กระต่าย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Lagomorpha
วงศ์: Leporidae
สกุล: Oryctolagus
Lilljeborg, 1873
สปีชีส์: O.  cuniculus
ชื่อทวินาม
Oryctolagus cuniculus
(Linnaeus, 1758)
ชนิดย่อย[2]
  • O. c. algirus (Loche, 1858)
  • O. c. brachyotus Trouessart, 1917
  • O. c. cnossius Bate, 1906
  • O. c. cuniculus (Linnaeus, 1758)
  • O. c. habetensis Cabrera, 1923
  • O. c. huxleyi Haeckel, 1874
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีแดง-ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม, สีน้ำเงิน-ถิ่นที่ถูกนำเข้าจนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น)

กระต่าย (อังกฤษ: Rabbit[1], Common rabbit; จัดอยู่ในสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในวงศ์ Leporidae มีลำตัวขนาดเล็ก ขนปุย หูยาว พบในหลายแห่งของโลก มีสัตว์ 7 สกุลจัดอยู่ในวงศ์ของกระต่าย ที่พบอาศัยตามป่าทั่วไปในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis) ซึ่งมีขนสีน้ำตาล ใต้หางสีขาว ขุดดินเป็นโพรงอาศัย ส่วนที่นำมาเลี้ยงตามบ้าน มีหลายชนิดและหลายสี แต่ที่พบมากจะเป็นสีอ่อนเช่นสีขาว เช่น กระต่ายยุโรป ชื่อวิทยาศาสตร์: Oryctolagus cuniculus) [3]

บทนำ แก้

จุดกำเนิด แก้

กระต่ายยุโรปก็มีจุดเริ่มต้นเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ คือเริ่มจากมนุษย์จับกระต่ายยุโรปมาเลี้ยง แต่ระยะเวลาในการเริ่มต้นนำกระต่ายยุโรปมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ แล้วนับว่ามีอายุสั้นกว่ามาก ประวัติการเริ่มต้นนำกระต่ายยุโรปมาเลี้ยง พึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปีมานี้ โดยเริ่มในยุคต้นของอาณาจักรโรมัน ประมาณ 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช (116-27 ก่อนคริสต์ศักราช) กระต่ายยุโรป ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบรอยต่อระหว่างทวีปแอฟริกาหนือและยุโรปตอนใต้ ได้ถูกจับมาเลี้ยงแบบจำกัดเขตตามสวนหรืออุทยานที่มีรั้วหรือกำแพงล้อมรอบแบบกึ่งเลี้ยงกึ่งกระต่ายป่า เพื่อเป็นเกมการล่าสัตว์ของกษัตริย์หรือขุนนาง และเพื่อใช้เป็นอาหารของพวกพระหรือนักบวชชาวโรมันในระหว่างถือบวชก่อน หลังจากนั้นการเลี้ยงกระต่ายก็ค่อย ๆ แพร่หลายไปเรื่อยและมีการพัฒนาขึ้น ทั้งวิธีการเลี้ยงและสายพันธุ์ จากจุดเริ่มต้นของการเลี้ยงในยุโรปตอนใต้ (แถบสเปนและอิตาลีในปัจจุบัน) กระต่ายยุโรปก็ถูกนำไปเลี้ยงแพร่หลายทั่วยุโรป รวมทั้งข้ามไปถึงเกาะอังกฤษ และในยุคกลาง (ราวกลางศตวรรษที่ 17) พวกนักเดินเรือก็นำกระต่ายติดเรือไปด้วย เพื่อใช้เป็นอาหารในเรือและนำไปปล่อยตามเกาะหรือแผ่นดินใหม่ที่ค้นพบ เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหาร จึงทำให้กระต่ายแพร่ขยายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นสัตว์พื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่น ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1859 กระต่ายเพียงไม่กี่คู่ได้ถูกนำไปปล่อยตามชายฝั่งของประเทศออสเตรเลีย และในระยะเวลาอีกประมาณ 30 ปี ต่อมากระต่ายเหล่านั้นก็แพร่ขยายพันธุ์ เพิ่มจำนวนมากมายเป็นหลายสิบล้านตัว เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเหมาะสม มีอาหารเหลือเฟือ และไม่มีศัตรูตามธรรมชาติคอยลดจำนวนประชากร จนกระต่ายกลายเป็นศัตรูสำคัญของการปลูกพืช ที่รัฐบาลออสเตรเลียปัจจุบันต้องค้นคิดหาวิธีการต่าง ๆ มาลดจำนวนกระต่ายในประเทศลง หรืออย่างประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าใจกันว่ากระต่ายถูกนำติดตัวไปกับกลุ่มผู้อพยพจากยุโรปสมัยแรกเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร และแม้จะมีรายงานว่ากระต่ายที่นำติดตัวไปจากยุโรป จะแพร่พันธุ์ในสภาพป่าเขาธรรมชาติของทวีปอเมริกาไม่ดีนัก แต่จำนวนกระต่ายในอเมริกาก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ในแง่ของการเลี้ยงกระต่าย จึงถือว่ากระต่ายยุโรป เป็นต้นสายพันธุ์ของกระต่ายที่พัฒนามาเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามต่าง ๆ หลากหลายสายพันธุ์เช่นในปัจจุบัน [4]

