ภาษาเปอร์เซียมาตรฐาน

ภาษาเปอร์เซียมาตรฐาน (เปอร์เซีย: فارسی معیار) เป็นวิธภาษามาตรฐานของภาษาเปอร์เซียที่เป็นภาษาราชการในประเทศอิหร่าน[5] และทาจิกิสถาน[6] และหนึ่งในสองภาษาราชการของประเทศอัฟกานิสถาน[7] ภาษานี้เป็นชุดของวิธภาษาทางการในการสนทนาและการเขียนโดยผู้พูดภาษาเปอร์เซียที่ได้รับการศึกษาจากบางประเทศรอบโลก[8]

ภาษาเปอร์เซียมาตรฐาน
فارسی معیار
ประเทศที่มีการพูด
จำนวนผู้พูด70 ล้านคน  (ไม่พบวันที่)[3]
(รวม 110 ล้านคน)[4]
ตระกูลภาษา
รูปแบบมาตรฐาน
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ผู้วางระเบียบ
รหัสภาษา
ISO 639-1fa
ISO 639-2per (B)
fas (T)
ISO 639-3fas
Linguasphere
58-AAC (เปอร์เซียวงกว้าง)
> 58-AAC-c (เปอร์เซียศูนย์กลาง)
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่ (รวมภาษาย่อย)
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

เนื่องจากภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาพหุศูนย์ ทำให้ภาษาเปอร์เซียมาตรฐานจึงครอบคลุมบรรทัดฐานทางภาษาศาสตร์ (linguistic norms) หลายกลุ่ม ภาษาเปอร์เซียมาตรฐานในทางปฏิบัติมี 3 วิธภาษามาตรฐานที่มีสถานะราชการในอิหร่าน, อัฟกานิสถาน และทาจิกิสถาน รูปมาตรฐานสามแบบอิงจากวิธภาษาเตหะราน, คาบูล และบูฆอรอ ตามลำดับ[9][10]

รูปเขียนมาตรฐาน แก้

ชุดตัวอักษรเปอร์เซียมีผู้ใช้งานทั้งในภาษาฟอร์ส (อิหร่าน) และภาษาดารี (อัฟกัน) เดิมที ภาษาทาจิกก็เขียนด้วยอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้อ่านหนังสือออก จึงหันมาใช้ชุดตัวอักษรละติน (อิงจากชุดตัวอักษรเตอร์กิกสามัญ) ใน ค.ศ. 1917 จากนั้นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิกสนับสนุนการใช้งานชุดตัวอักษรซีริลลิก ซึ่งยังคงเป็นระบบการเขียนที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน มีความพยายามในการนำอักษรเปอร์เซีย-อาหรับมาใช้ใหม่[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Samadi, Habibeh; Nick Perkins (2012). Martin Ball; David Crystal; Paul Fletcher (บ.ก.). Assessing Grammar: The Languages of Lars. Multilingual Matters. p. 169. ISBN 978-1-84769-637-3.
  2. "IRAQ". Encyclopædia Iranica. สืบค้นเมื่อ 7 November 2014.
  3. "Persian | Department of Asian Studies" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2 January 2019. There are numerous reasons to study Persian: for one thing, Persian is an important language of the Middle East and Central Asia, spoken by approximately 70 million native speakers and roughly 110 million people worldwide.
  4. Windfuhr, Gernot (1987). Comrie, Berard (บ.ก.). The World's Major Languages. Oxford: Oxford University Press. pp. 523–546. ISBN 978-0-19-506511-4.
  5. 5.0 5.1 Constitution of the Islamic Republic of Iran: Chapter II, Article 15: "The official language and script of Iran, the lingua franca of its people, is Persian. Official documents, correspondence, and texts, as well as text-books, must be in this language and script. However, the use of regional and tribal languages in the press and mass media, as well as for teaching of their literature in schools, is allowed in addition to Persian."
  6. "Tajikistan Drops Russian As Official Language". RFE/RL – Rferl.org. 7 October 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 13 September 2013.
  7. "What Languages are Spoken in Afghanistan?". 2004. สืบค้นเมื่อ June 13, 2012. Pashto and Dari are the official languages of the state. are – in addition to Pashto and Dari – the third official language in areas where the majority speaks them
  8. "Standard Persian" (PDF). www.sid.ir. สืบค้นเมื่อ 28 October 2020.
  9. "History of Tehrani accent". Iranian students news agency. สืบค้นเมื่อ 28 October 2020.
  10. "Bukharan Tajik". www.cambridge.org. สืบค้นเมื่อ 28 October 2020.
  11. 'Tajikistan to use Persian alphabet,' Iranian website says. Tajikistan News ASIA-Plus. Published 3 May 2008, retrieved 9 April 2019.