุ้ย ยุกตวิสาร) - ชาย ทิพย์ มียศ
22 พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธ์ประภาส) - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
23 แสง วัณณะศิริ - ชาย 2 ธันวาคม พ.ศ 2482 ทิพย์ มียศ
24 ขุนไววิทยาศร (เสงี่ยม ไวยวิทย์) - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
25 ขุนนามนฤนาท (นาม ประดิษฐานนท์) - ชาย ทิพย์ มียศ
26 จรัส สุนทรภักดี - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
27 สัย เกษจินดา - ชาย 3 ธันวาคม พ.ศ 2482 ทิพย์ มียศ
28 ทง ช่างชาญกล - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
29 เสริม พุ่มทอง - ชาย
30 พวง พลนาวี - ชาย ทิพย์ มียศ
31 ณเณร ตาละลักษณ์ - ชาย ทิพย์ มียศ[note 5]
32 ลี บุญตา - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
33 หยุง ซิมแซ 34 ชาย 5 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] กาญจนบุรี ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย ทิพย์ มียศ
34 มิ่ง อิ่มอ้น 41 ชาย สุโขทัย ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
35 หง แซ่เซียว 26 ชาย กาญจนบุรี ฆ่าคนตายโดยเจตนา ทิพย์ มียศ
36 มัด ศรีมัย - ชาย 6 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] อุตรดิตถ์ ฆ่าคนตายโดยเจตนา
37 ค่ำ สระทองสังข์ 47 ชาย นครปฐม ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
38 ผาย อุทัยวรรณ 36 ชาย พิจิตร ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา ทิพย์ มียศ
39 ยัง เม่นรักษ์ 48 ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
40 นงค์ ขันอาษา 28 ชาย ประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาและฉุดคร่าเพื่อทำอนาจาร ทิพย์ มียศ
41 เทียบ เขียวไปรเวศ 28 ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
42 เหลา โกฏละออง 33 ชาย 8 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] สวรรคโลก ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย ทิพย์ มียศ
43 กราน ใจแน่ 37 ชาย พิษณุโลก ฆ่าคนตายโดยเจตนา เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
44 แคล้ว สังข์ลอย 31 ชาย ราชบุรี ร่วมกันปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนเพื่อประโยชน์ที่จะตระเตรียมการ หรือให้เป็นความสะดวกในการที่จะกระทำผิดอย่างอื่น ทิพย์ มียศ
45 เถา อารมย์ดี 31 ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
46 ใบ เพ็ชร์นิลบุตร์ 43 ชาย ทิพย์ มียศ
47 นวม ขันอาษา 31 ชาย ประจวบคีรีขันธ์ ฆ่าคนตายโดยเจตนา เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
48 สังข์ สว่างใจ 33 ชาย 10 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] ธนบุรี ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย ทิพย์ มียศ
49 ใช้ วะตัญญู 40 ชาย ราชบุรี ฆ่าคนตายโดยเจตนา เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
50 จันทา สายทัน 29 ชาย อุบลราชธานี ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย และด้วยกระทำทรมาน หรือแสดงความดุร้ายทำแก่ผู้ตายให้ได้ความลำบากอย่างสาหัส ทิพย์ มียศ
51 ชั้น น้ำจันทร์ 26 ชาย ชัยนาท ฆ่าคนตายโดยเจตนา เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
52 วัน มายัง 31 ชาย พิจิตร สมคบคิดกันปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์, ฆ่าคนเพื่อประโยชน์ที่จะตระเตรียมการ หรือให้เป็นความสะดวกในการที่จะกระทำผิดอย่างอื่น ทิพย์ มียศ
53 สวัสดิ์ ชูนาม 28 ชาย ราชบุรี ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมายและลักทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวไปด้วย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
54 อันตรา คาน 29 ชาย 15 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] พิษณุโลก ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา ทิพย์ มียศ
55 หลวงทิพอักษร (ทิพ รัตตะพันธ์) - ชาย 22 มกราคม พ.ศ. 2484 ศาลพิเศษ กบฏภายนอกราชอาณาจักร
56 ทอง สุทธิโสภา - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
57 เจริญ แซ่ลี้ - ชาย 3 มีนาคม พ.ศ. 2484 กบฏภายนอกราชอาณาจักร ทิพย์ มียศ
58 งาม ใยบัวเทศ 40 ชาย 7 มีนาคม พ.ศ. 2484 อาญากรุงเทพ ฆ่าคนตายโดยเจตนาและพยายามลักทรัพย์
59 มงคล อินสอน 25 ชาย สวรรคโลก ฆ่าคนตายโดยเจตนา เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
60 ไปล่ บุญเพ็ชร์ 48 ชาย สุโขทัย ร่วมกันฆ่าวางเพลิงและฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย ทิพย์ มียศ
61 ย้อย แสงอ่ำ 48 ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
62 ปัน ธรรมวงศ์ 40 ชาย ลำพูน ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมายเพื่อจะปกปิดการกระทำผิดและหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญา ทิพย์ มียศ
63 เม้า ดิษฐวงษ์[14] - ชาย 1 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ศาลพิเศษ กบฏภายนอกราชอาณาจักร
64 อิ๊ด เป้าจินดา 41 ชาย 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 นครปฐม ใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดและปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์
65 ใย สนบำรุง 62 หญิง เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
66 มี เจนสาริกิจ 41 ชาย อุทัยธานี ฆ่าคนตายโดยเจตนา ทิพย์ มียศ
67 พุด สานะเสน - ชาย 14 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ศาลมณฑลทหารบกที่ 3[note 6] ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าเจ้าพนักงานผู้ประจำหน้าที่
68 สวัสดิ์ นิ่มละม่อม - ชาย 24 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 6] ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนเพื่อที่จะเอาผลประโยชน์อันเกิดแต่การกระทำผิดอย่างอื่นมาเป็นของมัน หรือเพื่อจะปกปิดการกระทำผิดอย่างอื่น หรือเพื่อจะหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิด
69 หมู มูนดา - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 4[note 6] ฆ่าบิดามารดา หรือฆ่าญาติที่สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
70 มี มินโสด - ชาย ศาลทหารกรุงเทพ[note 6] ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและฆ่าเจ้าพนักงานผู้ประจำหน้าที่ ทิพย์ มียศ
71 สนอง คชริทธิ์ - ชาย 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ศาลมณฑลทหารบกที่ 4[note 6] ฆ่าคนตายโดยเจตนา
72 ตุง แซ่หว่อง 28 ชาย 15 เมษายน พ.ศ. 2486 เลย ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมายและซ่อนเร้นศพ เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
73 อ่อน แดงกูล - ชาย กาญจนบุรี ปล้นทรัพย์, ฆ่าคนตายโดยเจตนา และพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน
74 กุลยา มันคาล - ชาย 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ปัตตานี ฆ่าคนตายโดยเจตนา
75 น้อย ลังกะวงส์ - ชาย 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ศาลทหารกรุงเทพ[note 6] ฆ่าคนตายโดยเจตนา
76 แอ๊ว ชูนาม[note 7] - ชาย 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 ฆ่าเจ้าพนักงาน
77 พัน จูจัน - ชาย ฆ่าเจ้าพนักงาน และหลบหนีที่คุมขัง ทิพย์ มียศ
78 โปร่ง สมบุญ - ชาย 12 กรกฎาคม พ.ศ 2486 ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมาย
79 ก๋อ สมบุญ - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
80 สอน กันสิริ - ชาย ทิพย์ มียศ
81 เปล่ง สมบุญ - ชาย เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
82 หวน สานุสิส - ชาย 30 ตุลาคม พ.ศ 2486 ศาลมณฑลทหารบกที่4[note 6] ฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมายและละทิ้งเด็ก ทิพย์ มียศ
83 ผิน เจริญสุข - ชาย ศาลทหารกรุงเทพ[note 6] ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
84 แสง ปัญญาวุทโท หรือ สังวาล กสิรัต - ชาย 4 มกราคม พ.ศ 2487 ฆ่าคนตายโดยเจตนา
85 อุดม บุนนาค - ชาย 10 มีนาคม พ.ศ 2487 ฆ่าเจ้าพนักงาน
86 ฉาย ยิ้มสุข - ชาย 19 เมษายน พ.ศ 2487 ฆ่าคนตายโดยเจตนา
87 สุชิต เหล็งสิทธิ - ชาย 24 พฤษภาคม พ.ศ 2487 ฆ่าคนตายโดยเจตนา
88 แว่ว อำพันภูธร - ชาย 1 กรกฎาคม พ.ศ 2487 ฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมาย
89 กี่ โพธิ์สลัก - ชาย 1 พฤศจิกายน พ.ศ 2494 ตราด ฆ่าบิดามารดา หรือฆ่าญาติที่สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป
90 จิตต์ ศิริสวัสดิ์ - ชาย สงขลา ฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์
91 บุรี ศรีรอดบาง - ชาย
92 เฉลียว ปทุมรส 52 ชาย 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 อาญากรุงเทพ สมคบกันประทุษร้ายต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[15]
93 บุศย์ ปัทมศริน 55 ชาย
94 ชิต สิงหเสนี 50 ชาย
95 สิงห์ อินทนนท์ 26 ชาย 11 มิถุนายน พ.ศ. 2498 เชียงใหม่ ฆ่าคนตายโดยเจตนาและพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนา
96 ประถม อุบลอิ่มชัย - ชาย 31 สิงหาคม พ.ศ. 2499 บุรีรัมย์ ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา
97 ประยูร กกประโคน - ชาย
ไม่ถูกนับ ศุภชัย ศรีสติ[16] 34 ชาย 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 กระทำการร้ายเพื่อบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์, คุกคามความสงบภายในประเทศไทย ป. เพี้ยน คนแรงดี[note 8] สฤษดิ์ ธนะรัชต์
98 ซีอุย แซ่อึ้ง[17][18][19] 32 ชาย 16 กันยายน พ.ศ. 2502 ระยอง ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย เพี้ยน คนแรงดี
99 โฉม ฉิมมา - ชาย 30 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ศาลมณฑลทหารบกที่ 2 ร่วมกันฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์
100 ใจ ฉิมมา - ชาย
101 เชื่อม เมฆอ่ำ - ชาย 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 ศาลมณฑลทหารบกที่ 4 ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ มุ่ย จุ้ยเจริญ
102 ดุ่ย ศุภรังษี - ชาย ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
103 ม้วน คล้ายสกุล - ชาย นครสวรรค์ ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น,ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เพี้ยน คนแรงดี
104 กอง ผาวัน - ชาย อุบลราชธานี ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
105 บัน ใจกล้า - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่7 ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
106 อั้น แซ่พู่ - ชาย 19 สิงหาคม พ.ศ.2503 ระนอง เป็นโจรสลัดปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ มุ่ย จุ้ยเจริญ
107 เล็ก วิเชียรลักษณ์ - ชาย เพี้ยน คนแรงดี
108 สง ทองสองแก้ว - ชาย 11 ตุลาคม พ.ศ.2503 ศาลมณฑลทหารบกที่5 ฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ มุ่ย จุ้ยเจริญ
109 เลี้ยงฮ้อ แซ่เล้า[20] - ชาย 29 สิงหาคม พ.ศ.2504 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 ผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย
110 ลี อยู่พงษ์[note 9][21] - ชาย 31 ตุลาคม พ.ศ.2504 ศาลทหารกรุงเทพ ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย เพี้ยน คนแรงดี
111 เฟือง มากศิริ - ชาย ปากพนัง ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน มุ่ย จุ้ยเจริญ
112 เฉลียง ไวทยาพิศาล - ชาย นราธิวาส ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพี้ยน คนแรงดี
113 ฟ้อน คำภินวม - ชาย 16 มีนาคม พ.ศ.2505 ศาลมณฑลทหารบกที่ 4 ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
114 อั้น องอาจ - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 2 ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
115 อิน ชาญสูงเนิน - ชาย สวรรคโลก ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
116 ราม หริอ รวม วงศ์พันธ์[22][23][24] 40 ชาย 24 เมษายน พ.ศ.2505 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ มุ่ย จุ้ยเจริญ
117 สำเนียง ต้นแขม - ชาย 12 พฤษภาคม พ.ศ.2505[note 10] นครสวรรค์ ฆ่าผู้อื่นเพื่อเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน เพี้ยน คนแรงดี
118 ประเสริฐ โพธิ์ทอง - ชาย 10 กรกฎาคม พ.ศ.2505 ศาลมณฑลทหารบกที่ 2 ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดเพื่อปกปิดความผิดของตน
119 นุกูล ปานเทศ - ชาย 1 ตุลาคม พ.ศ.2505 นครศรีธรรมราช ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
120 สำลี ฤทธิ์รื่น - ชาย หล่มสัก ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย ,ฆ่าผู้อื่นเพื่อเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน เพี้ยน คนแรงดี
121 เขียว ทาคำมา - ชาย เชียงราย ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอื่น มุ่ย จุ้ยเจริญ
122 เจือ กาญจนรักษ์ - ชาย ฉะเชิงเทรา ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดเพื่อปกปิดความผิดฐานชิงทรัพย์ เพี้ยน คนแรงดี
123 แอ๊ว คำสัตย์ - ชาย 26 ธันวาคม พ.ศ.2505 ศาลมณฑลทหารบกที่ 4 ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอื่น มุ่ย จุ้ยเจริญ
124 บุญยืน แสงชมพู - ชาย 9 เมษายน พ.ศ. 2506 เชียงใหม่ มีวัตถุระเบิดสําหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม และฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา[note 11] เพี้ยน คนแรงดี
125 ปัญญา หงส์ป้อง - ชาย กบินทร์บุรี พาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ หรือใช้กำลังประทุษร้าย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา มุ่ย จุ้ยเจริญ
