นิยม วิวรรธนดิฐกุล

นายแพทย์ นิยม วิวรรธนดิฐกุล (เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2499) เป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[2] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ เขต 2 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน

นิยม วิวรรธนดิฐกุล
รองหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่
ดำรงตำแหน่ง
30 มกราคม พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2566
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
พรรคการเมืองพลังประชาชน (2550 - 2551)
เพื่อไทย (2551 - 2562, 2566 - ปัจจุบัน)
เศรษฐกิจใหม่ (2562-2566)

ประวัติ แก้

นิยม วิวรรธนดิฐกุล เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของนายจันทร์ และนางสุคำ วิวรรธนดิฐกุล มีพี่ 1 คน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่และต้นปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต และแพทยศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลีนิค มหาวิทยาลัยมหิดล, วุฒิบัตรวิชาชีพ สาขากุมารเวชศาสตร์ แพทยสภา และการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร สมรสกับนางสุมามาลย์ มีบุตร 3 คน

งานการเมือง แก้

อดีตเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ (พ.ศ. 2533-2542) และสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดแพร่ พ.ศ. 2549 หลังจากนั้นได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน โดยลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

ในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2554 นายนิยมยกมือโหวตสวนมติพรรคเพื่อไทย คือ ยกมือไว้วางใจนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และงดออกเสียงให้นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จากพรรคภูมิใจไทย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และการต่อต้านจากกลุ่มเสื้อแดงบางกลุ่ม[3] ในขณะที่นายนิยมได้แถลงในเวลาต่อมา ยืนยันว่ายังอยู่กับพรรคเพื่อไทย และไม่คิดย้ายพรรค[4] อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2554 นายนิยมลงสมัครและได้รับเลือกในนามพรรคเพื่อไทย

ในปี พ.ศ. 2562 ย้ายมาสังกัดพรรคเศรษฐกิจใหม่ และได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าพรรค ชุดที่นำโดย มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่[5]

ในปี พ.ศ. 2566 น.พ.นิยม ได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

นิยม วิวรรธนดิฐกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเศรษฐกิจใหม่
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเศรษฐกิจใหม่
  2. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-25.
  3. "เสื้อแดงแพร่"บุกเพื่อไทยค้านส่ง"หมอนิยม" ลงสมัคร ส.ส.เขต 2
  4. “นิยม วิวรรธนดิฐกุล” ยืนยันอยู่เพื่อไทยไม่ย้ายไปสังกัดพรรคอื่น[ลิงก์เสีย]
  5. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  6. เปิดตัวแล้ว“หมออุ๋ย”นพ.นิยม วิวรรธนดิฐกุล มาสังกัดพรรคเพื่อไทยทั้งตัวและหัวใจ
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้