บุญชัย บำรุงพงศ์

พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 – 12 กันยายน พ.ศ. 2538) เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารบก ลำดับที่ 20 ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 - 30 กันยายน พ.ศ. 2519 เป็นบุตรนายยัง และนางแพ บำรุงพงศ์ สมรสกับคุณหญิงจรัสลักษณ์ บำรุงพงศ์ พื้นเพครอบครัวมาจากชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมาได้ย้ายภูมิลำเนามาอาศัยที่กรุงเทพมหานคร บุญชัยสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบพิตรพิมุข และโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2477 และเข้ารับราชการครั้งแรกที่กองพันทหารม้าที่ 4 จังหวัดจันทบุรี

บุญชัย บำรุงพงศ์
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
8 ตุลาคม 2519 – 19 ตุลาคม 2520
นายกรัฐมนตรีธานินทร์ กรัยวิเชียร
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน 2520 – 12 พฤษภาคม 2522
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2518 – 30 กันยายน 2519
ก่อนหน้าพลเอก กฤษณ์ สีวะรา
ถัดไปพลเอก เสริม ณ นคร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เสียชีวิต12 กันยายน พ.ศ. 2538 (79 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงจรัสลักษณ์ บำรุงพงศ์
บุตรพลโท อิสระชัย บำรุงพงศ์

ชีวิตครอบครัว แก้

พล.อ. บุญชัย บำรุงพงศ์ สมรสกับ คุณหญิงจรัสลักษณ์ บำรุงพงศ์มีบุตร 1 คน คือ

  1. นางดวงกมล นวลแข
  2. นางสาวอาริษา บำรุงพงศ์
  3. นายสืบพงศ์ บำรุงพงศ์

ตำแหน่งหน้าที่การงาน แก้

ราชการทหาร แก้

  • พ.ศ. 2480 นักเรียนทำการนายร้อย ตำแหน่งผู้บังคับหมวดประจำกองพันทหารม้าที่ 4 จังหวัดจันทบุรี
  • พ.ศ. 2484 สำรองราชการกองบังคับการแผนกทหารม้า นายทหารฝึกหัดราชการโรงเรียนนายทหารม้า
  • พ.ศ. 2486 ประจำแผนกทหารม้า สำรองราชการกองบังคับการกรมเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2487 ประจำกรมทหารม้าที่ 45 ในกองพลทหารม้า
  • พ.ศ. 2489 นายทหารฝึกหัดราชการ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2491 นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2493 รองเสนาธิการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2494 รักษาราชการเสนาธิการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2495 เสนาธิการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2497 รองเสนาธิการกองทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2499 เสนาธิการภาคทหารบกที่ 1
  • พ.ศ. 2500 เสนาธิการกองทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2503 เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2503 ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี [1]
  • พ.ศ. 2506 ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • พ.ศ. 2507 เจ้ากรมการรักษาดินแดน
  • พ.ศ. 2508 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ
  • พ.ศ. 2510 รองเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2516 เสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2517 รองผู้บัญชาการทหารบก
  • พ.ศ. 2518 ผู้บัญชาการทหารบก [2]

ราชการพิเศษ ราชการการเมือง หรือตำแหน่งพิเศษ แก้

  • พ.ศ. 2483 ราชการสนามในคราวสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศส
  • พ.ศ. 2487 ราชการสนามในคราวสงครามมหาเอเชียบูรพา
  • พ.ศ. 2494 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  • พ.ศ. 2499 ราชองครักษ์เวร
  • พ.ศ. 2509 นายทหารพิเศษ ประจำกองพันทหารม้าที่ 1 กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ม.1 พัน.1 รอ.)
  • พ.ศ. 2511 สมาชิกวุฒิสภา
  • พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3]
  • พ.ศ. 2518 นายทหารพิเศษ ประจำกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.)
  • พ.ศ. 2518 นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (ป.1 รอ.)
  • พ.ศ. 2518 นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 ทม.รอ.)
  • พ.ศ. 2519 รองนายกรัฐมนตรี[4] (ชุดนายธานินทร์ กรัยวิเชียร)
  • พ.ศ. 2520 รองนายกรัฐมนตรี[5] (ชุดพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์)

ผลงานที่สำคัญ แก้

  • ร่วมปฏิบัติการภาคสนามในสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยเข้าประจำกรมทหารม้า ที่ 45 ในกองพลทหารม้า ได้เคลื่อนกำลังเข้าตีข้าศึกไปจนถึงแคว้นยูนนาน
  • จัดโครงการช่วยเหลือประชาชน เพื่อแยกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ออกจากประชาชนทั้งในยามปกติ และยามฉุกเฉิน โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการใช้มาตรการทางทหารภายใต้สถานการณ์การปฏิบัติการก่อการร้ายของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[6]และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2538 สิริอายุ 79 ปี และเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส [21]

อ้างอิง แก้

  1. รายนามอดีตผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร
  2. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม 92 ตอน 203 ง พิเศษ 30 กันยายน พ.ศ. 2518
  3. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๗ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  6. "ข่าวในพระราชสำนัก [13-15 ธันวาคม 2538]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (1ง): 165. 2 มกราคม 2539. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๒๑๖๑, ๒๒ มิถุนายน ๒๔๘๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๓๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๘๙, ๘ ธันวาคม ๒๔๗๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๖๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒๖, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๙๒
  16. รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๑ จากเว็บไชต์ thaiscouts
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘ เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๔๑, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๒๐, ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๘
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอน 75 เล่มที่ 62 หน้า 2250, 12 สิงหาคม 2501
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 66 ฉบับพิเศษ หน้า 22, 14 กรกฏาคม 2510
  21. ข่าวในพระราชสำนัก วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2538
ก่อนหน้า บุญชัย บำรุงพงศ์ ถัดไป
พลเอก กฤษณ์ สีวะรา    
ผู้บัญชาการทหารบก
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 30 กันยายน พ.ศ. 2519)
  พลเอก เสริม ณ นคร