เหลือบ
Tabanus sulcifrons[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Diptera
อันดับย่อย: Brachycera
อันดับฐาน: Tabanomorpha
วงศ์ใหญ่: Tabanoidea
วงศ์: Tabanidae
Genera

as listed in ITIS:
Subfamily Chrysopsinae:

Subfamily Pangoniinae:

Subfamily Tabaninae:

Not placed:

เหลือบเป็น แมลงดูดเลือดอันดับDiptera, วงศ์ Tabanidae ที่กัดและสร้างความเจ็บปวดมาก มีลักษณะคล้ายแมลงวันที่มีขนาดใหญ่ บินเสียงดัง และยังเป็นแมลงผสมเกสรที่มีความสำคัญต่อดอกไม้อีกด้วย โดยเฉพาะใน แอฟริกาใต้ เหลือบพบได้ทั่วโลก ไม่พบเฉพาะละติจูดเหนือมากและใต้มาก บางครั้งเรียก gadflies, breeze flies[2], zimbs หรือ clegs. ในออสเตรเลียเรียก "March Flies" บางพื้นที่ในแคนาดาพวกมันถูกเรียกว่า Bull Dog Flies.

เหลือบถูกค้นพบแล้วประมาณ 4,500 ชนิดทั่วโลก มากกว่า 1000 ชนิด อยู่ในสกุล Tabanus แบ่งออกเป็น 3 วงศ์ย่อย:

  • Chrysopsinae
  • Pangoniinae
  • Tabaninae
  • สกุล Zophina ไม่สามารถจัดลงในวงศ์ย่อยอื่น ๆ จึงถูกจำแนกเป็นวงศ์ย่อย Pangoniinae อีก 2 กลุ่มที่รู้จักกันดีคือ เหลือบม้า ใน สกุล Tabanus Linnaeus, 1758 และ เหลือบกวาง ในสกุล Chrysops Meigen, 1802 ซึ่งบางครั้งถูกเรียกว่าเหลือบม้าลายแถบ เนื่องจากลักษณะสีของมัน

อาหาร แก้

ตัวเต็มวัยเหลือบม้ากินน้ำหวานและบางครั้งเกสรดอกไม้ ตัวเมียปกติต้องกินเลือดในการขยายพันธุ์ ตัวผู้ส่วน (กราม) ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ของปากลดรูป เหลือบม้าตัวเมียส่วนมากกินเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม รวมถึงคน แต่บางชนิดกินเลือดนก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ หรือสัตว์เลื้อยคลาน ตัวอ่อน ของเหลือบม้าเป็นตัวห้ำ ของ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อื่น ๆ โดยขุดดินอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น

พฤติกรรมการกัด แก้

 
ส่วนปากของเหลือบ (cf. Haematopota pseudolusitanica)

การกัดจากแมลงที่มีขนาดใหญ่เจ็บมาก เหลือบม้าส่วนใหญ่ทีมีลิ้น (proboscid)สั้น ใช้กรามที่เหมือนมีดฉีกและ/หรือตัด เนื้อออกจากกัน แมลงกัดที่มีลิ้นยาว เช่น ยุง ปากของมันจะเจาะผิวหนังเหมือนเข็ม

การขยายพันธุ์ แก้

วางไข่บนก้อนหิน หรือ พืช ที่ใกล้น้ำ เมื่อฟัก ตัวอ่อนจะตกลงในน้ำหรือดินที่ชื้นๆ กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น หอยทาก ไส้เดือน และ แมลงอื่นเป็นอาหาร

การนำโรค แก้

 
A bite of horse-fly on a human.

เหลือบเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์ และมนุษย์ เหลือบเป็นพาหะนำโรค equine infectious anaemia virus, และ Trypanosome ขนิดในสกุล en:Chrysops เป็นพาหะของ Loa loa, โดยนำ ปรสิต filarial worm มาสู่คน และโรค anthrax สู่วัว ควาย และแกะ และโรค tularemia จากกระต่ายมาสู่คน

เมื่อมีเหลือบเป็นจำนวนมาก การเสียเลือดเป็นปัญหาทั่วไปในสัตว์ สัตว์บางตัวเสียเลือดถึง 300 มล. ในวันเดียวจากเหลือบกัด ซึ่งทำให้มันอ่อนแอหรือตายได้

ข้อมูลเพิ่มเติม แก้

Gallery แก้

อ้างอิง แก้

  1. Cirrus Digital Horse Fly Tabanus sulcifrons
  2. Webster's Revised Unabridged Dictionary (1913), p707

แหล่งข้อมูลอื่น แก้