126 สุวรรณ สวัสดี หรือ ชิต เรืองสวัสดิ์ - ชาย ฉะเชิงเทรา ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ เพี้ยน คนแรงดี
127 พวน บำเพ็ญทาน - ชาย อ่างทอง ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา มุ่ย จุ้ยเจริญ
128 ประจวบ พันธ์เจริญ - ชาย 25 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ศาลมณฑลทหารบกที่ 2 ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เพี้ยน คนแรงดี
129 เลย ทาวรรณ์ - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 7 ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ มุ่ย จุ้ยเจริญ
130 สี เย็นจิตร - ชาย ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ เพี้ยน คนแรงดี
131 สมพงษ์ ละอองสะอาด - ชาย 14 สิงหาคม พ.ศ. 2506 ศาลมณฑลทหารบกที่ 2 ฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดฐานลักทรัพย์
132 คล่อง ทองแก้ว - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มุ่ย จุ้ยเจริญ
133 หนม เจริญสุข - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 2 ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์
134 โฉม ม่วงวงศ์ 59 ชาย 28 สิงหาคม พ.ศ. 2506 ศาลมณฑลทหารบกที่ 4 จ้างวานให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพี้ยน คนแรงดี
135 ทรวง ดวงนภา - ชาย 10 ตุลาคม พ.ศ. 2506 อาญากรุงเทพ[note 12] ร่วมกันฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย(ทรวง,สุวรรณ และซ้อน)/ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน(เตี้ย) [note 13]
136 สุวรรณ อุยะตุง - ชาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
137 ซ้อน ผลวานิช - ชาย เพี้ยน คนแรงดี
138 เตี้ย วิรัช - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 2[note 14] มุ่ย จุ้ยเจริญ
139 อนันต์ เกิดบ้านใหม่ - ชาย 26 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ เพี้ยน คนแรงดี
140 ห้อย อยู่ยา - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 4 ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
141 สวัสดิ์ ศิริศรี - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
142 จำลอง แจ่มจำรัส - ชาย 21 มกราคม พ.ศ. 2508 ศาลทหารกรุงเทพ ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิด และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดของตน
143 ปิ่น ศรัทรา - ชาย 10 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 ฆ่าบุพการีโดยไตร่ตรองไว้ก่อน,ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิด
144 จง ศรีงามฉ่ำ - ชาย 24 กันยายน พ.ศ. 2508 สุพรรณบุรี ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
145 ฉลวย ทับวิเศษ - ชาย 4 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ศาลทหารกรุงเทพ ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น เพี้ยน คนแรงดี
146 เซ่ง ศิริพัน - ชาย 4 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 จับคนเพื่อได้มาซึ่งค่าไถ่เป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปถึงแก่ความตาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
147 เย็น วงค์ใน - ชาย 10 มีนาคม พ.ศ. 2509 ศาลมณฑลทหารบกที่ 7 จ้างวานให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพี้ยน คนแรงดี ถนอม กิตติขจร
148 หลั่น ดอกดิน - ชาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
149 บุญมี เชี่ยวบางยาง[25][26] 26 ชาย 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 ปล้นทรัพย์, ฆ่าคนตาย บ่อนทำลายและคุกคามความสงบภายในราชอาณาจักรและกระทบกระเทือนต่อการปกครอง เพี้ยน คนแรงดี
150 เสี่ยงเอี้ยว แซ่เซียว - ชาย 10 มีนาคม พ.ศ. 2510 ผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย เพี้ยน คนแรงดี
151 จิ้วซิว แซ่ฉั่ว - ชาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
152 น้อย แหลมไธสง[27] - ชาย 15 มีนาคม พ.ศ. 2510 นครราชสีมา ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิด เพี้ยน คนแรงดี
153 เชื่อม เหมือนนรุธ - ชาย 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 ศาลทหารกรุงเทพ ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา มุ่ย จุ้ยเจริญ
154 ถนอม ฝากฝัง - ชาย เพี้ยน คนแรงดี
155 วิชิต เกตุคำศรี[28][29][30] - ชาย 1 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 ปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์
156 ก๊กง้วน แซ่ฉั่ว - ชาย 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย มุ่ย จุ้ยเจริญ
157 บุญมี ดวงภูเขียว - ชาย 18 มีนาคม พ.ศ. 2511 ขอนแก่น ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ เพี้ยน คนแรงดี
158 ถนอม โรจนภัทร์ภาษิต - ชาย ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ มุ่ย จุ้ยเจริญ
159 เขียด สุระกำแหง - ชาย 4 มิถุนายน พ.ศ. 2512 นครศรีธรรมราช ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย,ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
160 บุญธรรม โพธิ์รอด - ชาย 9 กันยายน พ.ศ. 2512 สุพรรณบุรี หลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขัง,ทำร้ายร่างกาย และร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
161 สัมฤทธิ์ พวงเนียม - ชาย
162 ฟ่อน พิทักษ์ - ชาย 27 ตุลาคม พ.ศ. 2513 สุราษฎร์ธานี ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อปกปิดความผิดของตน
163 ดีน เหล้หวัน 30 ชาย 21 มกราคม พ.ศ. 2514 นครศรีธรรมราช ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย,ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
164 วินัย โพธิ์ภิรมย์ หรือ นัย ตะขาบ 19 ชาย 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 ปล้นทรัพย์และฆ่าคนตายโดยเจตนา
165 เสน่ห์ อ่อนแก้ว 21 ชาย 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตายโดยเจตนา
166 ซ้งหลี แซ่ตั้ง 20 ชาย ปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์[note 15]
167 ปิยะ อำพันปอง 27 ชาย
168 เจริญ ยิ้มละมุน 34 ชาย 15 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ลพบุรี ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
169 สมศักดิ์ ปาทาน 29 ชาย ชลบุรี สมคบกันปล้นทรัพย์, ร่วมกันโทรมหญิง, สมคบกันฆ่าคนตายโดยเจตนา, ต่อสู้ขัดขวางเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติหน้าที่ และมีอาวุธปืนไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
170 ธวัช สุธากุล หรือ เปี๊ยก เฉลิมไทย 28 ชาย
171 หงี ลิ้มประเสริฐ - ชาย 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาด้วยความทารุณโหดร้ายและไตร่ตรองไว้ก่อน
172 จำเนียร จันทรา 19 ชาย 19 มิถุนายน พ.ศ. 2515 สมคบกันพยายามลักทรัพย์ และฆ่าคนตายโดยเจตนา
