ประเทศไทยกับสหประชาชาติ

ประวัติศาสตร์การมีส่วนร่วมของไทยในสหประชาชาติ

ประเทศไทยกับสหประชาชาติ ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหประชาชาติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ถือเป็นสมาชิกลำดับที่ 55 ของสหประชาชาติ[1]

ราชอาณาจักรไทย
รัฐสมาชิกสหประชาชาติ
สมาชิกรัฐสมาชิก
ตั้งแต่16 ธันวาคม พ.ศ. 2489; 77 ปีก่อน (2489-12-16)
อดีตชื่อสยาม (2000–2482)
ที่นั่งในคณะมนตรีความมั่นคงสมาชิกไม่ถาวร
ผู้แทนถาวรไทยสุริยา จินดาวงษ์

ประวัติ แก้

ปัญหากรณีพิพาทอินโดจีน แก้

แต่เดิมประเทศไทยได้มีส่วนในประชาคมโลกตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้เป็นสมาชิกแรกเริ่มผู้ร่วมก่อตั้งสันนิบาตชาติ ตามสนธิสัญญาสันติภาพ ต่อมาหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยไม่ได้ร่วมเป็นหนึ่งในรัฐผู้ร่วมก่อตั้งด้วยเนื่องจากเหตุผลและความจำเป็นต่าง ๆ ทั้งที่เป็นผู้ร่วมผลักดันมาตั้งแต่แรก จึงต้องสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่หลักจากก่อตั้งแล้ว[2]

ด้วยเหตุนี้เองทำให้ประเทศไทยได้ยื่นใบสมัครเข้าร่วมต่อคณะมนตรีความมั่นคงเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งในเวลานั้นมีประเทศยื่นคำขอเข้าร่วมพร้อมกันอีก 8 ประเทศคือ อัลเบเนีย มองโกเลีย อัฟฆานิสถาน ทรานสจอร์แดน ไอร์แลนด์ โปรตุเกส ไอซแลนด์ และสวีเดน ซึ่งตามกฎบัตรสหประชาชาติระบุว่า จะต้องได้รับเสียงคะแนนจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติอย่างน้อยจาก 2 ประเทศ จาก 11 ประเทศ ตามข้อ 4 วรรค 2 จึงจำเป็นต้องใช้เสียงสนับสนุนจากมหาอำนาจ 5 ชาติ ได้แก่ สหรัฐ สหราชอาณาจักร สหภาพสาธารณรัฐโซเวียต จีนและฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั้นไทยมีข้อพิพาทจากการได้ดินแดนคืนจากอินโดจีนตามอนุสัญญาสันติภาพกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489[2]

 
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม พูดคุยกับทหารที่กำลังจะเข้าสู่การรบในกรณีพิพาทอินโดจีนเมื่อปี พ.ศ. 2484

ในการประชุมพิจารณาของคณะกรรมาธิการได้ประชุมกันมากถึง 14 ครั้ง ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม ถึงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งไม่มีประเทศใดขัดข้อง เว้นแต่ฝรั่งเศสที่ได้แถลงในการประชุมคณะกรรมาธิการเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ว่าฝรั่งเศสยังถือว่าฝรั่งเศสยังอยู่ในสถานะสงครามกับไทยอยู่ จนกว่าไทยจะคืนดินแดนตามอนุสัญญาสันติภาพกรุงโตเกียวให้กับอินโดจีนจึงไม่สนับสนุนไทย ส่วนผู้แทนสหภาพโซเวียตกล่าวว่าประเทศไทยยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับโซเวียตรัสเซีย จึงยังไม่สามารถสนับสนุนได้[2]

ฝ่ายไทยได้ชี้แจงต่อสหภาพโซเวียตว่า ไทยและโซเวียตได้มีการแลกเปลี่ยนหนังสือเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันมานานแล้ว แต่การส่งทูตไปประจำถูกระงับเนื่องจากเหตุการณ์สงครามในยุโรป แต่ฝ่ายโซเวียตก็ยังติดใจในประเด็นที่รัฐบาลก่อน ๆ เคยเป็นปฏิบักษ์ต่อโซเวียตรัสเซีย ส่วนของฝรั่งเศส ไทยได้ปฏิเสธว่าไม่เคยมีสถานะสงครามกับฝรั่งเศส เนื่องจากยังไม่เคยประกาศสงครามต่อกัน รวมถึงไทยก็ได้ช่วยเหลือฝรั่งเศสมาตลอดระยะเวลาสงครามโลกและหลังจากนั้น ส่วนปัญหาดินแดนกับอินโดจีน ได้มีการหาทางยุติอย่างสันติวิธี ดั่งที่ไทยได้ส่งคณะผู้แทนนำโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร เพื่อไปเจรจากับฝรั่งเศสที่กรุงวอชิงตัน และตอบรับข้อเสนอในการส่งเรื่องไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณาของฝรั่งเศส และเหตุการณ์ความไม่สงบในอินโดจีนฝ่ายไทยก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เกิดจากความไม่สงบภายในเอง พร้อมทั้งกวดขันให้เจ้าหน้าที่ชายแดนระมัดระวังไม่ให้เกิดผลกระทบกับฝ่ายฝรั่งเศส[2]