ลักษณะทางกายภาพ แก้

กระต่ายยุโรปเป็นกระต่ายที่มีขนสีน้ำตาลเทา (บางครั้งอาจมีสีดำ) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดเป็นกระต่ายขนาดกลาง โดยการจัดมาตรฐาน กระต่ายยุโรปก็ยังจัดอยู่ในช่วง 34 ถึง 50 เซนติเมตร มีน้ำหนักตั้งแต่ 1.1 ถึง 2.5 กิโลกรัม[5] มีหูยาว ขาหลังขนาดใหญ่และ หางสั้นขนปุย เคลื่อนที่โดยการกระโดด ด้วยขาหลังที่ยาวและมีประสิทธิภาพ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ขาด้านหลังมีช่องว่างภายใน มีขนหนาเพื่อรองรับการกระแทกเมื่อกระโดดอย่างรวดเร็ว เท้าที่ยาวและมีพังผืดเพื่อกระจายแรงขณะกระโดด และมีเปลือกตาหรือหนังตาถึง 3 ชั้น[6] มีหูยาว ขาหลังขนาดใหญ่และ หางสั้นขนปุย เคลื่อนที่โดยการกระโดด ด้วยขาหลังที่ยาวและมีประสิทธิภาพ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ขาด้านหลังมีช่องว่างภายใน มีขนหนาเพื่อรองรับการกระแทกเมื่อกระโดดอย่างรวดเร็ว เท้าที่ยาวและมีพังผืดเพื่อกระจายแรงขณะกระโดด และมีเปลือกตาหรือหนังตาถึง 3 ชั้น[7]

การดำรงชีวิต แก้
 
กระต่ายยุโรปใช้เวลากินหญ้าค่อนข้างนาน

เป็นสัตว์สังคม อาศัยในโพรงขนาดย่อม หากินในช่วงเวลาพลบค่ำเป็นส่วนใหญ่ และทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อฟ้ามืด เพราะประสิทธิภาพในการมองเห็นของกระต่ายจะลดลงในเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางวันนั้นจะไม่ทำกิจกรรมใด ๆ จะอาศัยอยู่ในโพรงที่สร้างไว้ และเพื่อหลบภัยจากศัตรูอีกด้วย

