พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ (อังกฤษ: Celebration on the Auspicious Occasion of His Majesty the King's 6th Cycle Birthday Anniversary, July 28th, 2024) เป็นชื่องานฉลองที่ประกอบด้วยพระราชพิธี รัฐพิธี และราษฎรพิธี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (72 พรรษา) ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
วันที่28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
ประเทศประเทศไทย
เหตุการณ์ก่อนหน้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
จัดโดยรัฐบาลไทย

พระราชพิธีนี้เป็นพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบปีนักษัตรครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน โดยรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน และประชาชนชาวไทยร่วมกันจัดพระราชพิธีนี้ขึ้น

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ แก้

เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566 ในการประชุมนัดแรกของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ[1] ต่อมาเศรษฐาได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ในอีก 5 วันถัดมา และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยมีองค์ประกอบดังนี้[2]

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
ลำดับที่ ชื่อ ตำแหน่งหลัก ตำแหน่งในคณะกรรมการ หมายเหตุ
1 วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา (ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นโดยตำแหน่ง) ที่ปรึกษา
2 อโนชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลฎีกา เริ่ม 1 ต.ค. 66 (โดยตำแหน่ง) ต่อจาก โชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ (ครบวาระ)
3 พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา
4 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
5 ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รองประธานกรรมการ
6 สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เริ่ม 27 เม.ย. 67 (โดยตำแหน่ง) ต่อจาก สมศักดิ์ เทพสุทิน (ถูกโยกย้าย)
7 พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เริ่ม 27 เม.ย. 67 (โดยตำแหน่ง) ต่อจาก ปานปรีย์ พหิทธานุกร (ถูกปรับออก)
8 อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
9 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
10 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
11 จักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ เริ่ม 27 เม.ย. 67 (โดยตำแหน่ง) ต่อจาก พวงเพ็ชร ชุนละเอียด (ถูกปรับออก)
12 พิชิต ชื่นบาน
13 จิราพร สินธุไพร
14 สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
15 มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เริ่ม 30 เม.ย. 67 (โดยตำแหน่ง) ต่อจาก ปานปรีย์ พหิทธานุกร (ลาออก)
16 สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เริ่ม 27 เม.ย. 67 (โดยตำแหน่ง) ต่อจาก เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช (ถูกโยกย้าย)
17 นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
18 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
19 ณัฐฎ์จารี อนันตศิลป์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
20 เฉลิมพล เพ็ญสูตร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
21 พล.อ.สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม
22 ลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง
23 เอกสิริ ปิณฑะรุจิ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เริ่ม 24 ม.ค. 67 (โดยตำแหน่ง) ต่อจาก ศรัณย์ เจริญสุวรรณ (ถูกโยกย้าย)
24 อารัญ บุญชัย ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
25 อนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
26 เพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
27 ประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
28 ชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม
29 จตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
30 ศ.(พิเศษ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
31 ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน
32 รอประกาศ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เริ่ม (รอประกาศ) (โดยตำแหน่ง) ต่อจาก กีรติ รัชโน (เสียชีวิต)
33 สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
34 พงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม
35 ไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน
36 ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
37 สุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
38 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
39 ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
40 วันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร เริ่ม 1 ต.ค. 66 (โดยตำแหน่ง) ต่อจาก ขจิต ชัชวานิชย์ (เกษียณ)
41 พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เริ่ม 1 ต.ค. 66 (โดยตำแหน่ง) ต่อจาก พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ (เกษียณ)
42 พล.อ.เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก เริ่ม 1 ต.ค. 66 (โดยตำแหน่ง) ต่อจาก พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ (เกษียณ)
กรรมการและเลขานุการ
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

พระราชพิธี แก้

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2567 แก้

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช 2567 แก้

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนิน ไปในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค จากท่าวาสุกรีไปยังวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร[3]

รัฐพิธี แก้

รัฐบาลไทยได้เตรียมการจัดรัฐพิธี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ แก้