จากนั้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ฝรั่งเศสได้ถอนข้อเสนอที่จะส่งเรื่องไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากอ้างว่าประเทศไทยมีส่วนในเหตุการณ์ความไม่สงบในเสียมราฐพร้อมระบุว่ามีหลักฐาน และให้ไทยมาตกลงเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศสก่อน มิฉะนั้นจะคัดค้านการเข้าเป็นสมาชิกกับสหประชาชาติของไทย[2]

 
การลงนามในอนุสัญญาสันติภาพโตเกียว ที่ทำให้ไทยได้ดินแดนคืนและฝรั่งเศสไม่พอใจ

ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงขอเลื่อนการพิจารณาออกไป จากรอบการพิจารณาคำขอการเข้าเป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคง ในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2489 เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับอีก 8 ประเทศที่เหลือที่ยื่นสมัครในรอบเดียวกัน โดยคณะมนตรีความมั่นคงใช้เวลาพิจารณา 2 วัน ปรากฎว่า พิจารณารับ อัฟกานิสถาน ไอซ์แลนด์ และสวีเดน ด้วยคะแนนเสียง 10 จาก 11 คะแนน ไอร์แลนด์ ได้คะแนนเสียง 9 คะแนน ค้านโดยสหภาพโซเวียต ทรานสจอร์แดนกับ​โปรตุเกส ได้คะแนนเสียง 8 คะแนน โปแลนด์และโซเวียตรุสเซียคัดค้าน อัลเบเนียและมองโกเลียได้คะแนนเสียงสนับสนุน 5 คะแนน และ 6 คะแนนตามลำดับ[2]

จนกระทั่งวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 การเจรจาระหว่างไทยและฝรั่งเศสประสบผลสำเร็จ โดยผู้แทนทั้งสองประเทศได้ลงนามในความตกลงระงับในกรณีอินโดจีน ฝรั่งเศสจึงเปลี่ยนจากท่าทีขัดขวางเป็นสนับสนุนไทยในการเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติ จึงเหลือแค่เพียงท่าทีของสหภาพโซเวียต ประเทศไทยจึงได้ยื่นขอให้คณะมนตรีความมั่นคงได้พิจารณาคำขอเข้าร่วมของไทยใหม่เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 และไทยได้มอบหมายให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้เสด็จไปยังนิวยอร์กเพื่อพูดคุยกับสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2489 โดยเจรจาพูดคุยหลายวันจนกระทั่งฝ่ายสหภาพโซเวียตยอมถอนข้อขัดข้องในคณะมนตรีความมั่นคง และได้มีการประกาศรับรองประเทศไทยในฐานะของสมาชิกในสหประชาชาติในวันสุดท้ายของสมัยประชุม คือวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2489 โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการลงนาม เนื่องจาก ดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในเวลานั้นเดินทางไปลงนามที่สหรัฐไม่ทันเนื่องจากผลการรับรองออกมากระชั้นชิดมาก[2]

เข้าร่วมสหประชาชาติ แก้

 
สมัยประชุมในปี พ.ศ. 2501 ผู้แทนถาวรของไทยนั่งอยู่ในแถวสุดท้ายติดกับผู้แทนของสวีเดน

ในที่สุด ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 โดยเป็นสมาชิกลำดับที่ 55[1] ซึ่งก่อตั้งหลังการก่อตั้งสหประชาชาติได้เพียง 1 ปี โดย ดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในเวลานั้น ได้ให้เห็นผลในการเข้าร่วมของประเทศไทยไว้[3] ดังนี้

  1. เพื่อความมั่นคงของไทย เนื่องจากสหประชาชาติเป็นองค์การที่มีกำลังมากที่สุดที่สามารถธำรงสันติภาพและความมั่นคง และให้ความยุติธรรมกับประเทศเล็ก ๆ อย่างประเทศไทย
  2. เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ประเทศไทยเป็นชาติเก่าแก่ชาติหนึ่ง เนื่องจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การโลกเป็นการยืนยันและรับรองฐานะของไทยอีกครั้งหนึ่ง
  3. ประเทศไทยคาดหวังความช่วยเหลือจากสหประชาชาติในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
  4. เพื่อแสดงให้โลกได้เห็นว่า ไทยประสงค์ที่จะร่วมมือในการสร้างสันติภาพและความมั่งคงของโลกอย่างจริงจัง

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับยูเนสโก เป็นสมาชิกลำดับที่ 48[4]

ประเทศไทยมีส่วนร่วมในภารกิจต่าง ๆ ของสหประชาชาติอย่างต่อเนื่องนับตังแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งในด้านของสันติภาพและการพัฒนาในด้านของสิทธิมนุษยชน[1] ปัจจุบันประเทศไทยทำงานร่วมกันกับสหประชาชาติผ่านคณะทำงานของสหประชาชาติที่เรียกว่า ทีมงานสหประชาชาติประจำประเทศ (UN Country Team) ซึ่งสำหรับประเทศไทยจะอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือหุ้นส่วนกับสหประชาชาติ (United Nations Partnership Framework: UNPAF) ซึ่งยึดตามระดับรายได้ของประเทศที่ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง และไทยมีกรอบความร่วมมือลักษณะนี้กับสหประชาชาติมาแล้วทั้งสิ้น 3 ฉบับ[1]

หน่วยงานสหประชาชาติที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย แก้

 
อาคารที่ทำการสหประชาชาติประจำประเทศไทย ถนนราชดำเนินนอก

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับสมญาว่า เจนีวาแห่งเอเชีย เนื่องจากเป็นประเทศขนาดกลางที่มีความเป็นกลางในภูมิภาคเอเชีย จึงมีองค์การต่าง ๆ ของสหประชาชาติรวมไปถึงทบวงชำนัญพิเศษและองค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ของสหประชาชาติเข้ามาตั้งสำนักงานอยู่ จึงทำให้สะดวกในการประสานงานและจัดการประชุมขององค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยมีการผลักดันกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองและเอกสิทธิ์ให้กับองค์การระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่และเข้ามาร่วมประชุมในประเทศไทยอีกด้วย[1]

องค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ในกลุ่มอาคารที่ทำการของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในห้าคณะกรรมการส่วนภูมิภาคของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ อยู่ในบริเวณถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[5] และมีหน่วยงานระดับภูมิภาคอื่น ๆ ตั้งกระจายอยู่ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ประกอบไปด้วย

อาคารสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก แก้

สัทพจน์ หน่วยงาน ระดับ ที่ตั้งสำนักงาน
UN องค์การสหประชาชาติ สำนักงานประจำประเทศไทย อาคารสหประชาชาติ ชั้น 12
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[5]
ESCAP คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก สำนักงานใหญ่ อาคารสหประชาชาติ
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ILO องค์การแรงงานระหว่างประเทศ สำนักงานประจำอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก[6] อาคารสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[5][7]
OHCHR สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาคารสหประชาชาติ ชั้น 6
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[8]
UNEP โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาคารสหประชาชาติ ชั้น 2 บล็อก เอ
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[9]
UN HABITAT โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำประเทศไทย[10] อาคารสหประชาชาติ ชั้น 5 บล็อก เอ
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[10]
UN WOMEN องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก[11] อาคารสหประชาชาติ ชั้น 14
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[11]
UNAIDS โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาคารสหประชาชาติ ชั้น 9 บล็อก เอ
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[12]
UNDP โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
  • สำนักงานศูนย์กลางภูมิภาคกรุงเทพฯ[13]
  • สำนักงานประจำประเทศไทย[14]
  • อาคารบริการสหประชาชาติ ชั้น 3[13] ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
  • อาคารสหประชาชาติ ชั้น 12[14] ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
UNFPA กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ
  • สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[15]
  • สำนักงานประจำประเทศไทย[16]
อาคารบริการสหประชาชาติ ชั้น 4
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[15][16]
UNHCR สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำประเทศไทย[17] รับผิดชอบกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม[18]
  • อาคารสหประชาชาติ ชั้น 3 ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[11]
  • สำนักงานภาคสนามแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน[19]
  • สำนักงานภาคสนามแม่สอด จังหวัดตาก[19]
UNDRR สำนักงานว่าด้วยกลยุทธ์ระหว่างประเทศเพื่อการลดภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[20] อาคารสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ชั้น 7
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[21]
UNODC สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[22] อาคารสหประชาชาติ ชั้น 3
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[22]
UNV โครงการอาสาสมัครของสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[23] อาคารบริการสหประชาชาติ ชั้น 1
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[23]

กรุงเทพฯ และปริมณฑล แก้

สำนักงานของหน่วยงานในสังกัดของสหประชาชาติในพื้นที่อื่นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบไปด้วย

สัทพจน์ หน่วยงาน ระดับ ที่ตั้งสำนักงาน
FAO องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เลขที่ 39 ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย[5]
IOM องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[24] อาคารรัจนาการ ชั้น 18 เลขที่ 3 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพมหานคร[5][24]
ITC องค์การศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ ผู้แทนประจำประเทศไทย[25] เลขที่ 54-56 ถนนมงบริยองต์ 1202 เจนีวา สวิสเซอร์แลนด์[5][a]
ITU สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[26] สำนักงาน กสทช. ภาค 1 เลขที่ 111 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
UNESCO ยูเนสโก
  • สำนักงานเพื่อการศึกษาส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[27]
  • สำนักงานผู้แทนกลุ่มประเทศไทย เมียนมา ลาว สิงคโปร์ กัมพูชา และเวียดนาม[27]
อาคาร 100 ปี หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
เลขที่ 920 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร[5]
UNICEF กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[28] เลขที่ 19 ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร[5]
UNIDO องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ สำนักงานภาคสนามประจำประเทศไทย ดูแลครอบคลุมประเทศอิหร่าน กัมพูชา ลาว เมียนมา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน และเวียดนาม[29] อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม ชั้น 5
เลขที่ 57 ถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำภู เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
UNOPS สำนักงานบริการโครงการแห่งสหประชาชาติ
  • สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชีย[30]
  • สำนักงานประจำประเทศไทย[31]
WHO องค์การอนามัยโลก สำนักงานประจำประเทศไทย เลขที่ 88/20 สำนักงานปลัดกระทรวงฯ
อาคาร 3 ชั้น 4 กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ นนทบุรี
หมายเหตุ แก้
  1. เป็นหน่วยงานที่ถูกระบุว่าอยู่ในประเทศไทยโดยเว็บไซต์สหประชาชาติประเทศไทย แต่ไม่มีสำนักงานในทางกายภาพ

กิจกรรม แก้

กองบัญชาการสหประชาชาติ แก้

 
ทหารไทยเข้าร่วมกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลี

ประเทศไทยได้เข้าร่วมการรบในสงครามเกาหลีในนามของกองบัญชาการสหประชาชาติในช่วงปี พ.ศ. 2493–2496 ตามคำเชิญของสหประชาชาติ ในช่วงของนายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม โดยส่งกำลังรบทั้งจากกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ซึ่งการสนับสนุนการรบของไทยเป็นตัวแปรสำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลของหลายสมรภูมิ เช่น เนินพอร์กช็อป[32] และถอนกำลังผลัดสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ตามความเห็นของสภากลาโหมไทย และทางการสหรัฐไม่ขัดข้อง โดยมีการจัดพิธีอำลาในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ณ สนามไนท์ (Knight Field) ในกรุงโซล โดยมีโดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองบัญชาการสหประชาชาติ และผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้เป็นประธาน และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงาน เช่น นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ ผู้แทนประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ผู้แทนชาติพันธมิตรต่าง ๆ พร้อมกับมีการสวนสนาม การยิงสลุต และในวันเดินทางกลับได้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ ผู้แทนรัฐบาลเกาหลีใต้ ผู้แทนกองบัญชาการสหประชาชาติ พร้อมกับประชาชนชาวเกาหลีใต้ร่วมเดินทางมาส่งที่สนามบินคิมโป[33]

ประเทศไทยได้ปฏิบัติการในเกาหลีใต้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 จนถึง 23 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ระยะเวลารวม 16 ปี 7 เดือน 15 วัน[33] ซึ่งไทยส่งกำลังพลเข้าร่วมจำนวน 23 ผลัด จำนวน 11,776[34] - 11,786[35] นาย มีผู้เสียชีวิต 125 นาย บาดเจ็บ 318 นาย ป่วย 503 นาย และสูญหาย 5 นาย[34]

สำนักงานนายทหารติดต่อประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ แก้

 
ทหารไทยประจำกองร้อยทหารเกียรติยศ (เครื่องแบบสีแดง) กองบัญชาการสหประชาชาติ

หลังจากการพักรบของสงครามเกาหลีในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ประเทศไทยได้จัดตั้ง สำนักงานนายทหารติดต่อประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ[36] ขึ้นมา โดยครั้งแรกตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมีหัวหน้านายทหารติดต่อกองบัญชาการสหประชาชาติ ณ กรุงโตเกียว (หน.นตต.บก.สหประชาชาติ ณ กรุงโตเกียว) เป็นผู้บังคับบัญชา

จากนั้นในปี พ.ศ. 2500 กองบัญชาการสหประชาชาติได้ย้ายไปตั้ง ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ และได้ให้ไทยส่งทหารมาปฏิบัติงานในตำแหน่งนายทหารติดต่อที่กรุงโซลอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2504 จากนั้นในปี พ.ศ. 2507 กระทรวงกลาโหมได้มีการปรับอัตราและจัดตั้งตำแหน่งใหม่ โดยให้ผู้ช่วยทูตทหารฝ่ายกองทัพบก ทำหน้าที่เป็นหัวหน้านายทหารติดต่อกองบัญชาการสหประชาชาติ ณ กรุงโซล (หน.นตต.บก.สหประชาชาติ ณ กรุงโซล) และให้นายทหารติดต่อสื่อสารอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาอยู่ภายใต้บังคับบัญชา และได้ยุบตำแหน่งหัวหน้านายทหารติดต่อกองบัญชาการสหประชาชาติ ณ กรุงโตเกียวเมื่อปี พ.ศ. 2514 คงเหลือเพียงตำแหน่งที่กรุงโซล พร้อมทั้งมอบหมายให้ผู้ช่วยทูตทหารไทยประจำโตเกียวทำหน้าที่นายทหารติดต่อกองบัญชาการสหประชาชาติ (ส่วนหลัง) และแก้ไขอัตราอีกครั้งในปี พ.ศ. 2551 โดยให้ผู้ช่วยทูตทหารฝ่ายกองทัพอากาศทำหน้าที่เป็นนายทหารติดต่อกองบัญชาการสหประชาชาติอีกตำแหน่งหนึ่ง

กองร้อยทหารเกียรติยศ แก้

 
ทหารไทยในการรักษาสันติภาพที่ติมอร์-เลสเต

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหมู่เกียรติยศสบทบ กองรร้อยทหารเกียรติยศ ประจำกองบัญชาการสหประชาชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 จนถึงปัจจุบัน โดยสมาชิกในกองร้อยทหารเกียรติยศเดิมประกอบด้วยกำลังจากทั้ง 16 ชาติที่เข้าร่วมรบสงครามเกาหลี ต่อมาเมื่อมีการถอนกำลังออกไปในปี พ.ศ. 2503 จึงเหลือกำลังอยู่เพียง 5 ชาติ คือ สหรัฐ สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ ไทย และตุรกี โดยตรุกีได้ถอนกำลังออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2513 และประเทศฟิลิปปินส์ได้จัดกำลังเข้ามาแทนที่ และสหราชอาณาจักรได้ถอนกำลังออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2536 เพื่อไปประจำการในฮ่องกง กองพลทหารราบที่ 2 ของสหรัฐจึงจัดกำลังเข้าทดแทน[33]

ปัจจุบันกองร้อยทหารเกียรติยศ กองบัญชาการสหประชาชาติประกอบไปด้วยกำลังพลจาก สหรัฐ เกาหลีใต้ ไทย และฟิลิปปินส์[37] โดยประเทศไทยจัดทหาร 1 หมู่เกียรติยศ จำนวน 6 นาย ประจำการอยู่ที่สำนักงานนายทหารติดต่อประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ[38]

การรักษาสันติภาพ แก้

 
กองร้อยหทารช่างไทยในซูดานใต้ (UNMISS)

ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมกับสหประชาชาติในส่วนของการรักษาสันติภาพมาโดยตลอดทั้งในภูมิภาคและต่างภูมิภาค โดยได้มีการจัดตั้ง กองปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2543 มีหน้าที่หลักในการจัดส่งกำลังพลเข้าร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพและปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมภายนอกประเทศ และทำหน้าที่เป็นกองบัญชาการส่วนหลังสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยที่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในต่างประเทศ จากนั้นด้วยสถานการณ์โลกที่มีความขัดแย้งเกิดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความต้องการกองกำลังรักษาสันติภาพมีเพิ่มมากขึ้น จึงมีการปรับโครงสร้างหน่วยงาน ยกขึ้นเป็น ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 อยู่ภายใต้สังกัดกรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย[39]

สำหรับปฏิบัติการรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติที่ประเทศไทยเข้าร่วม มีทั้งการส่งเจ้าหน้าที่พลเรือน เจ้าหน้าที่หทารและตำรวจเข้าร่วมปฏิบัติการ ประกอบไปด้วย

ปี (คณะผู้แทน) ประเทศ ความขัดแย้ง/กิจกรรม คณะผู้แทน บุคลากรที่เข้าร่วม หมายเหตุ
2501   เลบานอน วิกฤตเลบานอน พ.ศ. 2501 คณะผู้แทนสังเกตการณ์ของสหประชาชาติในเลบานอน (UNOGIL) นายทหาร มิถุนายน - ธันวาคม 2501[40]
2532–2533   นามิเบีย สงครามประกาศอิสรภาพนามิเบีย คณะช่วยเหลือการเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติ (UNTAG) เจ้าหน้าที่ตำรวจ สังเกตการณ์เลือกตั้งในปี 2533[40]
2534–2546   อิรัก สงครามอ่าว คณะผู้แทนสังเกตการณ์ของสหประชาชาติประจำชายแดนอิรัก–คูเวต (UNIKOM) นายทหาร 91 นาย นายทหาร ปีละ 7 นาย[40]
  คูเวต
2534–2546   อิรัก สงครามอ่าว กองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งสหประชาชาติในอิรัก (UNGCI) นายทหาร 100 นาย นายทหาร 2 ผลัด ผลัดละ 50 นาย[40] คุ้มกัน จนท. ในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ตามมติ   สหประชาชาติ ที่ 706/1991 และ 712/1991
2534–2535   กัมพูชา ความขัดแย้งในกัมพูชา คณะผู้แทนล่วงหน้าของสหประชาชาติในกัมพูชา (UNAMIC) กองพันทหารช่างเฉพาะกิจ 705 นาย [40]
2535–2536   กัมพูชา ความขัดแย้งในกัมพูชา องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา (UNTAC) เจ้าหน้าที่พลเรือน สังเกตการณ์เลือกตั้งในปี 2533[40]
2535–2537   แอฟริกาใต้ การเลือกตั้งในแอฟริกาใต้ พ.ศ. 2537 คณะผู้แทนสังเกตการณ์ของสหประชาชาติในแอฟริกาใต้ (UNOMSA) เจ้าหน้าที่ตำรวจ สังเกตการณ์เลือกตั้งในปี 2537[40]
2538–2545   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา สงครามบอสเนีย คณะผู้แทนสหประชาชาติในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (UNMIBH) เจ้าหน้าที่ตำรวจ 30 นาย เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปีละ 5 นาย[40]
2542–2548   เซียร์ราลีโอน สงครามกลางเมืองเซียร์ราลีโอน คณะผู้แทนสหประชาชาติในเซียร์ราลีโอน (UNAMSIL) นายทหาร ประมาณ 30 นาย นายทหาร 6 ผลัด ผลัดละ 3-5 นาย[40]
2544   ฟีจี การเลือกตั้งในฟีจี พ.ศ. 2554 คณะผู้แทนสังเกตการณ์เลือกตั้งในฟีจี (UNFEOM) เจ้าหน้าที่พลเรือน สังเกตการณ์เลือกตั้งในปี 2544[40]
2542   ติมอร์-เลสเต การรุกรานติมอร์ตะวันออกโดยอินโดนีเซีย คณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNAMET) เจ้าหน้าที่ตำรวจ 7 นาย นายทหารสื่อสาร 2 นาย [40]
  อินโดนีเซีย
2542−2543   ติมอร์-เลสเต การรุกรานติมอร์ตะวันออกโดยอินโดนีเซีย กองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก (INTERFET) นายทหาร 1,581 นาย[40] ไม่ใช่ของสหประชาชาติ จัดตั้งและนำโดย   ออสเตรเลียตามมติของ   สหประชาชาติ
2542−2545   ติมอร์-เลสเต การรุกรานติมอร์ตะวันออกโดยอินโดนีเซีย องค์การบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNTAET) นายทหาร 925 นาย ช่วงปี 2543-2545[40]
  อินโดนีเซีย
2545–2548   ติมอร์-เลสเต การรุกรานติมอร์ตะวันออกโดยอินโดนีเซีย คณะผู้แทนสนับสนุนติมอร์ตะวันออกของสหประชาชาติ (UNMISET) นายทหาร 9 ผลัด ช่วงปี 2545-2547[40]
2549–2012   ติมอร์-เลสเต วิกฤตติมอร์ตะวันออก พ.ศ. 2549 คณะผู้แทนบูรณาการของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNMIT) เจ้าหน้าที่ตำรวจ 40 นาย [40]
2547–2549   บุรุนดี สงครามกลางเมืองบุรุนดี ปฏิบัติการสหประชาชาติในบุรุนดี (ONUB) นายทหาร 9 นาย กองร้อยทหารช่างรวม 525 นาย[41] นายตำรวจ ปีละ 3 นาย กองร้อยทหารช่างผลัดละ 177 นาย[40]
2550–2553   เนปาล คณะผู้แทนสหประชาชาติในเนปาล (UNMIN) นายทหาร 7 นาย[40] คณะผู้แทนพิเศษทางการเมือง ช่วงปี 2550-2551
2548–2554   ซูดาน สงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่สอง คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดาน (UNMIS) นายทหาร นายทหารสังเกตการณ์ ผลัดละ 10-15 นาย[40]
2546–2561   ไลบีเรีย สงครามกลางเมืองไลบีเรียครั้งที่สอง คณะผู้แทนสหประชาชาติในไลบีเรีย (UNMIL)
2547–2560   เฮติ รัฐประหารในประเทศเฮติ พ.ศ. 2547 คณะผู้แทนสร้างเสถียรภาพของสหประชาชาติในเฮติ (MINUSTAH) เจ้าหน้าที่ตำรวจ 19 นาย[40]
2550–2563   ดาร์ฟูร์ สงครามดาร์ฟูร์ ปฏิบัติการผสมระหว่างสหภาพแอฟริกาและสหประชาชาติในดาร์ฟูร์ (UNAMID) นายทหาร และทหารราบ 1 กองพัน (812 นาย) นายทหาร ผลัดละ 15 นาย[40] และกองกำลังเฉพาะกิจ 980 ไทย/ดาร์ฟู
2492–ปัจจุบัน   อินเดีย กรณีพิพาทกัศมีร์ คณะผู้แทนสังเกตการณ์ทางทหารของสหประชาชาติในอินเดียและปากีสถาน (UNMOGIP) นายทหาร มีการส่งกำลังพลสลับเปลี่ยนกันไปประจำการทุกปี ผลัดละประมาณ 5 นาย
  ปากีสถาน
2554–ปัจจุบัน   ซูดานใต้ สงครามกลางเมืองซูดานใต้ คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ (UNMISS) ทหารช่าง 1,092 นาย กองร้อยทหารช่าง ผลัดละ 273 นาย[42][43] ปัจจุบันคือผลัดที่ 4[44]

