ไฟล์:Banded-Pitta.jpg
นกแต้วแล้วลาย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Pittidae
สกุล: Pitta
สปีชีส์: P.  guajana


ไฟล์:Phylogeny of bird (1).png

นกแต้วแล้วลาย (อังกฤษ: Banded Pitta; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pitta guajana ) จัดอยู่ในอันดับนกเกาะคอน (Passeriformes) [1] วงศ์ Pittidae[2] ในประเทศไทยพบนกในวงศ์นี้ทั้งสิ้น 13 ชนิด ได้แก่ นกแต้วแล้วหูยาว, นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำเงิน, นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำตาล, นกแต้วแล้วยักษ์, นกแต้วแล้วสีน้ำเงิน, นกแต้วแล้วเขียวเขมร,นกแต้วแล้วท้องดำ, นกแต้วแล้วอกเขียว, นกแต้วแล้วแดงมลายู, นกแต้วแล้วธรรมดา, และนกแต้วแล้วป่าชายเลน


ลักษณะ แก้

เป็นนกขนาดเล็ก มีลำตัวอ้วนป้อม มีสีสันฉูดฉาด คอสั้น หัวโต หางสั้น ลำตัวยาวประมาณ 21-24 เซนติเมตร มีคอขาว แถบกลางหัว แถบตา และแถบรอบคอดำ คิ้วกว้างสีเหลืองและมีสีแดงบริเวณใกล้ท้ายทอย มีความแตกต่างของชุดขนระหว่างเพศโดยบริเวณอกและท้องของเพศผู้จะเป็นสีน้ำเงินเข้มและไม่มีลาย ในขณะที่เพศเมียจะมีลายบริเวณท้องและอกที่เด่นชัด และมีสีสันที่จางกว่าเพศผู้


ถิ่นที่อยู่อาศัย แก้

เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยนัก พบเห็นได้เฉพาะบริเวณป่าดงดิบบริเวณที่ราบทางภาคใต้ของประเทศไทยจนถึงความสูงประมาณ 610 เมตร และมีกระจายบางส่วนเป็นหย่อมๆ ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย


การสืบพันธุ์ แก้

นกแต้วแล้วลายมีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม โดยจะส่งเสียงร้องเพื่อเป็นการสื่อสารและตอบโต้ระหว่างช่วงจับคู่ผสมพันธุ์ นกแต้วแล้วลายจะจับคู่ผสมพันธุ์แบบ ผัวเดียวเมียเดียว monogamy [3]ซึ่งพ่อและแม่นกจะช่วยกันสร้างรังรูปทรงโดมเหนือพื้นดิน บางครั้งอาจจะสูงถึง 3 เมตร บริเวณ ตามง่ามไม้ในกลุ่มปาล์ม หวาย การสร้างรังเกิดจากการสานกิ่งไม้เป็นโครงก่อนจึงบุด้วยใบไม้แห้ง ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง นกแต้วแล้วเป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่มีอัตราการรอดของลูกนกต่ำ ถึงแม้บางชนิดจะพัฒนาให้มีการสร้างรังบนที่สูง ปัจจัยสำคัญคือ สัตว์ผู้ล่า อาทิเช่น งู กระรอก นก มด และ ลิง เป็นต้น


พฤติกรรมและนิเวศวิทยา แก้

นกแต้วแล้วลายมีนิสัยขี้อายและขี้ตกใจ มักกระโดดหากิน หรือบินในระยะทางสั้นๆตามเรือนยอดไม้ในป่าดิบ มักชอบหาอาหารบริเวณใกล้ลำธารหรือแหล่งน้ำ เนื่องจากดินบริเวณนั้นจะมีความร่วนซุย ง่ายต่อการใช้จะงอยปากในการคุ้ยเขี่ยหาไส้เดือน หรือแมลง นอกจากนี้นกแต้วแล้วลายยังกินหอยทาก แมลงสาป มด ปลวก เต่าทอง ตัวบุ้ง และแมลงอื่นๆที่ซ่อนอยู่ใต้ใบไม้แห้งอีกด้วย


