พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)

มหาอำมาตย์ตรี พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อดีตรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง ในรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตสมาชิกวุฒิสภา

พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์
(หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
21 มิถุนายน 2476 – 16 ธันวาคม 2476
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา
ก่อนหน้าพระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล
ถัดไปพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416
เมืองพระนคร
เสียชีวิต21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 (84 ปี)
ศาสนาพุทธ

ประวัติ แก้

พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ มีนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 ที่จังหวัดพระนคร เป็นโอรสของหม่อมเจ้าเข็ม อิศรศักดิ์ พระโอรสในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ [1]

ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น หม่อมอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ ราชินิกูล ถือศักดินา 800 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438[2]ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ข้าหลวงประจำเมืองเชียงใหม่ แล้วเลื่อนเป็น พระยาอิศรพันธ์โสภณ แล้วเลื่อนเป็น พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ ถึงแก่กรรมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 อายุ 84 ปี พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2501 ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส[3]

งานการเมือง แก้

พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย (ผู้แทนราษฎรชั่วคราว พ.ศ. 2475) ขณะมีอายุได้ 59 ปี ซึ่งถือว่าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก ทั้งที่มิได้เป็นหนึ่งในคณะผู้ร่วมเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง ในรัฐบาลของพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เมื่อ พ.ศ. 2476[4] และต่อมาจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)[5]

ต่อมาในเหตุการณ์กบฏพระยาทรงสุรเดช เมื่อ พ.ศ. 2481 พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการกบฎเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงถูกนำตัวขึ้นสู่การพิพากษาของศาลพิเศษที่ถูกจัดตั้งขึ้นในการนี้โดยเฉพาะ และถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2482 โดยก่อนหน้านั้นในเหตุการณ์กบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2476 ก็ถูกเพ่งเล็งมาก่อนแล้วว่าให้การดูแลเอาใจใส่นักโทษเป็นพิเศษในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก่อนจะได้รับการนิรโทษกรรมในยุครัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2487 ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกพฤติสภาชุดที่ 2 (วุฒิสภา)[6] หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 และพ้นจากตำแหน่งไปหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2494 และได้วางมือทางการเมืองในที่สุด แต่ก็ยังคงติดตามการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองมาตลอดจนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม[1]

บรรดาศักดิ์และตำแหน่ง แก้

  • 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ ราชินิกูล
  • เจ้ากรมตรวจ
  • 27 กันยายน พ.ศ. 2441 รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมสารบัญชี[7]
  • พ.ศ. 2443 ข้าหลวงประจำเมืองเชียงใหม่[8]
  • 17 มิถุนายน 2446 – เจ้ากรมสำรวจ[9]
  • ปลัดบัญชีกระทรวงมหาดไทย
  • 2449 – อธิบดีกรมเก็บ[10]
  • 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 ผู้แทนปลัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[11]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2451 ปลัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[12]
  • 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 พระยาอิศรพันธ์โสภณ ถือศักดินา 1000[13]
  • 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 พ้นจากตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[14]
  • 29 ธันวาคม พ.ศ. 2462 พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ ถือศักดินา 1600[15]
  • 30 มีนาคม พ.ศ. 2465 ปลัดกรมสำรวจ[16]
  • อธิบดีกรมสำรวจ
  • 31 มีนาคม พ.ศ. 2468 ผู้รั้งสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการ มณฑลปัตตานี[17]
  • 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปัตตานี[18]

ยศ แก้

  • มหาเสวกตรี
  • 29 มีนาคม พ.ศ. 2465 จางวางตรีพิเศษ[19]
  • 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 มหาอำมาตย์ตรี[20]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ลำดับสาแหรก แก้


อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 หน้า 10 บทความ–การ์ตูน, พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ : รัฐมนตรีที่เจอโทษขบถ. "ส่วนร่วมสังคมไทย" โดย นรนิติ เศรษฐบุตร. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,382: วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก
  2. พระราชทานสัญญาบัตร
  3. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  4. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 3 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-11. สืบค้นเมื่อ 2015-06-11.
  5. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-11.
  6. "วุฒิสภา ชุดที่ 2 (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2489)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-11.
  7. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  8. ส่งสัญญาบัตร์ตำแหน่งไปพระราชทาน
  9. ประกาศกระทรวงมหาดไทย
  10. ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
  11. แจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
  12. แจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
  13. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  14. แจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
  15. พระราชทานบรรดาศักดิ์
  16. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  17. ประกาศ ตั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลต่าง ๆ
  18. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  19. ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก เรื่อง พระราชทานยศ
  20. พระราชทานยศ
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๕๖๕๓, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๔
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๓๐, ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายน่า, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๕๗, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๖๗
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๘, ๒๑ เมษายน ๒๔๗๘
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๐, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๙, ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๑
  27. ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน