วิทิต มันตาภรณ์

ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ KBE (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 – ปัจจุบัน) เป็นนักกฎหมายชาวไทย ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน ศาสตราจารย์กิตติคุณคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นคนที่สองในประวัติศาสตร์ไทยที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันวิเศษยิ่งแห่งจักรวรรดิอังกฤษ[1]


วิทิต มันตาภรณ์

เกิด22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 (71 ปี)
ประเทศไทย
การศึกษามหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, Free University of Brussels
อาชีพอาจารย์ นักกฎหมาย

ประวัติ แก้

ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตเกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 เป็นบุตรคนกลางในบรรดาบุตรธิดา 3 คนของนิรมล โทณวณิก และศาสตราจารย์นายแพทย์ สมาน มันตาภรณ์ บิดาแห่งศัลยกรรมทรวงอกของประเทศไทย

การศึกษา แก้

ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตเริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาที่วชิราวุธวิทยาลัยจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วย้ายไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียน Akeley Wood และมัธยมศึกษาจาก Malvern College โดยเลือกสอบในวิชาภาษาฝรั่งเศส ละติน และประวัติศาสตร์[2] จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านกฎหมาย Bachelor of Arts (B.A. in Law) (Hons.) พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974); ปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ Bachelor of Civil Law (B.C.L) พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และปริญญาโท (M.A.) (Oxon) พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร ได้รับทุนการศึกษาไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายยุโรป (Licence Speciale en droit europeen) ที่ Université Libre de Bruxelles (Free University of Brussels) ประเทศเบลเยียม ในพ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978)[3] นอกจากนั้นยังสำเร็จการศึกษาเทียบเท่าเนติบัณฑิต (Barrister-at-Law) ที่สำนักมิดเดิ้ลเทมเปิ้ล (The Middle Temple) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในพ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) อีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2529 – 2530 (ค.ศ. 1986 – 1987) เป็นผู้ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations University Fellow) ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร[4]

การทำงาน แก้

ด้านการสอน ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตเป็นอาจารย์และผู้บรรยายในสถาบันการศึกษาหลายแห่งทั้งในและนอกประเทศ อาทิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเรดดิง (Reading University) สหราชอาณาจักร Canadian Human Rights Foundation ประเทศแคนาดา และมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ประเทศเกาหลีใต้ (2016 Winter Course on Human Rights and Asia)[5]

ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตเริ่มเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่พ.ศ. 2521 ซึ่งสอนรายวิชากฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กฎหมายผู้ลี้ภัย กฎหมายสิทธิเด็ก กฎหมายสหภาพยุโรป และสัมมนากฎหมายระหว่างประเทศ โดยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 11 ก่อนเกษียณอายุราชการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติคุณ (Professor Emeritus) คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[6] เป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชากฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยผู้ลี้ภัยและการย้ายถิ่น และสัมมนากฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นศาสตราภิชาน (Distinguished Scholar) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในด้านการทำงานภายใต้กรอบกิจกรรมขององค์การสหประชาชาติ ปัจจุบันศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตได้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

  • กรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศซีเรีย (Commissioner on the Independent International Commission of inquiry on Syria) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: HRC) ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)[7]
  • กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาของกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งมนุษย์ (Member of the Advisory Board on Human Security) ของกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (United Nations Trust Fund for Human Security: UNTFHS) ตั้งแต่พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)[8]
  • กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาคณะผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญด้านความคุ้มกันระหว่างประเทศ (Member of the Advisory Group of Eminent Persons on International Protection) ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office of High Commissioner for Human Rights: UNHCR) ตั้งแต่พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) และ
  • กรรมการในคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยการปฏิบัติตามอนุสัญญาและข้อแนะ (Member of the Committee of Experts on the Application of Conventions and Recommendations: CEAR) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ตั้งแต่พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009)[9]

ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการป้องกันความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศวิถีหรืออัตลักษณ์ทางเพศ (Independent Expert on the Protection against Violence and Discrimination based on Sexual Orientation and Gender Identity: SOGI) โดยประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council) ซึ่งจะต้องได้รับการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบจากรัฐสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ในวันที่ 30 กันยายน 2559 ในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 33[10]

ในอดีต ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ดังนี้

ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ชำนาญการหรือที่ปรึกษาประจำสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR), สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR), สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP), องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO), กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF), องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO), องค์การอนามัยโลก (WHO) และมหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (United Nations University: UNU)

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกฝ่ายไทย ในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก โดยมีกำหนด 6 ปี นับตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป[11]

ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตมีประสบการณ์การทำงานกับองค์การนอกภาครัฐในด้านสิทธิมนุษยชนอย่างหลากหลาย โดยได้ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (The International Commission of Jurists: ICJ)[12]; ประธานร่วมของสภาที่ปรึกษานักนิติศาสตร์ (Co-Chairperson of the Advisory Council of Jurists) ในเวทีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของเอเชียแปซิฟิก (The Asia Pacific Forum of National Human Rights Institutions: APF)[13]; ประธานร่วมคณะทำงานเพื่อกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน (Co-Chairperson of the Working Group for an ASEAN Human Rights Mechanism)[14]; กับสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies)[15]; ที่ปรึกษาด้านกฎหมายคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of Red Cross) และอาสาสมัครในการอบรมด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่หน่วยงานของรัฐและองค์กรอิสระ

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตเคยดำรงตำแหน่งประธานร่วมในการวางกรอบหลักการยอกยาการ์ตา (Yogyakarta Principles on the Application of International Human Rights Law in relation to Sexual Orientation and Gender Identity) ซึ่งเป็นการประยุกต์กฎหมายสิทธิมนุษยชนมาใช้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ ที่มหาวิทยาลัย Gadjah Mada เมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 6 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)[16]