ความสัมพันธุ์เชิงวิวัฒนาการ แก้

จากการศึกษาความสัมพันธุ์ทางวิวัฒนาโดยการใช้ 416 UCE loci และทำการสร้าง phylogenetic tree [4]2 แบบ คือ Bayesian and maximum-likelihood (ML) trees พบว่าวงนกศ์แต้วแล้ว (Pittidae) มีความสัมพันธุ์เชิงวิวัฒนาการโดยเป็น sister group กับนกในวงศ์นกแก้ว psittacidae [1]

สำหรับการศึกษา หรืองานวิจัยเกี่ยวกับนกแต้วแล้วในประเทศไทย พบว่ามีปรากฏอยู่น้อยมาก ข้อมูลล่าสุดพบนกแต้วแล้วลายเพศผู้จับคู่ผสมพันธุ์กับแต้วแล้วท้องดำเพศเมียในพื้นที่ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เขาประ-บางคราม จ.กระบี่ หรือเขานอจู้จี้ สืบเนื่องมาจากถิ่นที่อยู่อาศัยของนกทั้ง 2 ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกัน คือ ป่าที่ราบต่ำทางภาคใต้ อีกทั้งพบว่า ประชากรแต้วแล้วท้องดำในพื้นที่ มีน้อยมาก จึงอาจเป็นเหตุสำคัญให้เกิดการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ดังกล่าว นักวิจัยหลายท่านจึงมองว่า การศึกษาชีววิทยาของนกแต้วแล้วลาย ซึ่งมิใช่สัตว์ป่าสงวนนั้น อาจเป็นทางออกหนึ่งให้เราสามารถเข้าใจและสามารถนำไปปรับใช้ในการอนุรักษ์นกแต้วแล้วท้องดำ ซึ่งมีสถานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่งต่อไป [2]


การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการ แก้

นกแต้วแล้วลายซึ่งจัดอยู่ในอันดับนกเกาะคอน(Passerine) นกในอันดับนี้มีลักษณะทางกายภาพที่วิวัฒนาการเพื่ออาศัยและให้สามารถหากินบนต้นไม้ได้ดี โดยการมีนิ้วทั้ง 4 นิ้วที่เจริญดีและอยู่ในระนาบเดียวกัน จึงเหมาะแก่การจับหรือเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้ แต่ไม่เหมาะสำหรับการเดินบนพื้นดิน ดังนั้นเมื่อลงดินจึงใช้วิธีการก้าวกระโดด ลักษณะดังกล่าวนอกจากจะช่วยในการหาอาหารได้ในหลากหลายพื้นที่มากขึ้นแล้ว ยังเป็นลักษณะสำคัญที่ช่วยให้นกหลีกเลี่ยงการเผชิญกับสัตว์ผู้ล่าที่หากินบริเวณพื้นล่างอีกด้วย


คุณค่าและความสำคัญ แก้

นกแต้วแล้วลายจัดเป็นนกแต้วแล้วชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักนิยมธรรมชาติและนักดูนกทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื่องจากสีสันที่สวยงาม และมีการแพร่กระจายเฉพาะในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียเท่านั้น ธุรกิจหนึ่งที่ทำรายได้ให้แก่ชาวบ้านทางภาคใต้โดยเฉพาะพื้นที่เขานอจู้จี้ จังหวัดกระบี่ คือ การนำนักท่องเที่ยวดู ซึ่งเป็นอีกแนวทางสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน โดยที่ไม่เป็นการรบกวนนกมากนัก และเสริมสร้างให้ชาวบ้านตระหนักถึงความสำคัญและเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์สัตว์ป่าต่อไป ซึ่งนี่อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับงานด้านอนุรักษ์ที่ยั่งยืนในอนาคตก็เป็นไปได้


อ้างอิง แก้

  1. https://th.wikipedia.org/wiki/Passeriformes
  2. https://th.wikipedia.org/wiki/Pittidae
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/Monogamy
  4. https://en.wikipedia.org/wiki/Phylogenetic_tree