อำเภอสวี

อำเภอในจังหวัดชุมพร ประเทศไทย

สวี [สะ-หฺวี][1] เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดชุมพร อำเภอสวีเป็นเมืองเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยโบราณเมืองหนึ่งของจังหวัดชุมพร ตามประวัติสาสตร์ อำเภอนี้มีชื่อเรียกแต่เดิมว่า “เมืองฉวี” แล้วเพี้ยนมาเป็น “สวี” ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย เมืองสวีมีกำหนดมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ใครเป็นคนสร้าง ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดในประวัติศาสตร์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2357 ปรากฏว่าได้มีเมืองสวีแล้ว โดยปรากฏในประวัติศาสตร์ว่า สมณทูตของไทยจะไปลังกา แต่เรือแตกก็เปลี่ยนเป็นเดินทางบก และได้เดินทางจากเมืองชุมพรผ่านเมืองสวี แต่สถานที่ตั้งตัวเมืองเดิมอยู่ที่ใดไม่มีหลักฐานยืนยัน ประมาณปี พ.ศ. 2449 ซึ่งเป็นปีที่จัดการหัวเมืองใหม่ เมืองสวีได้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสวี แต่จะตั้งอยู่ริมแม่น้ำสวีตอนใดก็ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนเช่นเดียวกัน ปัจจุบันพื้นที่อำเภอสวีส่วนใหญ่ อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตจากการประมง และมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง

อำเภอสวี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sawi
วัดพระบรมธาตุสวี
คำขวัญ: 
พระธาตุเก่าแก่ กาแฟปลูกนำ ระกำหวานดี
นารีสวยสด สับปะรดหวานกรอบ
แผนที่จังหวัดชุมพร เน้นอำเภอสวี
แผนที่จังหวัดชุมพร เน้นอำเภอสวี
พิกัด: 10°15′12″N 99°5′42″E / 10.25333°N 99.09500°E / 10.25333; 99.09500
ประเทศ ไทย
จังหวัดชุมพร
พื้นที่
 • ทั้งหมด898.0 ตร.กม. (346.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด72,916 คน
 • ความหนาแน่น81.20 คน/ตร.กม. (210.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 86130
รหัสภูมิศาสตร์8607
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสวี เลขที่ 13/1 หมู่ที่ 4 ตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร 86130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติศาสตร์   แก้

ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา แก้

ท้องที่อำเภอสวีนี้ ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา มีตำนานเก่าของวัดพระธาตุกาวี ที่รับรู้ต่อกันมา ในพื้นบ้านพื้นเมืองอันเป็นที่รู้จักกันทั่ว ๆไปว่า เมื่อครั้งหนึ่งนานมาแล้วพระเจ้าศรีธรรมโศกราชองค์หนึ่งกับพระมเหษีพากองทัพไพร่พลกลับจากการทำสงคราม มาหยุดพักแรกที่วัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งมีสิ่งก่อสร้างปรักหักพัง มีอยู่แต่กองอิฐดินเผาเกลื่อนกลาดทับถมกันอยู่ ในระหว่างที่เหล่าทหารบางคนจัดสร้างที่พัก บางคนจัดการหุงหาอาหารกันตามหน้าที่ ก็มีกาฝูงหนึ่งพากันบินมาจับกลุ่มที่ซากอิฐดินเผาซึ่งเหลืออยู่จากการหักพังทำลายแล้วพากันวีปีกและส่งเสียงร้องขึ้นพร้อม ๆ กัน ราวกับเป็นการนัดหมายกันมาเสียงฉู่ฉาวเจี๊ยวจ๊าวลั่นไปหมด และเมื่อทหารไล่มันไปมันก็พากันบินหนีไป แต่ไม่นานมันก็กลับมาที่เก่าอีก แล้วพวกมันก็พากันร้องวีปีกเช่นเดิม พวกทหารไล่มันอีก มันก็หนีไปอีก แล้วมันก็กลับมาใหม่ กระทำเหมือนที่แล้วหลายครั้งหลายหน ไม่ยอมแพ้ต่อการขับไล่ของทหาร ความทราบถึงพระเจ้าศรีธรรมโศกราชกับพระมเหสี เป็นเรื่องหนึ่งที่ให้เกิดความสนพระทัยขึ้น จึงเสด็จไปทอดพระเนตร แล้วทรงรับสั่งให้ทหารรื้ออิฐปูนที่ปรักหักพังออก ก็พบองค์พระเจดีย์ใหญ่ยังเหลืออยู่ท่อนหนึ่ง และเมื่อทหารทำการรื้อต่อไป ก็ได้พบผอบทองสีสุกใสอยู่ในพระเจดีย์ร้างนั้นจึงนำถวายท้าวเธอทรงเปิดผอบดูพบพระธาตุสถิตอยู่ในผอบนั้น จึงรับสั่งให้นายทัพนายกองทำการซ่อมสร้างสถาปนาพระเจดีย์องค์นั้นขึ้นใหม่จนสำเร็จ แล้วท้าวเธอนำเอาพระบรมธาตุในผอบทองนั้นเข้าบรรจุประดิษฐานไว้เช่นเดิม แล้วจัดให้มีการมหรสพสมโภชทำบุญเป็นการใหญ่ฉลอง 7 วัน 7 คืน แล้วพระราชทานชื่อว่า พระบรมธาตุกาวีปีก ต่อมาคำว่าปีกหายไป คงเหลือแต่พระบรมธาตุกาวี ต่อมาบัดนี้เรียกกันว่า พระธาตุสวี เรื่องนี้ตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ยกทัพมารบกับท้าวพิชัยเทพเชียงราชา (หรือท้าวอู่ทอง) แล้วตกลงประนีประนอมยอมแบ่งปันเขตแดนกันในเขตท้องที่เมืองบางตะพาน เมื่อเสร็จศึกแล้ว พระเจ้าศรีธรรมโศกราชก็ยกทัพกลับไปนครศรีธรรมราช ปรากฏว่า ในระหว่างทางได้ตั้งพระอารามก่อพระเจดีย์ ปลูกพระศรีมหาโพธิ์รายทางมาจนถึงนครศรีธรรมราช จึงสันนิษฐานว่า พระบรมธาตุกาวีปีก พระเจ้าศรีธรรมโศกราช คงทรงซ่อมสร้างขึ้นในครั้งเดินทัพกลับในครั้งนั้นเอง 