งานเขียน แก้

  • The Core Human Rights Treaties and Thailand (2016) [กำลังจะตีพิมพ์], สำนักพิมพ์ Brill Nijhoff (ISBN 9789004326668)
  • Unity in Connectivity?: Evolving Human Rights Mechanisms in the Asean Region (Nijhoff Law Specials) (2013), สำนักพิมพ์ Martinus Nijhoff
  • ACJ Report on Human Rights, Sexual Orientation and Gender Identity (2010), สภาที่ปรึกษานักนิติศาสตร์ของเวทีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของเอเชียแปซิฟิก (Advisory Council of Jurists of the Asia Pacific Forum of National Human Rights Institutions)
  • A Commentary on the United Nations Convention on the Rights of the Child, Article 34: Sexual Exploitation and Sexual Abuse of Children (2007), สำนักพิมพ์ Martinus Nijhoff
  • "Human Rights Monitoring in the Asia Pacific Region" ในหนังสือ International Human Rights Monitoring Mechanisms: Essays in Honour of Jakob Th. Möller (2001), สำนักพิมพ์ Martinus Nijhoff (กองบรรณาธิการ: Gudmundur Alfredsson, Jonas Grimheden, Bertrand G. Ramcharan)
  • Mass Media Laws and Regulations in Thailand (1998), สำนักพิมพ์ Asian Media Information and Communication Centre
  • Extraterritorial Criminal Laws Against Child Sexual Exploitation (1998), สำนักพิมพ์ UNICEF
  • Roads to Democracy: Human Rights and Democratic Development in Thailand (1994), สำนักพิมพ์ International Centre for Human Rights and Democratic Development (เขียนร่วมกับ Charles Taylor)
  • The Status of Refugees in Asia (1992), สำนักพิมพ์ Oxford University Press

รางวัลและเกียรติยศ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. matichon (2019-07-19). "คนที่ 2!! 'วิทิต มันตาภรณ์' อาจารย์จุฬาฯ รับบรรดาศักดิ์ 'ท่านเซอร์' เหตุอุทิศให้งานสิทธิมนุษยชน". มติชนออนไลน์.
  2. นิตยสาร IMAGE. คอลัมน์ Perspective "วิทิต มันตาภรณ์: Giving Voice to the Unheard." Vol. 26, No. 09, กันยายน 2556. หน้า 77.
  3. เดอะเนชั่น. "Dr. Vithit Muntarbhorn, UNESCO Prize Winner for Human Rights Education" เก็บถาวร 2012-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2555. [ออนไลน์]. สืบค้น 13 สิงหาคม 2555.
  4. "Vitit Muntarbhorn". United Nations Trust Fund for Human Security. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2014.
  5. Seoul National University. 2016 Winter Course on Human Rights and Asia, 2016. [ออนไลน์].
  6. หนังสือสูจิบัตรพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557. "ผู้ได้รับพระราชทานกิตติบัตรศาสตราจารย์กิตติคุณ." หน้า 25. [ออนไลน์]. สืบค้น 4 กันยายน 2559.
  7. Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights (OHCHR), "Biography of Vitit Muntarbhorn." เก็บถาวร 2013-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ออนไลน์]. สืบค้น 24 มีนาคม 2556.
  8. United Nations Trust Fund for Human Security. "Advisory Board on Human Security." [ออนไลน์]. สืบค้น 5 กันยายน 2559.
  9. International Labour Organization. "Members of the Committee of Experts on the Application of Conventions and Recommendations (2012)." [ออนไลน์]. สืบค้น 2 มีนาคม 2555.
  10. Outright Action International. "UNHRC President Announces Vitit Muntarbhorn as Proposed Candidate for SOGI Independent Expert Position." [ออนไลน์]. สืบค้น 4 กันยายน 2559.
  11. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 190 ง (8 สิงหาคม 2561)
  12. International Commission of Jurists. "Commissioners from Asia-Pacific." [ออนไลน์].
  13. Asia Pacific Forum of National Human Rights Institutions "ACJ Members" เก็บถาวร 2016-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ออนไลน์].
  14. Working Group for an ASEAN Human Rights Body. "Working Group for an ASEAN Human Rights Mechanism." เก็บถาวร 2013-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ออนไลน์].
  15. ดูที่ 6 เก็บถาวร 2013-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  16. International Commission of Jurists and International Service for Human Rights. Press Release เก็บถาวร 2008-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2007. [ออนไลน์].
  17. พิธีประกาศเกียรติคุณศาสตราภิชาน ศาสตราจารย์ รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอนและกิจการนิสิต รางวัลการวิจัยและรางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2557 เก็บถาวร 2017-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันอังคารที่ 24 มีนาคม 2558 ณ อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  18. ส่วนส่งเสริมและพัฒนาวิจัย สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, "อาจารย์จุฬาฯ ได้รับรางวัล “ผู้อุทิศตนเพื่อสิทธิมนุษยชน”", 2552
  19. คณะทำงานด้านเด็ก
  20. UNESCO, "Vitit Muntarbhorn from Thailand wins 2004 UNESCO prize for Human Rights Education", 2547.
  21. ประกาศเกียรติคุณ บุคคลและหน่วยงานดีเด่น. Vol. 15. กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. 2546. ISBN 978-974-9545-79-9.
  22. กิจการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  23. สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  24. "สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-05-16. สืบค้นเมื่อ 2013-03-24.
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  26. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  27. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  28. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๔๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑, ๑๑ เมษายน ๒๕๔๖
  29. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2017-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๒๗, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘
  30. ศ.กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ คนไทยคนที่สองที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงจากอังกฤษ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (19 กรกฎาคม 2562)
  31. "Honorary British Awards to Foreign Nationals – 2018".

แหล่งข้อมูลอื่น แก้