ปลาการ์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียสยุคสุดท้าย-ปัจจุบัน, 65–0Ma [1]
ปลาการ์ไม่ทราบชนิด (Atractosteus sp.) ขนาดใหญ่ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ในเม็กซิโก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Lepisosteiformes
O. P. Hay, 1929
วงศ์: Lepisosteidae
Cuvier, 1825
สกุล

[2]

ชื่อพ้อง[3]
  • Semionotiformes
  • Lepisostoidei
ปลาการ์กระโดดขึ้นเหนือน้ำเพื่องับเหลือบเป็นอาหาร
ฟอสซิลกรามและฟันที่แหลมคมของปลาการ์ชนิด Atractosteus africanus ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

ปลาการ์ หรือ ปลาการ์ไพค์ (อังกฤษ: Gar, Garpike[3]) เป็นปลาน้ำจืดกระดูกแข็งที่มีก้านครีบวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Lepisosteidae (/เล็พ-พิ-โส-สตี-ได-ดี้/) และอยู่ในอันดับ Lepisosteiformes (/เล็พ-พิ-โส-สตี-ได-ฟอร์-เมส/)[4]

ปลาการ์มีรูปร่างคล้ายกับปลากระทุงเหว หรือปลาเข็ม ที่อยู่ในอันดับ Beloniformes คือ มีรูปร่างเรียวยาว มีลักษณะเด่นคือ มีจะงอยปากที่แหลมยาวยื่นออกมาคล้ายเข็มเห็นได้ชัดเจน ซึ่งภาษาอังกฤษเก่าคำว่า "Gar" หมายถึง "หอก" [5] ขณะที่ชื่อสกุลในทางวิทยาศาสตร์คำว่า Lepisosteus มาจากภาษากรีกคำว่า lepis หมายถึง "เกล็ด" หรือหมายถึง "กระดูก" [6] และ Atractosteus ดัดแปลงมาจากภาษากรีกคำว่า atraktos หมายถึง "ธนู" [7]

ทั้งนี้เนื่องจากปลาการ์มีเกล็ดแบบกานอยด์ซึ่งเรียงตัวกันเป็นรูปสามเหลี่ยมแบบเพชร มีความหนาและแข็งแรงห่อหุ้มลำตัวเสมือนเกราะ โดยมีลักษณะเช่นนี้มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว โดยปลาการ์ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายยุคครีเตเชียส โดยพบเป็นซากฟอสซิลตามทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงในภาคอีสานของประเทศไทยด้วย ที่มีการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้[8]

ปลาการ์ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 สกุล เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ในขณะที่บางชนิดอาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือตามชายฝั่งบ้าง พบกระจายพันธุ์ฺเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และแคริบเบียน มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนแท่งดินสอ มีจะงอยปากยื่นแหลมที่ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมอยู่เป็นจำนวนมาก ใช้สำหรับล่าเหยื่อและกินอาหาร มีเส้นข้างลำตัวที่ไวต่อความรู้สึก ใช้เป็นประสาทในการสัมผัสและนำทาง ปลายกระดูกสันหลังข้อสุดท้ายยกเชิดขึ้น และโค้งไปตามขอบบนของหางจนถึงปลายครีบหาง ทำให้มีครีบหางกลมมนเป็นรูปพัด มีรูจมูกอยู่ที่ปลายจะงอยปาก นอกจากนี้แล้วยังมีถุงลมที่ทำหน้าที่เสมือนปอด จึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้ โดยการขึ้นมาฮุบอากาศบนผิวน้ำ[1][9]

ปลาการ์ทั้งหมดวางไข่ในน้ำจืด มีรายงานระบุว่าไข่ของปลาวงศ์นี้มีพิษ โดยพฤติกรรมจะอาศัยรวมฝูงกันอยู่ระดับในผิวน้ำในฤดูร้อน และจะดำดิ่งลงสู่เบื้องล่างในฤดูหนาว อาหารส่วนใหญ่จะมักจะเป็น นกน้ำ เช่น นกเป็ดน้ำ และ ปู ซึ่งง่ายต่อการล่า ในหลายพื้นที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬาและนำชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น เกล็ดมาทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน รวมถึงเนื้อด้วยในบางชนิดรับประทานเป็นอาหาร[4]

มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 10-14 ฟุต ในปลาอัลลิเกเตอร์ ซึ่งมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย และนับเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก มีการเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามหรือแสดงตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมถึงปลาอัลลิเกเตอร์ ซึ่งในหลายพื้นที่ได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย เนื่องจากเป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ส่งผลต่อการสูญพันธุ์ของปลาและสัตว์น้ำพื้นเมืองได้[10] [11]

การจำแนก แก้

วงศ์ Lepisoteidae

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Family Lepisosteidae - Gars". สืบค้นเมื่อ 2007-04-21.
  2. Wiley, E.O. 1976: The phylogeny and biogeography of fossil and recent gars (Actinopterygii: Lepisosteidae). University of Kansas Museum of Natural History Miscellaneous Publications, 64 :1-111. BHL
  3. 3.0 3.1 3.2 จาก itis.gov
  4. 4.0 4.1 Gars หรือปลาปากจระเข้
  5. "Gar". สืบค้นเมื่อ 2007-04-21.
  6. "Genera reference detail". สืบค้นเมื่อ 2007-04-21.
  7. Atractosteus "Genera reference detail". สืบค้นเมื่อ 2007-04-21. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  8. ไทยขุดพบปลานักล่ายุคจูราสสิก-คาดเป็นต้นตระกูลปลาจระเข้ในปัจจุบัน จากมติชน
  9. Sterba, G: Freshwater Fishes of the World, p. 609, Vista Books, 1962
  10. น้ำท่วมแนะระวัง'ปลาปากจระเข้' จากคมชัดลึก
  11. Alligator Gar, "River Monsters". สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556

แหล่งข้อมูลอื่น แก้