ความสัมพันธ์และการพัฒนาเชิงวิวัฒนาการของกระต่าย แก้

ความสัมพันธุ์ทั่วไป แก้

กระต่ายจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทสัตว์เลือดอุ่น ในอันดับ Lagomorpha เดิมจัดกระต่ายไว้เป็นสัตว์ฟันแทะในอันดับ Rodentia ร่วมกับพวกหนูและกระรอก แต่เมื่อพบว่ากระต่ายมีลักษณะหลายอย่างเป็นของตนเอง ที่แตกต่างจากพวกหนูและกระรอกมาก โดยเฉพาะกระต่ายจะมีฟันตัดสองคู่ทางด้านหน้าของขากรรไกรบนคู่ที่สองมีลักษณะเป็นปุ่มเล็กซุกอยู่ภายในคู่หน้า ในขณะที่หนูและกระรอกมีฟันตัดเพียงคู่เดียว กระต่ายถือกำเนิดในโลกมาเมื่อประมาณ 50 ล้านปีมาแล้ว ในบริเวณทวีเอเชียและอเมริกาเหนือ ทั่วโลกมีจำนวนชนิดของกระต่ายรวม 58 ชนิด ในจำนวนนี้ 44 ชนิด จัดอยู่ในวงศ์กระต่ายธรรมดา (Leporidae) และอีก 14 ชนิด อยู่ในวงศ์กระต่ายหูสั้น (Ochotonidae) กระต่ายวงศ์แรกมีขาหลังที่ยาว ทำให้วิ่งได้รวดเร็ว ใบหูยาวและหมุนไปมาได้ และมีหางสั้น ขนฟูเป็นกระจุก ส่วนกระต่ายหูสั้นมีขาทั้งคู่หน้า และคู่หลังสั้นพอๆกัน ใบหูสั้นเป็นมนกลม และไม่มีหางให้เห็นภายนอก ในวงศ์กระต่ายธรรมดา ยังแบ่งออกได้เป็นกระต่ายเลี้ยง (rabbit) และกระต่ายป่า (hare) ซึ่งมีความแตกต่างกันมากในลักษณะของ กะโหลกศีรษะ กระต่ายเลี้ยงออกลูกในโพรงใต้ดิน ไม่มีขน และไม่ลืมตาจนกว่าจะมีอายุได้ 10 วัน ส่วนกระต่ายป่าออกลูกบนพื้นดินในพงหญ้ารก ลูกที่ออกมามีขนปกคลุมตัว และตาเปิดตั้งแต่วันแรกเกิด นอกจากนี้ กระต่ายป่ามีนิสัยชอบวิ่งหนีศัตรูมากกว่าจะซุกซ่อนในโพรงดังเช่นกระต่ายเลี้ยง ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ และกระต่ายป่าชอบอยู่โดดเดี่ยว ในขณะที่กระต่ายเลี้ยงชอบอยู่เป็นฝูง กระต่ายเลี้ยง (European rabbit) มีเพียงชนิดเดียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Orytolagus cuniculus มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทร ไอบีเรียและแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ต่อมามีการนำไปเลี้ยงทั่วโลก สำหรับกระต่ายป่านั้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepus peguensis มีเขตแพร่กระจายในประเทศพม่า ไทย อินโดจีน และเกาะไหหลำ พบอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า และบริเวณป่าดั้งเดิมที่สภาพถูกทำลายทั่วประเทศ ลงไปทางทิศใต้ จนถึงบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดประจวบคีรีขันธ์กับจังหวัดชุมพรกระต่ายอาศัยอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมหลายแบบ ตั้งแต่บริเวณเขตหิมะในแถบอาร์กติก จนถึงทะเลทรายและป่าในเขตร้อน อาหารได้แก่ หญ้าและพืชล้มลุก รากไม้ เปลือกไม้ยืนต้น และไม้พุ่ม กระต่ายมีนิสัยกินมูลของตัวเอง โดยในเวลากลางวันจะถ่ายออกมาเป็นมูลแข็งและ ในเวลากลางคืนจะถ่ายมูลอ่อนที่มีวุ้นเคลือบ ซึ่งกระต่ายจะกินในเวลาเช้า เชื้อบักเตรีในมูลอ่อนเมื่อมาถูกกับอากาศจะสร้างวิตามินบางชนิดขึ้น วิตามินนี้จำเป็นมากต่อสุขภาพของกระต่าย หากไม่ได้กินมูลอ่อนกระต่ายจะตายภายในเวลา 3 วันกระต่ายเลี้ยงในทวีปยุโรปภาคเหนือผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนสิงหาคม หรือเดือนกันยายน ผสมพันธุ์โดยการปฏิสนธิภายใน ออกลูกได้ 3-5 ครอก ครอกละ 5-6 ตัว สำหรับกระต่ายป่าในซีกโลกภาคเหนือ ออกลูก 2-4 ครอก ครอกละ 1-9 ตัว ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน แต่ในเขตร้อนกระต่ายป่าผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ในธรรมชาติปกติกระต่ายมีอายุประมาณ 10 ปี [8]