173 ธนูชัย มนตรีวัต 19 ชาย
174 สนอง โพธิ์บาง 20 ชาย
175 ชู ภักดี 36 ชาย 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราและพยายามฆ่าคนเพื่อปกปิดความผิด[note 16]
176 ไส้ออก ชื่นบุญ 34 ชาย
177 ชัยยศ สมบูรณ์ 19 ชาย 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ชิงทรัพย์และฆ่าคนตาย
178 จุ่งเพ้ง แซ่ตียว - ชาย 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ร่วมกันผลิตและจำหน่ายเฮโรอีน
179 ซ้ง แซ่เอี่ยว - ชาย
180 ภิญโญ ชูช่วยสุวรรณ - ชาย 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 ฆ่าคนตายโดยเจตนา สัญญา ธรรมศักดิ์
181 สมยศ ปิ่นเกตุ - ชาย ชุมพร ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
182 บัณฑิต รักษ์พันธิ์ - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 ข่มขืนกระทำชำเรา และฆ่าคนตายโดยเจตนา
183 สุพรรณ์ บุญศัทธา - ชาย 11 ธันวาคม พ.ศ. 2516 ศรีสะเกษ ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
184 น้อย วิลากลาง - ชาย 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ศาลมณฑลทหารบกที่ 7 สมคบคิดกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
185 มนัส อุนจะนำ - ชาย เพี้ยน คนแรงดี
186 สมจิตร สำเนียงดี - ชาย อาญากรุงเทพ ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
187 สม จันทร์ติ๊บ - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 7 ปล้นทรัพย์โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจ หรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เพี้ยน คนแรงดี
188 ชาญ เอ่งฉ้วน - ชาย กระบี่ ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และพาอาวุธไปในเมือง มุ่ย จุ้ยเจริญ
189 อำคา ฟองดี - ชาย 4 มีนาคม พ.ศ. 2517 ลพบุรี ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
190 ประเสริฐ ซื่อสัตย์ - ชาย 16 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ศาลมณฑลทหารบกที่ 7 ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เพี้ยน คนแรงดี
191 ธรรมศิริ ซื่อสัตย์ - ชาย มุ่ย จุ้ยเจริญ
192 ศรีนวล นาวาระ - ชาย เพี้ยน คนแรงดี
193 สำรอง นิรโส 34 ชาย 31 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
194 นิรันดร์ เกิดผิวดี 22 ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 3 ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
195 ไฉน พบพิมาย 30 ชาย ปล้นทรัพย์โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจ หรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

รายชื่อบุคคลที่ถูกยิงเป้าในช่วงปีพ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2530 แก้

หลังจากธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการใช้มาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2519 ต่อมาพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ได้ทำรัฐประหารธานินทร์ กรัยวิเชียรแล้วให้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการใช้มาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2520 และ มาตรา200 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2521[31] ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจที่จะสั่งการหรือกระทำใดๆก็ได้ เช่นประหารชีวิตในกรณีที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร หรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวน หรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายในหรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร[32] โดยการประหารชีวิตในท้องที่เกิดเหตุในช่วงเวลาดังกล่าวต่างจากการประหารชีวิตโดยอำนาจมาตรา 17[33] ซึ่งการประหารโดยอำนาจมาตรา 17 จะเกิดในที่สาธารณะ และดำเนินการโดยเพชณฆาตที่เป็นทหารหรือตำรวจ[34] ส่วนการประหารชีวิตในช่วงการใช้มาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2519 จนถึง มาตรา200 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2521 การประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีในท้องที่เกิดเหตุจะเกิดขึ้นภายในเรือนจำของจังหวัดท้องที่เกิดเหตุ และประหารชีวิตโดยเพชณฆาตจากกรมราชฑัณฑ์ หลังจากการประหารชีวิตพลทหารสายทอง แสงแก้ว เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ที่เรือนจำจังหวัดอุดรธานี การประหารชีวิตถัดจากนั้นทั้งหมดได้เกิดที่เรือนจำกลางบางขวางจนถึงปัจจุบัน หลังจากการประหารชีวิตคำพัน อรรถศรี และ สุวรรณ คำภูษา เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2530 ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ก่อนจะว่างเว้นการประหารชีวิตไปเกือบ 9 ปี ก่อนจะกลับมาประหารชีวิตใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 โดยเป็นการประหารชีวิตพรหมมาศ หรือจุน เลื่อมใส อายุ 38 ปี เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2539[35]

ลำดับที่ ชื่อ อายุ เพศ วันที่ถูกประหารชีวิต ศาล/คำสั่งนายกรัฐมนตรี สถานที่ประหารชีวิต ความผิดฐาน เพชรฆาต นายกรัฐมนตรี
196 ถาวร อุดมรีเดด หรือ เอ็งจือ แซ่โค้ว 44 ชาย 14 เมษายน พ.ศ 2520 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 21 เรือนจำกลางบางขวาง ยาเสพติด ประถม เครือเพ่ง ธานินทร์ กรัยวิเชียร
197 ฉลาด หิรัญศิริ[36][37][38][39] 54 ชาย 21 เมษายน พ.ศ 2520 บ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน , ร่วมกันเป็นตัวการสำคัญในการสะสมกำลังพลและอาวุธเพื่อเป็นกบฎ, ฆ่าเจ้าพนักงานโดยทารุณโหดร้าย
198 สมปอง พุมวงศ์ 21 ชาย 21 พฤษภาคม พ.ศ 2520 เรือนจำจังหวัดนครนายก ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย
199 หมั่นโคก บุญประเสริฐ - ชาย 14 มิถุนายน พ.ศ 2520 เรือนจำจังหวัดปราจีนบุรี บังอาจกระทำความผิดต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรง[40][41]
200 อยู่ จาก - ชาย
201 เตี้ย จันทร์ตรา - ชาย
202 อัศวิน พูนเต่า[42] 24 ชาย 1 กรกฎาคม พ.ศ 2520 เรือนจำกลางบางขวาง ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย ธิญโญ จันทร์โอทาน[note 17]
203 สมพร สีม่วง 19 ชาย 26 สิงหาคม พ.ศ 2520 เรือนจำจังหวัดหนองคาย ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย ประถม เครือเพ่ง
204 วิชิต ปานนท์ 25 ชาย เรือนจำกลางนครสวรรรค์ ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
205 อุดร อำรินทร์ 23 ชาย เรือนจำจังหวัดระยอง ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย เรียบ เทียมสระคู
206 ดอน เกิดเป็ง 21 ชาย 7 กันยายน พ.ศ 2520 เรือนจำกลางเชียงใหม่ ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย ประถม เครือเพ่ง
207 เล่าฝั่น แซ่ย่าง หรือ ฝั่น ชูเสียง 48 ชาย 3 พฤศจิกายน พ.ศ 2520[note 18] เรือนจำกลางบางขวาง ยาเสพติด สงัด ชลออยู่