สำหรับภาคประชาชน รัฐบาลไทยได้กำหนดขอบเขตการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 โดยมีการผลิตและเผยแพร่สารคดี ข้อมูล ภาพประกอบ และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ[4] เช่น การจัดพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย, การจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล, การจัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน, พิธีถวายเครื่องราชสักการะและจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล, การจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระราชกุศล, การจัดพิธีทางศาสนามหามงคล 5 ศาสนา, การจัดงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ และการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นต้น[5]

การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระอัครสาวก แก้

รัฐบาลไทยได้จัดพิธีสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า และพระอรหันตธาตุของพระอัครสาวก ได้แก่พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "พระธาตุกบิลพัสดุ์" เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 19 มีนาคม พ.ศ. 2567 โดยได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากพิพิธภัณฑ์กรุงนิวเดลี และพระอรหันตธาตุจากพุทธวิหาร สถูปสาญจี รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวที่ประเทศไทย ตามโครงการ "ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุจากมหานทีคงคาสู่ลุ่มน้ำโขง" ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 2,567 ปี ที่มีการจัดพิธีสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระอัครสาวกพร้อมกัน[6][7]

การประดิษฐานที่กรุงเทพมหานคร แก้

รัฐบาลอินเดียได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุออกจากท่าอากาศยานกองทัพอากาศปาลาม ประเทศอินเดีย[8] มายังท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ใกล้กับท่าอากาศยานดอนเมือง และกระทรวงวัฒนธรรมได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์[9] จากนั้นในวันถัดมา (23 กุมภาพันธ์) เวลา 16:00 น. มีการจัดริ้วขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุไปยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวง และเมื่อเวลา 17:00 น. มีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุขึ้นประดิษฐานบนมณฑปที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) เสด็จเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ และเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานฝ่ายฆราวาส[10] โดยพิธีนี้มีการถ่ายทอดสดทางช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี และเอ็นบีที 2 เอชดี[11]

จากนั้นรัฐบาลไทยได้เปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า และพระอรหันตธาตุของพระอัครสาวก ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา จนถึง 3 มีนาคม เวลา 09:00 - 20:00 น.[12] ก่อนขยายเวลาเพิ่มตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ เป็นเวลา 08:00 - 21:00 น.[13] และวันที่ 2 และ 3 มีนาคม เป็นเวลา 07:00 - 21:00 น. ตามลำดับ[14] ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปถวายสักการะ พร้อมทั้งพระราชทานไฟประจำทั้งมณฑปหลักบริเวณท้องสนามหลวง และมณฑปส่วนภูมิภาคทั้ง 3 แห่ง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เวลา 09:00 น.[15]

การประดิษฐานในส่วนภูมิภาค แก้

หลังจากเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุในกรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว รัฐบาลไทยจะอัญเชิญไปประดิษฐานใน 3 จังหวัดส่วนภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในส่วนภูมิภาคได้เข้าสักการะบูชา ได้แก่[12]

โดยเปิดให้ประชาชนสักการะตั้งแต่เวลา 09:00 - 20:00 น. ของทุกวัน และตั้งแต่เวลา 17:00 น. ของแต่ละวัน มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ตามอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ เพื่อเสริมสิริมงคลให้กับศาสนิกชน[12] และหลังจากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม จะจัดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุกลับมายังกรุงเทพมหานคร และส่งมอบคืนให้แก่รัฐบาลอินเดียต่อไป[16]

สวนสนามทหารราชวัลลภ 2567 แก้

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และเนื่องในวันราชวัลลภ พุทธศักราช 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จะเสด็จพระราชดำเนินไปในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ณ พระลานพระราชวังดุสิต ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ในวโรกาสนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จะทรงนำทหารจากหน่วยราชวัลลภรักษาพระองค์ จำนวน 12 กองพัน สวนสนามเฉพาะพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตราสัญลักษณ์ แก้

