ขอบชะนาง
ขอบชะนาง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
วงศ์: Urticaceae

ขอบชะนาง แก้

ขอบชะนาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: 'Pouzolzia pentandra' Benn.)เป็นพืชพวกหญ้าเลื่อยแผ่ไปตามดิน ยอดตั้งขึ้นสูงประมาณ 1-2 ฟุต ลำต้นเท่าธูป มี 2 ชนิด คือ ขอบชะนางแดงและขอบชะนางขาว ใบเดี่ยวออกสลับกันคนละข้าง ข่ามีชื่อสามัญอื่นๆคือ ขอบชะนางแดง ขอบชะนางขาว หนอนตายขาว หนอนตายแดง หญ้าหนอนตาย หญ้ามูกมาย ตาสียาเก้อ ตอสีเพาะเกล

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ แก้

ขอบชะนาง เป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า และเลื้อยแผ่ไปตามดินแต่ยอดจะตั้งขึ้น มี 2 ชนิด คือ ขอบชะนางแดง กับ ขอบชะนางขาว และมีลำต้นขนาดโตกว่าก้านไม่ขีดไฟเล็กน้อย ใบ เป็นใบเดี่ยวจะออกสลับกัน รูปเป็น รูปปลายหอก ในขอบใบชะนางแดง ส่วนรูปใบของขอบใบชะยางขาว จะมีลักษณรูปค่อนข้างมนและกลม เส้นใบของทั้งสองชนิด จะเห็นเด่นชัดเป็น 3 เส้น ใบจะโตประมาณ 2 กระเบียดนิ้ว ยาวประมาณ 1 นิ้วครึ่ง ถึง 1 นิ้วฟุต ส่วนสีและใบของต้นขอบชะนางจะสีม่วงอมแดง เฉพาะแผ่นใบนั้นสีจะเด่นชัดคือ หลังใบจะมีสีเขียวเข้มอมแดง ท้องใบจะเป็นสีแดงคล้ำ และสีของขอบใบชะนางเป็นสีขางอ่อน ๆ รวมทั้งชนิดจะมีขนเล็กน้อยบนต้นและแผ่นใบ ดอก จะมีขนาดเล็ก และจะออกเป็นกระจุกระหว่างซอกใบและกิ่งเป็นดอกตัวผู้กับดอกตัวเมีย ดอกของขอบชะนางแดงมีสีแดงส่วนดอกของขอบชะนางขาวจะเป็นสีเขียวอมเหลือง ผล กลมออกรี ปลายสอบเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีกตามรอยจะงอยถึงส่วนบน แห้งไม่แตกแบบ achene

ขอบชะนางแดง ใบรูปหอกปลายแหลม หน้าใบสีเขียวอมแดง ท้องใบสีแดงคล้ำ ลำต้นสีแดงคล้ำแซมเขียว
                            ขอบชะนางแดง
ขอบชะนางขาว ใบรูปไข่ปลายแหลม สีเขียวอ่อน ลำต้นสีเขียว มีขนตามต้นและใบ
                            ขอบชะนางขาว

สรรพคุณ แก้

ต้น  รสเมาเบื่อร้อน ขับโลหิตระดู ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ แก้โรคหนองใน ขับเลือดลม กระจายโลหิต แก้ริดสิดวงผอมแห้ง ฆ่าหนอน ฆ่าแมลง แก้โรคผิวหนัง
 •ใบ  รสเมาเบื่อร้อน ตำทาแก้กลาก ต้มน้ำอาบหลังคลอด แก้ปวดเมื่อย
 •เปลือกต้น  รสเมาเบื่อร้อน ดับพิษในกระดูก ดับพิษในเส้นเอ็น ฆ่าพยาธิผิวหนัง แก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน 

อ้างอิง แก้

 1. ร่วมอนุรักษ์มรดกไทย สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย วุฒิ วุฒิธรรมเวช ปี พ.ศ.2540
 2. ICT (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://ict.siit.tu.ac.th/kindml/mdproject/MDweb/detail.php?wid=3073 20 กันยายน 2558
 3. นายสวีสอง (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://www.farmkaset.org/contentsNET/default.aspx?content=01671 20 กันยายน 2558