208 ชาญ ศรีผดุงกุล 42 ชาย
209 วิเชียร ชูทอง - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด, ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
210 คำหล้า คำลือวงศ์ หรือ หล้า สอนขันธ์ 28 ชาย 23 มิถุนายน พ.ศ 2521 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 27 ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย ประถม เครือเพ่ง เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
211 ซิม ผึงหว่าง - ชาย 3 สิงหาคม พ.ศ 2521 ร่วมกันผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายและมีไว้ครอบครอบโดยผิดกฎหมาย
212 ฮีเซี้ยม แซ่เฮ้ง 40 ชาย
213 ปังจอง แซ่อึ้ง หรือ อึ้งปังจอง, พังฉ่าง 42 ชาย 4 ตุลาคม พ.ศ 2521 มียาเสพติดให้โทษไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย
214 ปลั่ง ยิ่งสกุล 37 ชาย 27 ตุลาคม พ.ศ 2521 ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดของตน
215 วิเชียร อ่างแก้ว 22 ชาย ข่มขืนกระทำชำเรา, ฆ่าคนตายเพื่อปกปิดคามผิดของตน, ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
216 แสวง อินปรางค์ 50 ชาย 23 พฤศจิกายน พ.ศ 2521 ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าชิงทรัพย์
217 กิ่งแก้ว ลอสูงเนิน[43] 28 หญิง 13 มกราคม พ.ศ 2522 ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 200 ร่วมกันจับคนเพื่อได้มาซึ่งค่าไถ่และฆ่าคนตายโดยเจตนา[44]
218 เกษม สิงห์ลา - ชาย
219 ปิ่น พึ่งญาติ 30 ชาย
220 สมคิด ศรีบัวขาว - ชาย 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2522 เรือนจำกลางอุดรธานี ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะโทรมหญิงและร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะโทรมหญิง
221 นิยม แก้วมาตย์ - ชาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
222 คำสิงห์ อาจหาญ - ชาย
223 สายทอง แสงแก้ว - ชาย 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2522[note 19] ประถม เครือเพ่ง
224 มะดะโอ๊ะ แวมายอ - ชาย 21 กรกฎาคม พ.ศ 2523 ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 เรือนจำกลางบางขวาง ฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เปรม ติณสูลานนท์
225 น้อม จำปาทอง[note 20] 61 ชาย 24 พฤศจิกายน พ.ศ 2523 นครปฐม ร่วมกันเอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่เป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปถึงแก่ความตาย
226 อรรณพ จำปาทอง 31 ชาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
227 จรูญ คงระเรื่อย 32 ชาย 8 เมษายน พ.ศ 2524 สุราษฎร์ธานี ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ประถม เครือเพ่ง
228 ประกอบ สกุลจันทร์ หรือ น้อย ชาสูงเนิน 22 ชาย 22 พฤษภาคม พ.ศ 2524 ศาลมณฑลทหารบกที่ 3 พาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต, มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต, ปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิดจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายวัตถุระเบิดจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายวัตถุระเบิดจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
229 สมบัติ เกตุจันทร์ 30 ชาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
230 จ้อย โนนกระโทก 24 ชาย
231 ชลอ อยู่หล่ำ - ชาย 9 มิถุนายน พ.ศ 2524 พิษณุโลก ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, พยายามฆ่า,หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก และกระทำความผิดอีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ หรือ ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ ประถม เครือเพ่ง
232 บรรจง สว่างจิตร - ชาย 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2525 ศาลทหารกรุงเทพ ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
233 เล็ก เพชรบูรณ์ - ชาย 8 มีนาคม พ.ศ 2525 ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 จ้างวานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
234 วัน ถวิลรัมย์ - ชาย 29 เมษายน พ.ศ 2525 ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์
235 บุญธรรม ขวัญสุข - ชาย ศาลทหารกรุงเทพ ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
236 ถาวร พูลศิลป์ - ชาย
237 สมนึก สุขศรี - ชาย 30 มกราคม พ.ศ 2527 นครสวรรค์ กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตนจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย, พรากผู้เยาวน์เพื่อการอนาจาร และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดของตน ประถม เครือเพ่ง
238 ชัยพร ไชยมหาพรหม - ชาย 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2527 พะเยา ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
239 เชาวลิต เกลี้ยงขำ หรือ ฆธาวุฒิ รัตนวงศ์ - ชาย นครศรีธรรมราช ปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
240 ประเสริฐ ฉิมเจริญ 33 ชาย 2 พฤษภาคม พ.ศ 2527 สมุทรสาคร ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดของตนเอง, ข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้กำลังประทุษร้าย และพกพาอาวุธ ประถม เครือเพ่ง
241 บุญส่ง ตาละคำ - ชาย 5 มิถุนายน พ.ศ 2527 กาญจนบุรี ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
242 ชวลิต มีสมยา - ชาย 12 มิถุนายน พ.ศ 2527 ศาลทหารกรุงเทพ พาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
243 ละมัย โพธิ์สุวรรณ[45] 27 ชาย 3 กรกฎาคม พ.ศ 2527 สมุทรปราการ ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้ายเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตาย
244 จำลอง ปัญญาวงษ์ - ชาย ตราด ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ ธิญโญ จันทร์โอทาน
245 มนตรี อินทรัตน์ - ชาย 11 ตุลาคม พ.ศ 2527 ทุ่งสง ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อปกปิดความผิดของตนเอง, ข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้กำลังประทุษร้าย
246 ฉลอง อำภา - ชาย 9 พฤศจิกายน พ.ศ 2527 เชียงใหม่ ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, ปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน
247 ณรงค์ ปิ่นแก้ว 30 ชาย 23 พฤศจิกายน พ.ศ 2527 อาญากรุงเทพ ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ และปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย[46]
248 สำราญ ปิ่นแก้ว 34 ชาย เชาวเรศน์ จารุบุณย์
249 หลี แดงอร่าม 49 ชาย
250 สด เปล้ากระโทก - ชาย 28 พฤศจิกายน พ.ศ 2527 นครราชสีมา ฆ่าบุพการี และพยายามฆ่าบุพการี ธิญโญ จันทร์โอทาน
251 สิงห์ อนันทภักดิ์ - ชาย 25 ธันวาคม พ.ศ 2527 จันทบุรี ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานชิงทรัพย์ เชาวเรศน์ จารุบุณย์