ตราสัญลักษณ์ของพระราชพิธีนี้ ประกอบด้วย อักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. อยู่ตรงกลาง อักษร ว ใช้สีขาวนวล สีแห่งวันจันทร์วันพระบรมราชสมภพ ตามคติมหาทักษา อักษร ป ใช้สีเหลือง วันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และอักษร ร ใช้สีฟ้า วันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อยู่บนรูปทรงของเพชร อันหมายถึง พระปรมาภิไธย “มหาวชิราลงกรณ” เพชรสีขาบ (สีน้ำเงินแก่อมม่วง) อันเป็นสีของพระมหากษัตริย์ ภายนอกกรอบของเพชร ประกอบด้วยแถบสีเขียว ซึ่งเป็นสีแห่งเดชวันพระบรมราชสมภพ ประดับด้วยเพชร 72 เม็ด หมายถึง พระชนมพรรษา 72 พรรษา

เบื้องบนของตราสัญลักษณ์ ประดับพระมหาพิชัยมงกุฎ แสดงถึงการทรงเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ เบื้องหลังพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แสดงถึงพระบรมเดชานุภาพแผ่กระจายไปไกลทั่วทุกหนแห่ง เพื่อปกป้องคุ้มครองและช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์ทั่วทั้งแผ่นดิน ยอดจงกลฉัตรประกอบรูปพรหมพักตร์ ดอกจำปาทองห้อยระบายชั้นล่างนพปฎลมหาเศวตฉัตร 8 ดอก หมายถึง พระบารมีแผ่ไปทั่วทั้ง 8 ทิศ เลข ๑๐ ไทย ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ หมายถึง พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

เบื้องล่างปลายแถบแพร เบื้องขวามีรูปคชสีห์กายสีม่วงชมพูประคองฉัตร 7 ชั้น หมายถึงข้าราชการฝ่ายทหาร เบื้องซ้ายมีรูปราชสีห์กายขาวประคองฉัตร 7 ชั้น หมายถึง ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ผู้ปฏิบัติราชการสนองงานแผ่นดิน เบื้องล่างประกอบด้วยลวดลายพญานาคกายสีเขียว อันแสดงถึงนักษัตรปีมะโรงอันเป็นปีพระบรมราชสมภพ แพรแถบสีส้มขลิบทองซึ่งเป็นสีแห่งมูละของวันพระบรมราชสมภพ ภายในแพรแถบมีข้อความว่า "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗" ใต้อักษรพระปรมาภิไธย ประกอบด้วยตัวเลข ๗๒ ไทย หมายถึงพระชนมพรรษา ลวดลายเฟื่องอุบะและลวดลายดอกรวงผึ้ง ดอกไม้ประจำพระองค์มีสีทอง อันหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนและประเทศชาติ[17]

การใช้ตราสัญลักษณ์ แก้

สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยทุกช่องได้ขึ้นตราสัญลักษณ์พระราชพิธีนี้ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 00:01 น. และจะขึ้นตราสัญลักษณ์นี้ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2567 ขึ้นจนถึงวันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 23:59 น.

การมอบตราสัญลักษณ์ แก้

รัฐบาลไทยได้จัดพิธีมอบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2567 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 16:00 น. โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติฯ การจัดงานในครั้งนี้และมอบให้แก่หน่วยงานของรัฐบาล 20 กระทรวง ผู้บัญชาการทหาร 3 เหล่าทัพ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด (ผ่านระบบ ZOOM) และสื่อมวลชน 35 หน่วย[18]

สิ่งที่ระลึก แก้

สถานที่ แก้

โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสะพานทศมราชันในช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งตรงกับช่วงพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ[20]

เหรียญและเข็มที่ระลึก ฯ แก้

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ได้มีมติเห็นชอบให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานเดียวที่ดำเนินการจัดทำเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ฯ สำหรับจำหน่ายให้แก่ประชาชนเพื่อใช้ประดับ และเก็บไว้เป็นที่ระลึกในราคาเข็มละ 300 บาท โดยนำเงินรายได้ภายหลังหักค่าใช้จ่าย เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ฯ ได้จัดทำโดยช่างฝีมือผู้มีความชำนาญ จัดทำด้วยความประณีต ละเอียดอ่อน สวยงาม สมพระเกียรติ และมีคุณค่า เหมาะสำหรับเก็บไว้เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ ทั้งนี้ สามารถสั่งจองได้ที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป โดยจองผ่านเว็บไซต์ Thailandpostmart.com หรือที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ ซึ่งผู้สั่งจองจะได้รับเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ฯ ประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567[21]

เสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์ ฯ แก้

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดสั่งจองเสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์ฯ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2567 อีกทั้งยังมีการอนุญาตให้ผลิตเสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ซึ่งตอนนี้มีร้านค้าที่ได้รับอนุญาตให้จัดทำเสื้อประดับตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ อย่างแพร่หลาย เพื่อให้ประชาชนสามารถหาซื้อได้ตามสะดวก

แสตมป์พระราชพิธี แก้

รอประกาศอย่างเป็นทางการจาก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

ธนบัตรที่ระลึก แก้

รอประกาศอย่างเป็นทางการจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "'ประชุม ครม.' แบบ 'เศรษฐาสไตล์' ข้อสั่งการมาก-ทำงานเร็ว-กำหนดเวลาตามงาน". กรุงเทพธุรกิจ. 15 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 3 ตุลาคม 2566". รัฐบาลไทย. 3 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ทร. เตรียมจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค "ในหลวง-พระราชินี" เสด็จฯ 27 ต.ค.นี้". www.thairath.co.th. 2024-01-26.
  4. "รัฐบาลเชิญชวนประดับธงตราสัญลักษณ์เฉลิมพระชนมพรรษา6รอบปี2567". โพสต์ทูเดย์. 25 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "รัฐบาล เตรียมจัดงานเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ "ในหลวง" 28 ก.ค. 2567". ไทยรัฐ. 8 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ อัญเชิญ 'พระบรมสารีริกธาตุ-พระอรหันตธาตุ' จากอินเดียมาไทย". มติชน. 7 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "วธ.จัดขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุยิ่งใหญ่". ไทยรัฐ. 20 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุฯ จากอินเดียถึงไทยแล้ววันนี้". ฐานเศรษฐกิจ. 22 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ-พระอรหันตธาตุ จากอินเดียถึงไทยแล้ว (ภาพชุด)". มติชน. 22 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "สมเด็จพระสังฆราช เสด็จอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานที่ท้องสนามหลวง". ข่าวสด. 23 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "ถ่ายทอดสดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ สนามหลวง". ฐานเศรษฐกิจ. 23 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 12.2 "เปิดสักการะพระบรมสารีริกธาตุ-พระอรหันตธาตุ 24 ก.พ.-3 มี.ค." ไทยพีบีเอส. 22 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "ขยายเวลาสักการะ "พระบรมสารีริกธาตุ-พระอรหันตธาตุ" ณ ท้องสนามหลวง เป็นเวลา 08.00-21.00 น." พีพีทีวี. 27 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "ศรัทธาหลั่งไหล ขยายเวลาไหว้พระบรมสารีริกธาตุที่สนามหลวงอีกครั้ง ใน 2 วันสุดท้าย เป็น 07.00-21.00 น." ผู้จัดการออนไลน์. 1 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "ในหลวง ทรงสักการะพระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย พระราชทานไฟ ณ 4 มณฑป ถวายเป็นพุทธบูชา". ไทยโพสต์. 26 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "สร้างมงคลชีวิต 24 ก.พ.นี้ ร่วมสักการะ "พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ" ณ ท้องสนามหลวง". พีพีทีวีออนไลน์. พีพีทีวี. 20 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "โปรดเกล้าฯ ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567". มติชน. 25 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "รัฐบาลจัดพิธีมอบตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567". กรมประชาสัมพันธ์. 26 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "โครงการทางพิเศษสายพระราม3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่4". ยูทูบ. 11 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. 20.0 20.1 "ปลื้มปีติ! พระราชทานชื่อ "ทศมราชัน" สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 ข้ามเจ้าพระยา". เดลินิวส์. 30 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. "เปิดสั่งจอง เข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว". ไทยโพสต์. 29 มีนาคม 204. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้