ราชสีห์ (อังกฤษ: Rajasiha : The Great Lion) เป็นสัตว์หิมพานต์ เป็นสัญลักษณ์ของภาควิชาหรือคณะ รัฐศาสตร์ และ หน่วยงานด้านการปกครองหลายแห่ง

ตราราชสีห์ (ตราราชการกระทรวงมหาดไทย)

ในทางสากลราชสีห์ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ

ประวัติ แก้

ราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังสูง ในตำนานหิมพานต์สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดหลัก ๆ คือ ราชสีห์ และ สิงห์ผสม ส่วนสิงห์ผสมนั้นมีอยู่มากมาย โดยปกติสิงห์ผสมคือสัตว์ที่มีลักษณะของราชสีห์กับสัตว์ประเภทอื่น แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีราชสีห์ชนิดใดที่ใกล้เคียงกับสิงโต

ชนิด แก้

ตำนานแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

  • ไกรสรราชสีห์ คือ ราชสีห์ขาว ในตำนานกล่าวว่าไกรสรราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังแรงกล้า เป็นนักล่าชั้นเยี่ยมและกินสัตว์ใหญ่น้อยเป็นอาหาร
  • กาละราชสีหะ (กาฬสีห์) คือ ราชสีห์ดำ กินพืชเป็นอาหารเท่านั้น กาฬสีหะมีกายดำสนิท และใหญ่ราวโคหนุ่ม (คำว่า “กาฬ” แปลว่าดำ) ถึงแม้กาฬสีหะจะกินเฉพาะพืช แต่ก็ใช่ว่าจะมีกำลังน้อยกว่าราชสีห์ชนิดอื่น ราชสีห์ทุกชนิดมีเสียงคำรามอันทรงพลัง ในตำนานกล่าวว่าเพียงเสียงคำรามของราชสีห์ก็สามารถทำให้สัตว์อื่นเจ็บได้
  • ตินสีหะ (ติณณสีหะ) คือ ราชสีห์แดง เป็นราชสีห์อีกชนิดที่กินแต่พืชเป็นอาหาร มีเท้าเป็นกีบแบบม้า
  • บัณฑุราชสีห์ (บัณฑรสีห์) คือ ราชสีห์เหลือง มีผิวกายสีเหลือง เป็นสัตว์กินเนื้อ บัณฑุราชสีห์จัดได้ว่าเป็นสัตว์นักล่าขนาดใหญ่สัตว์ ที่ถูกล่า มีตั้งแต่สัตว์ประเภทกวาง ควาย ช้าง หรือแม้แต่มนุษย์ ในเอกสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับป่าหิมพานต์ระบุว่า มีร่างกายเหมือนสีใบไม้เหลืองและใหญ่เท่ากับวัวหนุ่ม

ราชสีห์ทั้งสี่ชนิดนี้ มหาวิทยาลัยแรกๆ ที่มีคณะรัฐศาสตร์ ได้นำไปตั้งเป็นสัญลักษณ์ประจำคณะ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้