ชุมพล จุลใส อดีต​สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร 3 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[1]

ชุมพล จุลใส
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 24​ กุมภาพันธ์​ พ.ศ.​ 2564
ก่อนหน้าศิริศักดิ์ อ่อนละมัย
ถัดไปอิสรพงษ์ มากอำไพ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 (53 ปี)
อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2549–2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน)
คู่สมรสนางวันทนีย์ จุลใส

ประวัติ แก้

นายชุมพล จุลใส (ชื่อเล่น: ลูกหมี) เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 เป็นบุตรของนายบุญธรรม และ นางหนูจวน จุลใส[2] และเป็นน้องชายของ นายสุพล จุลใส ชุมพลสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาจากโรงเรียนศรียาภัย ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง รัฐประศาสนสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สมรสกับ นางวันทนีย์ จุลใส มีบุตร-ธิดา 2 คน

การทำงาน แก้

นายชุมพล เข้ารับราชการตำรวจในตำแหน่งลูกแถวงานป้องกันและปราบปรามประจำสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองชุมพร เมื่อ พ.ศ. 2535 ต่อมา ใน พ.ศ. 2543 ได้เลื่อนขั้นเป็นผู้บังคับหมู่งานสืบสวนตำรวจภูธร จังหวัดชุมพร

งานการเมือง แก้

นายชุมพล เข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ใน พ.ศ. 2546 และดำรงตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ใน พ.ศ. 2547 ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้น และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 2 ครั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

นายชุมพล จุลใส ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์​

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2553 แก้

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2553 นายชุมพลซึ่งถือว่าเป็นคนสนิทของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และรองนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น นายชุมพลได้อยู่เคียงข้างนายสุเทพเสมอ โดยเป็นผู้ถือปืนอูซี่อารักขานายสุเทพ ในอาคารรัฐสภา ในครั้งที่แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บุกเข้ามาในพื้นที่อาคารรัฐสภาในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553 จนได้รับฉายาว่า "ลูกหมีอูซี่"[3]

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 แก้

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายชุมพลได้ลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง โดยเป็นหนึ่งใน 9 แกนนำกปปส. ร่วมกับคนรุ่นอายุเดียวกัน คือ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ, นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ และนายสกลธี ภัททิยกุล ซึ่งนายชุมพลยอมรับว่าตนเป็นผู้ที่ใจร้อนมุทะลุมากที่(สุด[4] [5] เขาได้เคยกล่าวว่า เขาขอเป็นเห็บหมาดีกว่าเป็นขี้ข้าทักษิณ[6]

เหตุการณ์ภายหลัง แก้

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกนายชุมพลเป็นเวลา 9 ปี 24 เดือน พร้อมทั้งให้ตัดสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี[7] และหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยสมาชิกภาพของเขา

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ของนายชุมพล ผู้ถูกร้องที่ 1 สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
  2. นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร. วัชระ ศิลป์เสวตร์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2556
  3. "ทำความรู้จัก 'ลูกหมีอูซี่' คนสนิท 'สุเทพ เทือกสุบรรณ' (ชมคลิป)". ไทยรัฐออนไลน์. 23 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ""4 คุณหนู" ฮาร์ดคอร์ สุดยอดคอนเนกชัน-ใครอย่าแตะ!". ผู้จัดการออนไลน์. 6 กุมภาพันธ์ 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-03. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "4 เสือ กปปส. เวทีสวนลุมพินี 27 04 57". ยูทิวบ์. 27 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. บิ๊กตู่ปัดงอนเลิกจ้อ ยันที่ชง4คำถาม
  7. "บี-ตั้น-ถาวร" เจอโทษ พ้นรัฐมนตรี 8 กปปส.นอนคุก พร้อมพวกลุงกำนัน
  8. ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ "5 แกนนำ กปปส." พ้นสภาพความเป็นส.ส.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