ชิต สิงหเสนี (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) เป็นมหาดเล็กชาวไทย เริ่มเข้ารับราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทำให้ศาลฎีกาพิพากษาตัดสินโทษประหารชีวิต พร้อมกับจำเลยร่วม ได้แก่ บุศย์ ปัทมศริน และเฉลียว ปทุมรส ที่เรือนจำกลางบางขวาง

ชิต สิงหเสนี

ชิตในเครื่องแบบเต็มยศ
เกิด5 กรกฎาคม พ.ศ. 2447
เสียชีวิต17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 (50 ปี)
เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
สาเหตุเสียชีวิตประหารชีวิตด้วยการยิง
สัญชาติไทย
การศึกษาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
อาชีพมหาดเล็ก
มีชื่อเสียงจากนักโทษประหารชีวิตคดีประทุษร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
สถานะทางคดีถูกประหารชีวิต
คู่สมรสชูเชื้อ กฤษณามระ
บุตร7 คน
บิดามารดาพระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี)
น้อม สิงหเสนี
พิพากษาลงโทษฐานประทุษร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมเหสี มกุฎราชกุมาร และผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน มาตรา 97 ตอน 2
บทลงโทษประหารชีวิต
รายละเอียด
ผู้เสียหายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร, 20 พรรษา
วันที่9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
ประเทศประเทศไทย
รัฐจังหวัดพระนคร
ตำแหน่งพระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
วันที่ถูกจับ
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
จำคุกที่เรือนจำกลางบางขวาง

ประวัติ แก้

ชิต สิงหเสนี เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2447[1] เป็นบุตรของพระตำรวจเอก นายพลตรี พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) กับนางน้อม (สกุลเดิม สุวรรณทัต) มีพี่น้องร่วมบิดามารดากัน 4 คน ได้แก่[2]

  1. นายชิต สิงหเสนี
  2. คุณหญิงอนงค์ สิริราชไมตรี (ภริยาหลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี))
  3. นายสนาน สิงหเสนี
  4. นางเสนาะ กุญชร ณ อยุธยา

นายชิตได้เป็นนักเรียนมหาดเล็กหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กในตอนต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงตำแหน่งสุดท้ายคือมหาดเล็กห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

นายชิตถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ศาลฎีกาได้พิพากษาให้นายชิตได้รับโทษประหารชีวิต[3] และถูกนำตัวไปประหารชีวิตพร้อมกับนายบุศย์ ปัทมศริน และนายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งตกเป็นจำเลยร่วมในคดีเดียวกันที่เรือนจำบางขวาง เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 สิริอายุได้ 50 ปี 227 วัน

ในเวลาต่อมาได้มีการวิเคราะห์และศึกษาเกี่ยวกับกรณีสวรรคต โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในภายหลังคดีได้รับการพิพากษา ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานในหมู่ผู้ศึกษาเรื่องดังกล่าวว่า นายชิต สิงหเสนี พร้อมทั้งจำเลยร่วมอีก 2 คนที่ถูกประหารชีวิตพร้อมกัน อาจเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีนี้[4]

ครอบครัว แก้

นายชิต สมรสกับนางชูเชื้อ (นามเดิม วลี กฤษณามระ)[5] มีบุตรด้วยกัน 7 คน ดังนี้[6]

  1. สมปอง สิงหเสนี
  2. ผ่องพรรณ สิงหเสนี
  3. พวงศรี สิงหเสนี
  4. วิลาสี สิงหเสนี
  5. ชวพร สิงหเสนี
  6. ชวันดา สิงหเสนี
  7. ลักษณา สิงหเสนี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. หนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายชิต สิงหเสนี
  2. วิถีแห่งเต๋า : ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงสิริราชไมตรี จ.จ. (อนงค์ สิงหเสนี)
  3. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม. (ม.ป.ป.), คำพิพากษาศาลฎีกาคดีสวรรคต เก็บถาวร 2017-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ออนไลน์, เข้าถึงเมื่อ: ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
  4. สุพจน์ ด่านตระกูล, ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต, นิตยสารสารคดี, เมษายน พ.ศ. 2543
  5. สัมภาษณ์คุณชูเชื้อ และ คุณผ่องพรรณ สิงหเสนี ภรรยาและลูกสาวของคุณชิต สิงหเสนี
  6. "ลำดับสายสกุลสิงหเสนี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-03-11.
  7. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์