วิวัฒนาการร่วมกัน (coevolution) แก้

อาจเกิดขึ้นรวดเร็วพอที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่มนุษย์ไปรบกวนกระบวนการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น การใช้ไวรัสเพื่อการควบคุมประชากรกระต่ายในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้มีผู้นำเอากระต่ายเลี้ยงจากประเทศอังกฤษเข้าไปเลี้ยงในประเทศออสเตรเลีย ที่ซึ่งอาหารการกินอุดมสมบูรณ์และไม่มีศัตรูทำลายกระต่ายจึงทำให้ประชากรกระต่ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากอย่างน่าตกใจจนทำให้กระต่ายเหล่านั้นเป็นตัวทำลายพืชผลของเกษตรกรชาวออสเตรเลียไปโดยมิได้ตั้งใจ เมื่อมีเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นนักวิทยาศาสตร์ก็พยายามหาทางกำจัด หรือควบคุมประชากรกระต่ายโดยใช้ไวรัสพวกมิกโซมาโทซิส (myxxomatosis) ซึ่งทำให้เกิดโรคในกระต่ายอย่างรุนแรงจนถึงตายได้ ทำให้การควบคุมประชากรกระต่ายดังกล่าวได้ผลดียิ่ง โดยมีอัตราการตายของกระต่ายสูงถึงเกือบร้อยละ 99 ในระยะเริ่มต้นของการปล่อยเชื้อไวรัสซึ่งยังความปิติให้แก่นักวิชาการและประชาชนทั่วไปที่คิดว่าประสบความสำเร็จ แต่ก็ดีใจไม่ได้นานเพราะพวกกระต่ายที่สามารถพัฒนาภูมิต้านทานต่อสู้กับเชื้อไวรัสและสามารถรอดตายจากโรคร้ายที่เกิดจากไวรัสนั้นได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และยังคงมีกระต่ายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากยุโรปอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับประชากรกระต่ายดังกล่าวสามารถอธิบายได้โดยหลักวิวัฒนาการ คือ มีการคัดเลือกตามธรรมชาติเกิดขึ้นกับพันธุ์กระต่ายที่สามารถทนทานต่อเชื้อไวรัสนั้นได้ ในขณะเดียวกันการคัดเลือกตามธรรมชาติก็เกิดขึ้นกับเชื้อไวรัสมิกโซมาโทซิสโดยการพัฒนาเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ที่มีฤทธิ์รุนแรงต่อกระต่ายตามติดไปด้วย ซึ่งลักษณะพันธุกรรมที่มีฤทธิ์รุนแรงจะถ่ายทอดจากกระต่ายตัวหนึ่งสู่อีกตัวหนึ่งโดยอาศัยยุงเป็นพาหะ ไวรัสพันธุ์ที่ไม่รุนแรงมากนักจนถึงกับทำให้กระต่ายตายก็จะสามารถดำรงพันธุ์ต่อไปได้โดยถูกถ่ายทอดไปสู่กระต่ายตัวอื่นต่อไปโดยอาศัยยุงที่เป็นพาหะที่มากินเลือดกระต่ายตัวที่ป่วยด้วยไวรัสนั้น ในขณะที่ไวรัสพันธุ์รุนแรงมาก ๆ จนถึงกับเป็นอันตรายต่อชีวิตกระต่ายก็มักจะไม่ค่อยถ่ายทอดต่อไปยังกระต่ายตัวอื่น เพราะยุงที่เป็นพาหะนั้นจะดูดกินเลือดจากกระต่ายที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ดังนั้นการคัดเลือกตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับพันธุ์กระต่ายที่ต้านทานเชื้อไวรัสและที่เกิดขึ้นกับพันธุ์ไวรัสชนิดที่ไม่รุนแรงจนถึงกับทำให้กระต่ายตายนั้นส่งผลให้กระต่ายและไวรัสสามารถปรับตัวร่วมกันและวิวัฒนาการร่วมกันมาได้จนถึงสภาวะสมดุลดังที่เป็นอยู่ในประเทศออสเตรเลียขณะนี้ [9]



การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของกระต่าย (Evolutionary adaptation of the Rabbit) แก้

สีขน แก้

การปรับตัวมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในวิวัฒนาการ ทั้งควบคุมในเรื่องของโครงสร้างและพฤติกรรม และบ่อยครั้งที่จะเห็นในรูปแบบของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Heredity) โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆมีการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เพื่อที่จะทำให้ตัวเองอยู่รอดในสิ่งแวดล้อมนั้นๆได้ สำหรับกระต่ายขนสีขาวที่อาศัยอยู่บริเวณขั้วโลกเหนือ (Arctic) โดยสิ่งแวดล้อมที่กระต่ายอาศัยอยู่เป็นลักษณะโพรงไม้ (Wood) จึงทำให้กระต่ายสีขาวถูกล่าได้ง่ายกว่า กระต่ายที่มีขนสีน้ำตาล ลักษณะดังกล่าวจึงสามารถอธิบายถึงการปรับตัวของกระต่ายได้เป็นอย่างดี [10] และสำหรับกระต่ายที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นสีขาว เช่น มีหิมะ (Snowy environment) กระต่ายขนสีขาวจะสามารถอยู่รอดได้มากกว่ากระต่ายขนสีอื่น [11]

