ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร แม่โจ้โพลล์ แก้

ประวัติ แก้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดตั้งศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตรขึ้นมาเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นหน่วยงานสำหรับสนับสนุนการวิจัยทางเศรษฐกิจ และการบริการวิชาการแก่ชุมชนและหน่วยงานต่างๆโดยมีระบบการบริหารจัดการเป็นอิสระ สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัวและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันการศึกษาที่มีรากฐานทางด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรที่เข้มแข็ง ประกอบกับมีศักยภาพด้านการวิจัยและบริการวิชาการทางการเกษตร สามารถตอบสนองต่อ สังคมเกษตรกรได้กว้างขวาง เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานด้านการวิจัยและบริการวิชาการเชิงเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพ ในการแข่งขันในปัจจุบัน การดำเนินงานของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร เป็นหน่วยงานในกำกับ บริหารงานแบบวิสาหกิจ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

ที่มาและวัตถุประสงค์ แก้

แม่โจ้โพลล์อยู่ภายใต้การดูแลควบคุมของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ คือ 

1. จัดประชุม สัมมนา และฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ทางด้านเศรษฐศาสตร์ การจัดการที่เอื้อต่อการพัฒนาความรู้และความเข้มแข้งของหน่วยงาน องค์กรและชุมชนท้องถิ่น

2. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะด้านวิจัย ทั้งในด้านการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน และการวิจัยเชิงนโยบาย เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

3. เป็นหน่วยงานในการจัดเวทีสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ สร้างความเข้มแข็ง ตลอดจนแก้ปัญหาความขัดแย้งของชุมชนท้องถิ่น

4. เพื่อนำเสนอทัศนคติของคนในสังคม ในประเด็นสำคัญทางด้านการเกษตร เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการสำรวจความคิดเห็น

5. จัดทำและเผยแพร่เอกสาร วารสาร วิสัยทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตำราประกอบการเรียนการสอนของคณาจารย์และอื่นๆ

6. จัดทำและเผยแพร่การพยากรณ์ภาวะและเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ

7. เป็นที่ปรึกษาและให้บริการข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจแก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบธุรกิจและอื่นๆ

วิสัยทัศน์ของแม่โจ้โพลล์ แก้

" เป็นศูนย์ที่มุ่งพัฒนางานวิจัย  งานบริการวิชาการและพยากรณ์ทางการเกษตร เพื่อนำเสนอและชี้นำสังคม

พันธกิจของแม่โจ้โพลล์ แก้

1. ส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัยของบุคลากรคณะเศรษฐศาสตร์และมหาวิทยาลัย โดยจัดหาแหล่งทุน และสร้างแรงจูงใจแก่บุคลากร

2. จัดบริการวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยการประยุกต์และพัฒนาองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ

3. รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจ การเกษตรเพื่อนำเสนอและชี้นำสังคม โดยการจัดทำโพลล์และการพยากรณ์ทางการเกษตร

4. เผยแพร่ องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ประเด็นสำคัญและข้อวิพากวิจารณ์ทางเศรษฐกิจรวมถึง ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม