ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

             อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการทางวิชาการแก่สังคม และอดีตผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] นักวิชาการทางด้านทรัพยากรมนุษย์

ประวัติ

              ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของนายสุนทร หงส์ลดารมภ์ [2] อดีต รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กับ ท่านผู้หญิงลำเจียก หงส์ลดารมภ์ (สกุลเดิม:โคบุตร)  มีพี่น้องรวม 6 คน ปัจจุบันสมรสกับคุณหญิงกัญญา หงส์ลดารมภ์
              

การศึกษา

             เข้ารับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ จากนั้นได้รับทุนโคลัมโบไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยวิคตอเรีย ประเทศนิวซีแลนด์ และสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2511 
             จากนั้นได้รับทุนร็อกกี้เฟลเลอร์เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกาและสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2512 และปริญญาโททางนโยบายรัฐ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกาโดยสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2513 หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาโท ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในสมัยที่ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นอธิการบดี  และต่อมาได้รับทุนร๊อคกี้เฟลเลอร์เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกาและสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2521

การทำงาน

             ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2513 และได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งฝ่ายบริหารหลายตำแหน่ง อาทิ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการทางวิชาการแก่สังคม ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [3]และดำรงตำแหน่งต่อเนื่อง 4 สมัย รวม 16 ปี ในระหว่างที่ทำงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ และได้รับยกย่องตำแหน่งศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยนานาชาติชิลเลอร์ (Schiller International University) โดย Dr. Walter Leibrecht ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย
             จากนั้นได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และริเริ่มจัดตั้งหน่วยงานที่ทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ 2 หน่วยงาน คือ 1.มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ โดยดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและทำงานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และ 2. จีระ อะคาเดมี่ (Chira Academy) โดย บริษัท เอเชียแปซิฟิคคอนซัลแตนท์ จำกัด และดำรงตำแหน่งประธานบริษัทต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  
             ปี ค.ศ. 2002 - 2004 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้รับการคัดเลือกจากตัวแทนประเทศสมาชิกเอเปก 21 ประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ของเอเปก (เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้) 
             ปัจจุบัน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นนักวิชาการด้านทรัพยากรมนุษย์ และเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

หนังสือ - สี่อ - บทความ

             ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีผลงานหนังสือ 3 เล่ม ได้แก่ 1. ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ [4][5]2. 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน [6][7]และ 3. พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม [8]: The Ethical Power (เขียนร่วมกับพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี) และได้ผลิตรายการโทรทัศน์ 2 รายการเพื่อเผยแพร่แนวคิดในการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ คือ 1. รายการ “สู่..ประเทศไทย 4.0” และ 2. รายการคิดเป็น.. ก้าวเป็น กับ ดร.จีระ และปัจจุบันยังเป็นคอลัมนิสต์ คอลัมน์ “บทเรียนจากความจริง” ให้กับหนังสือพิมพ์แนวหน้าด้วย 

รางวัล

            รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย (Thailand Top 100 HR) จากสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2550) [9]และรางวัล“บุคคลต้นแบบ..ไม่ทอดทิ้งประชาชน” และได้บันทึกไว้ในวารสารบันทึกธรรมศาสตร์ (พ.ศ.2554) [10]
  1. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C_%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C
  2. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3_%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B9%8C
  3. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C_%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C
  4. https://www.moomnangsue.com/product/17406/%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B9%89-%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C
  5. http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/448199
  6. https://www.ryt9.com/s/prg/1348310
  7. https://www.facebook.com/anand.ngamsaard/media_set?set=a.423837210985061.85613.100000763582978&type=1
  8. https://www.facebook.com/MulnithiSunyBurnAKarPhathnaMnusy/posts/938862019482618
  9. http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/448185
  10. วารสารบันทึกธรรมศาสตร์ (พ.ศ.2554)