252 สมศักดิ์ ฉั่วตระกูล หรือ อับดุลลา 27 ชาย 15 มีนาคม พ.ศ 2528 อาญากรุงเทพ ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อสะดวกในการกระทำผิดและปกปิดความผิดให้พ้นจากคดีอาญา และพกพาอาวุธโดยไม่ได้รับอนุญาต ธิญโญ จันทร์โอทาน
253 แก้วมณี ปั้นมาดี - ชาย 27 มีนาคม พ.ศ 2528 พิจิตร มีอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
254 ชูชาติ เมฆสุทัศน์ 36 ชาย 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2529 ศาลทหารกรุงเทพ ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
255 จรูญ ฉายวงษ์ 34 ชาย เชาวเรศน์ จารุบุณย์
256 วรา วรดิลก หรือ ไข่ดำ ทับเหลียว 35 ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, พยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ธิญโญ จันทร์โอทาน
257 สนั่น อำกอง[47] 54 ชาย 20 สิงหาคม พ.ศ 2529 ชุมพร ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
258 เกรียง พิมพ์ทอง - ชาย 24 ธันวาคม พ.ศ 2529 เชียงใหม่ ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, พยายามฆ่าฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์สินเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เชาวเรศน์ จารุบุณย์
259 วัฒนา ทิพวรรณ - ชาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
260 หล่ง ยินดี 35 ชาย 26 มกราคม พ.ศ 2530 พะเยา ร่วมกันฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, พยามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา[note 21]
261 เสนอ โพธิ์ยงค์ - ชาย สุราษฎร์ธานี ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, ลักทรัพย์โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ประถม เครือเพ่ง
262 เฉ่วเหงียน แซ่ว่อง - ชาย สุพรรณบุรี ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์,ปล้นทรัพย์ ธิญโญ จันทร์โอทาน
263 กมล เอี่ยมน้อย หรือ ศักดิ์สิทธิ์ พรประเสริฐ - ชาย ศาลมณฑลทหารบกที่ 4 ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา เชาวเรศน์ จารุบุณย์
264 เจริญ แก้วบางพระ - ชาย 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ทุ่งสง ร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้อาวุธ, ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, วางเพลิงโรงเรือนที่คนอยู่อาศัย ธิญโญ จันทร์โอทาน
265 ทองพูน ชะลอนันท์[note 22] - ชาย 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ศาลทหารกรุงเทพ ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, พยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น และปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
266 อุส่าห์ ทะเดช - ชาย ทุ่งสง ลักทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เชาวเรศน์ จารุบุณย์
267 สุชาติ ประสาททอง หรือ สานนท์ สังข์ทอง - ชาย 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ศาลทหารกรุงเทพ ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, พยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น และปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ธิญโญ จันทร์โอทาน
268 สำรวม ชะเอมไทย - ชาย เชาวเรศน์ จารุบุณย์
269 อินสอน ชัยมูล - ชาย 11 มิถุนายน พ.ศ. 2530 เชียงใหม่ ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ธิญโญ จันทร์โอทาน
270 ไข่ พนาลี - ชาย 17 มิถุนายน พ.ศ. 2530 นครศรีธรรมราช ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์
271 สมศักดิ์ อุดมโสภกิจ หรือ อ้อ โสภากิจ - ชาย 9 กันยายน พ.ศ. 2530 ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 พาอาวุธปืนที่ไม่มีใบอนุญาตติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต, ฆ่าคนตายโดยเจตนา, พยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
272 สมโภชน์ ชื่นชม 32 ชาย 18 กันยายน พ.ศ. 2530 ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, พยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
273 ไพริน ณ วันดี 25 ชาย สมุทรปราการ ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตองไว้ก่อน, มีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เชาวเรศน์ จารุบุณย์
274 คำพัน อรรถศรี 27 ชาย อาญากรุงเทพ ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ธิญโญ จันทร์โอทาน
275 สุวรรณ คำภูษา 28 ชาย เชาวเรศน์ จารุบุณย์

เชิงอรรถ แก้

  1. แต่ไม่ตัดสิทธิ์ของผู้ต้องโทษที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
  2. ผู้ต้องโทษประหารชีวิตคนแรกที่ถูกประหารด้วยการยิง ตามคำพิพากษาของศาลพิเศษในคดีกบฏนายสิบ โดยถูกประหารชีวิตที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า เนื่องจากยังไม่มีพื้นที่ประหารชีวิตเป็นการเฉพาะ หลังจากการประหารครั้งนี้ อาคารสถานที่หมดทุกข์ (อาคารประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า) ในเรือนจำกลางบางขวางสร้างแล้วเสร็จ ผู้ถูกประหารรายต่อ ๆ มาจะถูกประหารในอาคารนั้น เว้นแต่มีคำสั่งเป็นอื่นไป
  3. เป็นบุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตในอาคารสถานที่หมดทุกข์ (อาคารประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 ในปีพ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวัน 1 เมษายน จนกระทั่งในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ แทนวันที่ 1 เมษายน ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2483 มี 9 เดือน
  5. ทิพย์ มียศทำหน้าที่เป็นเพชณฆาตมือหนึ่งยิงเป้าณเณรที่หลักประหารหลักที่ 1 ส่วนเหรียญ เพิ่มกำลังเมืองเพชณฆาตมือสองยิงเป้าลี หลังจากการยิงชุดแรกลีได้เสียชีวิต แต่ณเณรยังไม่เสียชีวิตและเขาได้ตะโกนว่าผมยังไม่ตาย..ยิงผมอีก ทิพย์เกิดอาการมือไม้สั่นและผงะออกจากแท่นปืน ทำให้เหรียญ เพิ่มกำลังเมืองต้องทำหน้าที่แทนทิพย์และยิงณเณรจากแท่นปืนของทิพย์จำนวน 1 ชุดและณเณรก็เสียชีวิตจากการยิงในชุดที่สอง
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกและจัดตั้งศาลทหารระหว่างวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2484 จนถึง วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2489 โดยมีการนำคดีของพลเรือนหลายประเภทมาขึ้นศาลทหาร ซึ่งนักโทษจะไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์หรือฎีกา