ในท้องที่อำเภอสวีนี้ มีบ้าน ๆ หนึ่งเรียกว่า บ้านแพรก ตั้งอยู่ริมคลองสวี ทางทิศตะวันออกของที่ว่าการอำเภอลงไปทางปากน้ำ ที่บ้านแพรกนี้ มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่ากันว่า ในสมัยโบราณก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เคยเป็นที่ตั้งเมืองมาแล้วหนหนึ่งชื่อว่า เมืองแพรก คนจีนเรียกว่าเมืองยะสิ่ว และว่าเมื่อประมาณ 30 กว่าปีมาแล้ว มีการไถและขุดพบกระเบื้องดินเผาเครื่องมือเครื่องใช้ที่ฝังอยู่ในดิน จึงเห็นว่าเมืองนี้เป็นเมืองในตำนาน เมืองนครศรีธรรมราชเรียกว่าเมืองแพรก กล่าวคือตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า ในศตวรรษที่ 18 อาณาจักร อโยธยาส่งพระพนมทะเลศรีสวัสดิ์ ฯ ออกมาคุมเชิงเฝ้าดูทางฝ่ายอาณาจักรนครศรีธรรมราช โดยมอบกำลังทหารให้เจ้าศรีราชาเข้าโจมตีเมืองชุมพรได้ แล้วผ่านไปตั้งเมืองที่เมืองแพรก (ท้องที่อำเภอสวี) เพื่อทำการต่อไป แล้วให้พระพนมวัง นางสะเคียงทอง พร้อมด้วยเจ้าศรีราชานำกำลังทัพเข้าตีเมืองกาญจนดิษฐ์ได้อีก จึงจัดตั้งเมืองนครดอนพระขึ้นใหม่ เพื่อทำการรบกับฝ่ายอาณาจักรนครศรีธรรมราชและทำการรบกันอยู่นาน จึงยุติไม่แพ้ไม่ชนะกัน แต่ฝ่ายอาณาจักรนครศรีธรรมราชต้องเสียเมืองชุมพร เมืองสะอุเลา เมืองกาญจนดิษฐ์แก่ฝ่ายอาณาจักรอโยธยาไป 

 สมัยกรุงศรีอยุธยา แก้

  ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ มีปรากฏตามคำให้การชาวกรุงเก่า หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 ตามบัญชีรายชื่อ หัวเมืองปักษ์ใต้ซึ่งขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาลำดับที่ 48 และว่าที่คลองสวี มีพลอยต่าง ๆ เมือง สวี มีหน้าที่ส่งส่วยพลอยต่อกรุงศรีอยุธยา แต่ตัวเมืองสวีในสมัยนั้นจะตั้งศาลาว่าการเมือง ณ ที่ใดไม่ปรากฏ 

 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แก้

เมื่อ พ.ศ. 2357 ในสมัยรัชกาลที่ 2 จัดส่งคณะทูตไปเจริญทางพระราชไมตรียังประเทศลังกาโดยทางเรือ บังเกิดอุบัติเหตุเรือแตก คณะทูตจึงเดินทางผ่านเมืองสวี และเมืองสวีเป็นเมืองชั้นจัตวาขึ้นต่อเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นตรี

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2439 ทางราชการจัดระบบการปกครองเป็นมณฑล โดยมีข้าหลวงสมุหเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชา ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้า ฯ ให้ยุบเมืองสวีลงเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองหลังสวนแล้วให้รวมหัวเมืองคือ 1 เมืองชุมพร 2 เมืองหลังสวน 3 เมืองไชยา 4 เมืองกาญจนดิษฐ์ รวม 4 เมือง ตั้งขึ้นเป็นมณฑลเรียกชื่อว่า มณฑลชุมพร ตั้งที่ทำการศาลาว่าการมณฑลชุมพร ณ ที่ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมือง เมืองชุมพร แต่งตั้งพระยารัตนเศรษฐี (ตอซิมกอง) ผู้ว่าราชการเมืองระนองมาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพร

ต่อมาในปีพ.ศ. 2450 (ร.ศ.116) เพิ่งจะมีหลักฐานปรากฏชัดว่า เมื่อได้จัดการปกครองหัวเมืองใหม่ตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ.116 แล้ว เมืองสวีได้จัดระเบียบใหม่ และมีชื่อว่า “อำเภอสวี” เมื่อตั้งเป็นอำเภอสวีแล้ว ในชั้นแรกได้ใช้บ้านพักของนายรื่น ทองคำ ซึ่งเรียกว่า “ท่านรักษาเมือง” ตั้งอยู่ริมคลองสวี ในหมู่ที่5 ตำบลนาโพธิ์ เป็นที่ว่าการอำเภอชั่วคราว ได้เปิดที่ทำการเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2440 มีนายแดง ธะนะไชย (หลวงเสวีวรราช) เป็นนายอำเภอคนแรก ตั้งที่ทำการอยู่ที่นั่นได้ครึ่งปีจึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ตำบลปากแพรก ใช้บ้านพักของนายทองชุ่ม กำนันตำบลปากแพรกเป็นที่ว่าการอำเภอ อยู่ได้ประมาณปีเศษจึงได้ทำการปลูกสร้างที่ว่าการอำเภอสวีขึ้นที่ริมแม่น้ำสวี ในตำบลสวี จนกระทั่งถึงปีพ.ศ. 2462 ที่ว่าการชำรุดหักพังจนถึงทำงานไม่ได้ จึงได้ขอบ้านพักนายฮก บุญยสมบัติ คหบดี เป็นที่ว่าการอำเภอชั่วคราว นายแถว สมิโตบล (หลวงรักษ์นรกิจ) ซึ่งเป็นนายอำเภออยู่ในขณะนั้น ได้จัดสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ในหมู่ที่5 ตำบลนาโพธิ์ ได้ทำพิธีเปิดที่ว่าการอำเภอเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2462 จนกระทั่งถึงวันที่ 24 มกราคม 2511 ที่ว่าการอำเภอได้ถูกเพลิงไหม้ กรมการปกครองจึงได้อนุมัติงบประมาณพิเศษให้ก่อสร้างใหม่และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2512 ใช้ปฏิบัติราชการจนถึงถึง พ.ศ. 2544 เป็นระยะเวลา 32 ปี อาคารที่ว่าการอำเภอสวีก็ได้ชำรุดทรุดโทรมตามสภาพการใช้งาน กรมการปกครอง ได้อนุมิติงบประมาณให้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอ หลังใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยได้ย้ายที่ว่าการอำเภอสวีมาปฏิบัติงานที่ว่าการอำเภอ สวี (หลังใหม่) ตั้งอยู่ที่บ้านดอนรักษ์ หมู่ที่ 4 ตำบลสวี ในวันที่ 1 ตุลาคม 2544 จนกระทั่งถึง ปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอสวีตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอสวีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 116 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[2]
แผนที่
1. นาโพธิ์ Na Pho
8
7,828
  
2. สวี Sawi
4
2,787
3. ทุ่งระยะ Thung Raya
11
7,248
4. ท่าหิน Tha Hin
10
4,624
5. ปากแพรก Pak Phraek
6
1,384
6. ด่านสวี Dan Sawi
11
5,040
7. ครน Khron
14
10,051
8. วิสัยใต้ Wisai Tai
10
5,103
9. นาสัก Na Sak
19
13,363
10. เขาทะลุ Khao Thalu
11
7,386
11. เขาค่าย Khao Khai
12
8,019

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอสวีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนาโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาโพธิ์
  • เทศบาลตำบลนาโพธิ์พัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาโพธิ์ (นอกเขตเทศบาลตำบลนาโพธิ์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวีและตำบลปากแพรกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งระยะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งระยะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลด่านสวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลด่านสวีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลครน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลครนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวิสัยใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวิสัยใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาสักทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทะลุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาทะลุทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค่าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาค่ายทั้งตำบล

การเดินทาง แก้

รถยนต์ แก้

จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทาง พุทธมณฑล นครปฐม-เพชรบุรี หรือเส้นทางสาย ธนบุรี-ปากท่อ (หมายเลข 35) แล้วแยกที่อำเภอปากท่อ เข้า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงสะพานข้ามคลองสวี ลงจากสะพานจะเจอสามแยกไม่มีไฟแดง มีป้ายแสดงชื่ออำเภอสวี จากนั้นแยกซ้ายเข้าตัวเมืองสวี ตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4003 อีกประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึงตลาดในตัวอำเภอ

รถไฟ แก้

ดูบทความหลักที่: สถานีรถไฟสวี

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546.
  2. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้