บทบาทของคนไทยในสหประชาชาติ แก้

บทบาทของคนไทยที่ได้เข้าร่วมในตำแหน่งต่าง ๆ ที่สำคัญของสหประชาชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประกอบไปด้วย[1]

ชื่อ-สกุล ปี (พ.ศ.) บทบาท
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ 2499 ประธานสมัชชาสหประชาชาติ สมัยประชุมที่ 11
2501 ประธานการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล (UNCLOS) ครั้งที่ 1
ถนัด คอมันตร์ 2500 ประธานคณะกรรมการภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติ
สิทธิ เศวตศิลา 2528 ประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ วาระเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2528 ร่วมกันระหว่างสิทธิ เศวตศิลากับหม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี
หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี
2529 ประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ วาระเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2529
อานันท์ ปันยารชุน 2546 ประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงด้านภัยคุกคาม ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง (High Level Panel on Threats, Challenges and Change) วาระปี พ.ศ. 2546
ศุภชัย พานิชภักดิ์ 2548–2552 เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) วาระปี พ.ศ. 2548–2552
2553–2557 เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) วาระปี พ.ศ. 2553–2557
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา 2554–2555 ประธานคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรม และความยุติธรรมทางอาญา สมัยที่ 21 (CCPCJ)  ธันวาคม พ.ศ. 2554 - ธันวาคม พ.ศ. 2555
สรรพสิทธิ์ คุ้มประพันธ์ 2552–2555 สมาชิกคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ (CRC) วาระปี พ.ศ. 2552–2555
สำลี เปลี่ยนบางช้าง 2547–2552 ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO/SEARO) วาระปี พ.ศ. 2547–2552
2552–2557 ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO/SEARO) วาระปี พ.ศ. 2552–2557
วิทิต มันตาภรณ์ 2547–2553 ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (United Nations Special Rapporteur on the Situation of Human Rights in the Democratic People's Republic of Korea) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ปี พ.ศ. 2547–2553
2548–2550 ประธานคณะกรรมการประสานงานด้านกระบวนการพิเศษแห่งสหประชาชาติ (Chairperson of the Coordinating Committee of the United Nations Special Procedures) ของสหประชาชาติ ปี พ.ศ. 2548–2550
2554 ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (Chair of the International Commission of Inquiry on the Ivory Coast) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2554
2554–2558 กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาของกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งมนุษย์ (Member of the Advisory Board on Human Security) ของกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (United Nations Trust Fund for Human Security) พ.ศ. 2554–2558
2555–2559 กรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศซีเรีย (Commissioner on the Independent International Commission of Inquiry on Syria) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2555–2559
2564 ผู้เสนอรายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศกัมพูชา (United Nations Special Rapporteur on the Situation of Human Rights in Cambodia) เริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564
สีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว 2554–2555 ประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council - HRC) วาระปี พ.ศ. 2554–2555
โสมสุดา ลียะวนิช 2552–2556 สมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก (WHC) วาระปี พ.ศ. 2552–2556
วิโรจน์ สุ่มใหญ่ 2553–2558 สมาชิกคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (INCB) วาระปี พ.ศ. 2553–2558
2558–2563 ประธานและสมาชิกคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (INCB) วาระปี พ.ศ. 2558–2563
เกรียงศักดิ์ กิตติชัยเสรี 2556–2559 สมาชิกคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (ILC) วาระปี พ.ศ. 2556–2559
2560–2568 ผู้พิพากษาศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ (ITLOS) วาระปี พ.ศ. 2560–2568
วิลาวรรณ มังคละธนะกุล 2566–2570 สมาชิกคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (ILC) วาระปี พ.ศ. 2566–2570
มณเฑียร บุญตัน 2556–2559 สมาชิกคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการ (CRPD) วาระปี พ.ศ. 2556–2559
2560–2563 สมาชิกคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการ (CRPD) วาระปี พ.ศ. 2560–2563
เสาวลักษณ์ ทองก๊วย 2564–2567 สมาชิกคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการ (CRPD) วาระปี พ.ศ. 2564–2567