ความเป็นอยู่ แก้

การเป็นอยู่ของกระต่ายเริ่มที่จะแยกย้ายไม่อยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ถ้าในกรงของกระต่ายมีการเพิ่มจำนวนขึ้นประมาณ 4-5 ตัว จะเป็นผลให้เกิดการทะเลาะกันเองในกรง ซึ่งอาจะทำให้เพิ่มอัตราการตายมากขึ้น (Szendr ő Z.s and Zotte A.D) ต่ายจึงมักจะแยกย้าย หรืออาศัยเพียงลำพัง โดยไม่อยู่กันเป็นกลุ่มๆ อีกทั้งยังช่วยลดอัตราการถูกล่าจากผู้ล่าได้อีกด้วย [12]

การลดความกลัวจากสิ่งที่ได้รับรู้เมื่อเยาว์วัย แก้

หากกระต่ายได้รับรู้ว่ามีการดูแลตั้งแต่แรกเกิดโดยทดลองให้กระต่ายบ้าน (domestic rabbit) และกระต่ายป่า (wild rabbit)ได้รับการดูแลจากคน ผลคือ กระต่ายบ้านจะเชื่องตามคนที่ดูแลมันตั้งแต่แรกเกิด และสามารถที่จะติดต่อกับคนที่ดูแลได้ แต่ถ้าต้องอยู่กับคนที่ไม่ได้เลี้ยงดูมันตั้งแต่เกิด มันจะแสดงพฤติกรรมที่กลัวต่อคนๆนั้น โดยกระต่ายบ้าน จะมีพฤติกรรมความกลัวลดลงและสามารถยอมรับกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งดูได้วิวัฒนาการของ genetic selection แต่สำหรับกระต่ายป่าจะเชื่องตามคนดูแลโดยจะปราศจาก genetic selection (Bilkó .Á and Altbäcker .V) อย่างไรก็ตามยังมีข้อมูลสนับสนุนไม่เพียงพอว่า กระต่ายสามารถจดจำผู้ดูแลในช่วงแรกเกิดได้อย่างไร [13]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 จาก IUCN
  2. จาก itis.gov
  3. ทรัพยากรชีวภาพ
  4. กระต่าย ๑ น.ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  5. Macdonald, D.W.; Barrett , P. (1993). Mammals of Europe. New Jersey: Princeton University Press. ISBN 0-691-09160-9.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Pets 101 : Pet Guide, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2555
  7. Pets 101 : Pet Guide, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2555
  8. ทรัพยากรชีวภาพ
  9. Best S.M and Kerr P.J , (2000) Coevolution of Host and Virus: The Pathogenesis of Virulent and Attenuated Strains of Myxoma Virus in Resistant and Susceptible European Rabbits. Virology 267, 36-48. doi:10.1006/viro.1999.0104, doihttp://dx.doi.org/10.1006/viro.1999.0104 http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0042682299901046
  10. Yam S.B,. 2011. Evolutionary adaptation of the Rabbit: Build-a-Beast. (online). Available: http://necsi.edu/projects/evolution/activities/build-a-beast/activities_beast.html [2013, Sep, 21].
  11. Petr V,. 1999. Zen Philosophy and Adaptation via Natural Selection. Journal of the National Museum, Natural History Series ,Časopis Národního muzea, Řada přírodovědná, 168 (1-4): 1-3. http://www.mprinstitute.org/vaclav/Zen.htm
  12. Best S.M and Kerr P.J , (2000) Coevolution of Host and Virus: The Pathogenesis of Virulent and Attenuated Strains of Myxoma Virus in Resistant and Susceptible European Rabbits. Virology 267, 36-48. doi:10.1006/viro.1999.0104, doihttp://dx.doi.org/10.1006/viro.1999.0104 http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0042682299901046
  13. Bilkó .Á and Altbäcker .V (1999) Regular handling early in the nursing period eliminates fear responses toward human beings in wild and domestic rabbits. Developmental Psychobiology 36 (1):78–87. DOI: 10.1002/(SICI)1098-2302(200001)36:1<78::AID-DEV8>3.0.CO;2-5 http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/(SICI)1098-2302(200001)36:1%3C78::AID-DEV8%3E3.0.CO;2-5/abstract?systemMessage=Wiley+Online+Library+will+be+unavailable+for+approximately+4+hours+between+09%3A00+EDT+and+14%3A00+EDT+on+Saturday%2C+28+September+2013+as+we+make+upgrades+to+improve+our+services+to+you.+There+will+also+be+some+delays+to+online+publishing+between+25+to+28+September+2013.+We+apologize+for+the+inconvenience+and+appreciate+your+patience.+Thank+you+for+using+Wiley+Online+Library%21
  • Reversing Rabbit Decline 2005 report concerning efforts to recover rabbits in Spain and Portugal, supported by the IUCN Lagomorph and Cat Specialist Groups

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Oryctolagus cuniculus ที่วิกิสปีชีส์