  7. แอ้วหรือชั้น,สน ชูนาม พี่ชายของสวัสดิ์ ผู้สมรุร่วมคิดของสวัสดิ์ ชูนาม ได้ร่วมกันก่อคดีฆาตกรรมผล ชูนาม ลูกพี่ลูกน้องของเขา ที่จังหวัดราชบุรี สวัสดิ์ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิตในปี พ.ศ 2482 แต่แอ้วหลบหนีไปและได้ก่อคดีไว้หลายคดี และแอ้วยังได้ก่อเหตุฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะยิงต่อสู้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหลบหนีการจับกุม ก่อนที่เขาจะถูกจับกุมในปี พ.ศ. 2486 แอ้วถูกศาลทหารกรุงเทพตัดสินประหารชีวิตโดยไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์หรือฎีกา เนื่องจากเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก แอ้วถูกตัดสินประหารชีวิตในคดีฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและถูกประหารชีวิตในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 พร้อมกับพัน จูจันในคดีฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งคนละคดีกัน
  8. ข้อมูลบางแหล่งระบุว่าศุภชัยถูกประหารชีวิตที่ท้องสนามหลวง แต่คำสั่งประหารชีวิตศุภชัยให้ทำในบริเวณเรือนจำบางขวาง หากการประหารชีวิตเกิดขึ้นภายในเรือนจำกลางบางขวาง เพชณฆาตน่าจะเป็นเพี้ยน คนแรงดี เนื่องจากเขาเป็นคนเดียวที่ปฎิบัติหน้าที่เป็นเพชณฆาตในช่วงเวลาดังกล่าว
  9. เฉลิม กัปตันแดงผู้สมรุร่วมคิดของลีซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตได้แหกคุกเรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2504 สำเร็จ โดยถูกพบเห็นเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ที่ป่าในจังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา หลังจากนั้นก็ไม่มีใครพบเห็นเขาอีกเลย
  10. หนึ่งในสามนักโทษประหารแหกคุกที่สามารถหลบหนีออกจากเรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ก่อนจะถูกจับกุมในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 และถูกนำกลับไปคุมขังที่เรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ก่อนจะมีคำสั่งให้ประหารชีวิตในอีกสองวันต่อมาและการประหารชีวิตเกิดขึ้นเมื่อเวลา01.24 น.ของวันถัดมา
  11. หนึ่งในสามนักโทษประหารแหกคุกที่สามารถหลบหนีออกจากเรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ก่อนจะถูกจับกุมในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2505
  12. สำหรับทรวง,สุวรรณ และซ้อน ซึ่งถูกจับกุมมาก่อน ศาลชั้นต้นได้พิพากษาจำคุกตลอดชีวิตทั้งสามตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญามาตรา250(3)ในปี พ.ศ. 2500 ศาลเห็นว่าคดีเกิดก่อนการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย จึงยังใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาพิจารณาคดี ต่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2506 ศาลฎีกาได้แก้คำตัดสินจากจำคุกตลอดชีวิตเป็นประหารชีวิต
  13. ทรวง ,สุวรรณ,ซ้อน,เตี้ย และสิบตำรวจตรีทรงศักดิ์ วัจวาทินได้ร่วมกันพาพ่อค้าวัวควายผิดกฎหมาย 4 คนไปยังตำบลไร่วุ้ง อำเภอเกาะกง จังหวัดกำปอด เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ 2498 เมื่อเดินทางเข้าไปถึงป่ารกในเกาะกง ทั้ง 5 คนได้ใช้ปืนจี้พ่อค้าวัวควายและปลดทรัพย์สินก่อนจะยิงทั้ง 4 คนจนเสียชีวิต
  14. เตี้ยหนึ่งในผู้ก่อเหตุฆาตกรรมพ่อค้าวัวควายผิดกฎหมาย 4 คนที่อำเภอเกาะกง เตี้ยถูกจับกุมในปีพ.ศ. 2506 ในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในระหว่างช่วงที่สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการประกาศใช้กฏอัยการศึก ซึ่งผู้ที่กระทำความผิดจะถูกพิจารณาคดีโดยศาลทหารโดยไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์หรือฎีกา เขาถูกตัดสินตามประมวลกฎหมายอาญาในปี พ.ศ. 2499
  15. ปิยะได้พาพรรคพวกรวม 7 คนบุกเข้าปล้นธนาคารไทยพัฒนา เมื่อปีพ.ศ. 2515 ระหว่างการประกาศใช้กฎอัยการศึกโดยคณะปฎิวัติ เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คนแต่ไม่มีผู้เสียชีวิต
  16. การประหารชีวิตชู และไส้ออกนับเป็นการประหารขีวิตครั้งแรกและครั้งเดียวสำหรับผู้ก่อเหตุข่มขืนแต่เหยื่อไม่เสียชีวิต
  17. ประถม เครือเพ่งเพชณฆาตมือหนึ่งได้มอบหมายให้ธิญโญ จันทร์โอทาน เพชณฆาตมือสองทำหน้าที่แทน แต่ในบันทึกการประหารชีวิตระบุว่าประถมเป็นผู้ทำหน้าที่เพชณฆาต
  18. เล่าฝั่น แซ่ย่าง และชาญ ศรีผดุงกุล พ่อค้าเฮโรอีนรายใหญ่ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 21 ในช่วงเช้า ส่วนวิเชียร ชูทอง นักฆ่าผู้ก่อเหตุรับงานฆ่านายโสภณ ผู้ใหญ่บ้านตำบลนบปริง หลังที่เขาฆ่าโสภณแล้วเขาได้นำภรรยาของโสภณมาข่มขืนที่หน้าบ้าน ซึ่งเขาถูกตัดสินโดยศาลทหารและถูกประหารชีวิตในช่วงเย็นของวันเดียวกัน
  19. พลทหารสายทอง แสงแก้ว หนึ่งในสี่ผู้ร่วมก่อเหตุโทรมหญิงและฆาตกรรมที่อำเภอโนนสัง ซึ่งถูกคุมขังที่เรือนจำทหารจังหวัดนครราชสีมา วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2522 เวลา 04.30 น. เขาถูกเบิกตัวออกจากห้องขังรวมไปยังห้องควบคุมพิเศษเพื่อรอเจ้าหน้าที่ตำรวจจากจังหวัดอุดรธานีรับตัวไปประหารชีวิต เมื่อนำตัวสายทองเข้าไปในห้องขัง เขาไปพบขวดน้ำปลาเก่าอยู่ในห้องจึงทุบเป็นปากฉลามแล้วพยามยามฆ่าตัวตายด้วยการแทงจนได้รับบาดเจ็บสาหัสเนื่องจากเขาทราบว่าตัวเองกำลังจะถูกประหารชีวิต ผู้คุมเรือนจำทหารจึงนำตัวสายทองส่งโรงพยาบาลค่ายสุรนารีและแพทย์ได้ผ่าตัดจนรอดชีวิต แต่ต้องให้น้ำเกลือและออกซิเจนตลอดเวลาเนื่องจากอาการยังอยู่ในขั้นวิกฤต ส่งผลให้มีคำสั่งให้ประหารชีวิตสมคิด,นิยม และคำสิงห์ ในวันเดียวกัน หลังจากแพทย์ได้รักษาสายทองจนพ้นขีดอันตราย ในตอนแรกการประหารชีวิตสายทองจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ แต่วันดังกล่าวเป็นวันมาฆบูชาจึงเลื่อนการประหารชีวิตไปเป็นวันที่ 12 กุมภาพันธ์ และประหารชีวิตสายทองเมื่อเวลา 17.45 น. การประหารชีวิตสายทองนับเป็นการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นนอกเรือนจำกลางบางขวาง
  20. ในตอนแรกน้อมและอรรณพจะถูกประหารพร้อมกัน แต่น้อมได้ขอร้องให้นำตัวเขาไปประหารก่อนเพียงคนเดียวเพราะเขาทำใจไม่ได้ที่จะรู้ว่าลูกชายต้องมาตายอยู่ด้วยกันใกล้ๆ น้อมจึงถูกนำตัวไปประหารชีวิตก่อน หลังจากประหารชีวิตน้อมได้นำตัวอรรณพเข้ามาประหารชีวิต
  21. ถูกตัดสินประหารชีวิตเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 จากคดีฆาตกรรมสุริยัน ส่องแสง นักร้องเพลงลูกทุ่งที่สนามโรงเรียนบ้านจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และยังถูกตัดสินประหารชีวิตในคดีฆ่านายเสา หวนอารมณ์ที่อำเภอจุน จังหวัดพะเยา แต่เขาถูกยกฎีกาและประหารชีวิตจากคดีฆาตกรรมสุริยัน ส่องแสง
  22. สุชาติกับสำรวมผู้สมรุร่วมคิดของทองพูนซึ่งตัดสินประหารชีวิตในคดีเดียวกันแต่ถูกประหารชีวิตหลังจากทองพูน 3 วันเนื่องจากคำสั่งประหารตกมาไม่พร้อมกัน

ดูเพิ่ม แก้

ลิงก์จากภายนอก แก้

บันทึกการประหารชีวิตซึ่งถูกบันทึกไว้โดยเรือนจำกลางบางขวางและเผยแพร่ผ่านทางเฟสบุ๊ค โดยอรรถยุทธ พวงสุวรรณ แก้

บรรณานุกรม แก้

  • เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2549). The Last Executioner Memoirs of Thailand's Last Executioner (ภาษาอังกฤษ). Maverick House. ISBN 9781905379262.
  • 'เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2549). เพชฌฆาตคนสุดท้ายเล่มที่ 1. กรุงเทพ: ดอกหญ้า 2000. ISBN 9789749244463.
  • 'เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2553). บันทึก.....แดนประหาร คุกบางขวาง. กรุงเทพ: ดอกหญ้า 2000. ISBN 9789746907576.
  • อรรถยุทธ พวงสุวรรณ (2565). คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร. กรุงเทพ: เพชรประกาย. ISBN 9786165786645.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. s:พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาชญา พุทธศักราช 2477 (ฉะบับที่ 6) ประกอบกับs:คำสั่งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 29 เมษายน 2478 (ฉบับที่ 3)
  2. ประมวลกฎหมายอาญา
  3. "การประหารชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-24. สืบค้นเมื่อ 2024-01-18.
  4. สถิติการประหารชีวิต เก็บถาวร 2009-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เรือนจำกลางบางขวาง, สืบค้นวันที่ 19 พ.ย. 2552
  5. Thailand: Executions / fear of further executions
  6. Thailand: Fear of imminent execution: one unnamed prisoner
  7. รายงานพิเศษ : เปิดประวัติศาสตร์การลงทัณฑ์ประหาร
  8. 3 ส.ค.2478 "กบฏนายสิบ" จบแต่ยังไม่เริ่ม!
  9. กบฏนายสิบ
  10. กลุ่มนายสิบรวมหัวทำรัฐประหาร ชิงอำนาจถวายคืนพระปกเกล้าฯ!สังเวยชีวิตเพื่อราชบัลลังก์!!
  11. ย้อนรอย “ประหารชีวิต” ก่อนนับหนึ่งใหม่ ฟื้นโทษฉีดยาพิษรอบ 9 ปี
  12. การซ้อนทับจับวางของวาทกรรมทัณฑวิทยา: วงศาวิทยาของการใช้โทษประหารและความรุนแรงเพื่อการลงทัณฑ์ในประวัติศาสตร์ไทยหน้าที่ 116 - 118
  13. 20 พ.ย.2482 18 กบฏ โทษประหาร โดยศาลพิเศษ
  14. นักโทษประหารคดี ติดตาม ดักฟัง จารกรรมความลับ เพื่อทำลายความมั่นคงของไทย
  15. ลาก่อนชีวิต... ลาก่อนแม้แต่สิ่งอันสุดที่รัก !
  16. ประหารชีวิต "ศุภชัย ศรีสติ" วิศวะนักเรียนนอก วัย 34ปี ปลุกระดมต้านรัฐบาล
  17. ปิดตำนาน “คนกินคน” 60 ปีข่าวสยองขวัญ “ซีอุย”
  18. ปิดตำนาน 61 ปี ตีตรา " ซีอุย มนุษย์กินคน"
  19. ซีอุย : ฌาปนกิจร่าง "ซีอุย แซ่อึ้ง" ปิดตำนานผู้ที่ถูกสังคมตั้งฉายา "มนุษย์กินคน"
  20. สฤษดิ์ลุยปราบสารเสพติด เบื้องหลังยกเลิก “ฝิ่น” ถึงประหารชีวิตพ่อค้า “เฮโรอีน” ด้วย ม.17
  21. หนังสือพิมพ์อาณาจักรไทย วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ราคา 1 บาท
  22. 'ประธานผู้ลี้ภัย' งัวเงียตื่น! ควัก ม. 17 คำสั่ง 'สฤษดิ์' ประหารผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
  23. การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. 2501-2506
  24. "ปืนปิดปาก ประหารชีวิต" ปราบคอมมิวนิสต์ยุค "สฤษดิ์ ธนะรัชต์" ที่สุดของเผด็จการ
  25. “หากทำผิดแล้ว ผมจับไม่ไว้หน้าใครทั้งนั้น”
  26. สูญเสียปูชนียบุคคล
  27. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2509
  28. ตำนานนักโทษประหาร
  29. โจรผยองปิดตลาดปล้น! นายกฯใช้ ม.๑๗ สั่งปล้นที่ไหนยิงเป้าที่นั่นโดย ๖ นาย ตร.ประกบ ๖ โจร!!
  30. [หนังสือประวัติ อำเภอท่าเรือ เรียบเรียงโดยสุรศักดิ์ พุ่มวันเพ็ญ ]
  31. มาตรา 17 พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ จะมีอยู่ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ?
  32. มีอะไรใน รัฐ/ธรรมนูญชั่วคราว ฉบับ คณะรัฐประหาร
  33. ความล่มสลายของสถาบันรัฐประหาร (ตอนที่ 1): รัฐประหารในประเทศไทยและการทำให้รัฐประหารเป็นสถาบันทางการเมือง
  34. การใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญไทย
  35. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  36. คณะทหารหนุ่ม (16) | ทำไมต้องประหาร พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ
  37. ข้าพเจ้าเห็นการยิงเป้า
  38. 26 มี.ค.2520 เหตุการณ์ที่นำมาสู่ การประหารชีวิตกบฏคนสุดท้าย!
  39. รัฐประหารซ้ำซ้อน ฉีก”รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2519 (ฉบับที่ 11)EP.10
  40. The Last Executioner Page 8
  41. The Last Executioner Page 9
  42. “ผมมันคนชอบทำไม่เหมือนชาวบ้าน เวลาแกะรอยตามคดีต่าง ๆ”
  43. ไทยรัฐออนไลน์ (17 พฤศจิกายน 2562). "3 นาทีคดีดัง : เรื่องจริง "กิ่งแก้ว" นักโทษประหารหญิง ยิงเป้าไม่ยอมตาย (คลิป)". กรุงเทพมหานคร: ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  44. จารุบุณย์, เชาวเรศน์ (2015). The Last Executioner: Memoirs of Thailand's Last Executioner (ภาษาอังกฤษ). Maverick House. p. 100. ISBN 978-1-908518-41-5.
  45. นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่243 ของไทย "ไอ้ม้าซาดิสม์"
  46. The Last Executioner Page 10
  47. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2527