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "ไทยกับสหประชาติ - กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ Department of International Organizations Ministry of Foreign Affairs". กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ Department of International Organizations Ministry of Foreign Affairs (ภาษาอังกฤษ).
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Laika (2022-12-29). "บทที่ ๗ ไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖)". vajirayana.org.
  3. "16 ธันวาคม 2489 - ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ". THE STANDARD. 2021-12-16.
  4. "ไทยกับยูเนสโก - กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ Department of International Organizations Ministry of Foreign Affairs". กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ Department of International Organizations Ministry of Foreign Affairs (ภาษาอังกฤษ).
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 "ติดต่อเรา | สหประชาชาติใน ประเทศไทย". thailand.un.org.
  6. องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ทศวรรษแห่งการสร้างงานที่มีคุณค่าในเอเชีย (PDF). องค์การแรงงานระหว่างประเทศ.
  7. Asia, ILO Regional Office for; Building, the Pacific United Nations. "ILO in Asia and the Pacific (ILO in Asia and the Pacific)". www.ilo.org (ภาษาอังกฤษ).
  8. "Contact Us". OHCHR (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-11-18.
  9. "Asia and the Pacific". UNEP - UN Environment Programme (ภาษาอังกฤษ).
  10. 10.0 10.1 "Urbanization in Thailand: Building inclusive & sustainable cities". unhabitat.org.
  11. 11.0 11.1 11.2 "Contact Us". UN Women – Asia-Pacific (ภาษาอังกฤษ).
  12. "HIV/AIDS Data Hub for the Asia Pacific". HIV/AIDS Data Hub for the Asia Pacific (ภาษาอังกฤษ).
  13. 13.0 13.1 "Contact us | United Nations Development Programme". UNDP (ภาษาอังกฤษ).
  14. 14.0 14.1 "Contact Us | United Nations Development Programme". UNDP (ภาษาอังกฤษ).
  15. 15.0 15.1 "UNFPA Asiapacific | Contact". asiapacific.unfpa.org.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. 16.0 16.1 "UNFPA Thailand | Contact". thailand.unfpa.org.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "ติดต่อเรา – UNHCR Thailand". www.unhcr.org.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "Thailand | UNHCR Asia Pacific". www.unhcr.org.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. 19.0 19.1 "UNHCR ในประเทศไทย – UNHCR Thailand". www.unhcr.org.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. "UNDRR Regional Office for Asia and the Pacific (ROAP)". www.undrr.org (ภาษาอังกฤษ). 2023-09-01.
  21. "Contact us | UNDRR". www.undrr.org (ภาษาอังกฤษ). 2019-12-11.
  22. 22.0 22.1 "Contact Us - Regional Office for Southeast Asia and the Pacific". United Nations : UNODC Regional Office for Southeast Asia and the Pacific (ภาษาอังกฤษ).
  23. 23.0 23.1 "Contact UNV". www.unv.org (ภาษาอังกฤษ). 2023-09-09.
  24. 24.0 24.1 "Asia and the Pacific". International Organization for Migration (ภาษาอังกฤษ).
  25. "Thailand | ITC". intracen.org (ภาษาอังกฤษ). 2012-01-30.
  26. "พิธีเปิดสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU)". www.nbtc.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  27. 27.0 27.1 "ยูเนสโกเป็นใคร? ภารกิจของเราในเอเซียและแปซิฟิค - UNESCO Digital Library". unesdoc.unesco.org.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  28. "Contact us | UNICEF East Asia and Pacific". www.unicef.org (ภาษาอังกฤษ).
  29. "Thailand | UNIDO". www.unido.org (ภาษาอังกฤษ).
  30. 30.0 30.1 "Asia". UNOPS (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  31. 31.0 31.1 "Thailand". UNOPS (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  32. ""กองพันพยัคฆ์น้อย" ทูตสันติภาพไทยในสงครามเกาหลี". สยามรัฐ. 2022-01-17.
  33. 33.0 33.1 33.2 "Korean War". www.thaiheritage.net.
  34. 34.0 34.1 "สงครามเกาหลี - องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก". องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  35. รายงานกลุ่มการศึกษาดูงานในต่างประเทศ (Group Report) เรื่อง การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของสาธารณรัฐเกาหลี จัดทำโดย นบท. รุ่นที่ 10 (PDF). สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ. p. 24.
  36. หยู (2023-04-22). "โปรดเกล้าฯ ให้ประดับเหรียญตราต่างประเทศ 'โคเรีย เซอร์วิส เมดัล' 9 ราย".
  37. "United Nations Command > Organization > UNC Honor Guard". www.unc.mil.
  38. "พล.อ.ประยุทธ์ วางพวงมาลาอนุสรณ์สงครามเกาหลีที่ปูซาน | ประชาไท Prachatai.com". prachatai.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  39. "ประเทศไทยกับการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ". j3.rtarf.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-20. สืบค้นเมื่อ 2023-11-10.
  40. 40.00 40.01 40.02 40.03 40.04 40.05 40.06 40.07 40.08 40.09 40.10 40.11 40.12 40.13 40.14 40.15 40.16 40.17 40.18 40.19 ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติ (PDF). ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองทัพภาคที่ 3 กองทัพบก.
  41. "ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบุรุนดี". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี (ภาษาอังกฤษ).
  42. "ไทยส่งทหาร 273 นาย ร่วมภารกิจสันติภาพกับยูเอ็นในซูดานใต้นาน 1 ปี". mgronline.com. 2018-12-20.
  43. "ทบ.เดินหน้าภารกิจรักษาสันติภาพในเซาท์ซูดาน". Thai PBS.
  44. "ผบ.ทสส.ส่งกำลังพลไปเซาท์ซูดาน ปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ". pptvhd36.com. 2023-06-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)