คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Management Science, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 12 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2545

คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Management Science, Silpakorn University
ชื่อย่อSUMS
สถาปนาพ.ศ. 2545
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันชัย สุทธะนันท์
ที่อยู่
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 1 หมู่ 3 ถนนชะอำ–ปราณบุรี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
สี██ สีเขียวไข่ครุฑ[1]
มาสคอต
กระดานหมากรุก
สถานปฏิบัติศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมและภัตตาคาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพชรบุรี
เว็บไซต์www.ms.su.ac.th

ประวัติ แก้

แต่เดิมโครงการจัดตั้ง "คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร" ไม่ได้อยู่ในแผนแม่บทของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี พ.ศ. 2540 – 2549 ฉบับแรก มหาวิทยาลัยวางแผนจะตั้งคณะวิชา เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ และสังคมในภูมิภาคตะวันตกบนฐานสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยมีศักยภาพอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยได้ทบทวนแผนแม่บทตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจและงบประมาณที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ลดลงเป็นอย่างมาก ในช่วงเวลานั้นจึงบรรจุคณะวิทยาการ (ซึ่งครอบคลุมสาขาวิชาการจัดการโรงแรม การจัดการการท่องเที่ยวและการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรม) ลงในแผนแม่บทเมื่อ พ.ศ. 2543

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีนั้น เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศมีปัญหา ดังนั้นการจัดตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่จึงมิอาจเป็นวิทยาเขตที่สมบูรณ์แบบเหมือนวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐมได้ สถานการณ์งบประมาณของมหาวิทยาลัยขณะนั้นทำให้นโยบายการจัดการศึกษาที่สำคัญของวิทยาเขตแห่งใหม่ เน้นการพึ่งพาตนเองด้านงบประมาณ จัดตั้งให้เป็นหน่วยงานในกำกับ การประหยัดโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยงานภายในวิทยาเขต การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอน ลดภาระเงินเดือน ค่าจ้างในระยะยาว

อาจารย์ พุฒ วีระประเสริฐ เริ่มเป็นอธิการบดีเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ได้มอบหมายให้รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา (อาจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการจัดตั้งคณะวิชาที่จัดการเรียนการสอนในวิทยาเขตแห่งใหม่ เนื่องจาก คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ยังไม่สามารถจัดการเรียนการสอนที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีได้ จึงต้องจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ เพื่อจัดการเรียนการสอนที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีให้ได้ในปีการศึกษา 2545 โดยสภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบโครงการจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2545 ในระยะแรกจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต 3 สาขาวิชาได้แก่ การจัดการการท่องเที่ยว การจัดการชุมชน และรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งต่อมาได้มีการเพิ่มหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตขึ้น

จนกระทั่งในปีการศึกษา 2559 ทางมหาวิทยาลัยได้อนุมัติหลักสูตรบัญชีบัณฑิต และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนิทรรศการและงานอีเว้นท์ขึ้น จนปัจจุบันคณะวิทยาการจัดการมีสาขาวิชารวมทั้งสิ้น 9 สาขา

หน่วยงาน แก้

  • สำนักงานเลขานุการคณะ
  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว
  • สาขาวิชาการจัดการชุมชน
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรม
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษา
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • สาขาวิชาบัญชี
  • สาขาวิชาโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
  • สาขาวิชาการจัดการนิทรรศการและงานอีเว้นท์

หลักสูตร แก้

ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว
  • สาขาวิชาการจัดการชุมชน

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)

  • สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรม
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษา
  • สาขาวิชาการจัดการงานนิทรรศการและงานอีเว้นท์
  • สาขาวิชาโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเว้นท์

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)

หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (กจ.ม.)

หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาการจัดการ

หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.) หลักสูตรนานาชาติ

ทำเนียบคณบดี แก้

รายนามคณบดีคณะวิทยาการจัดการ
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
รองศาสตราจารย์ สมประสงค์ น่วมบุญลือ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ 19 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2545[2]
2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันชัย สุทธะนันท์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการคณะวิทยาการจัดการ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2546[3]
รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาการจัดการ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 8 กันยายน พ.ศ. 2547[4]
9 กันยายน พ.ศ. 2547 – 8 กันยายน พ.ศ. 2551[5]
9 กันยายน พ.ศ. 2551 – 8 กันยายน พ.ศ. 2555[6]
3
รองศาสตราจารย์ ดร. พิทักษ์ ศิริวงศ์ 9 กันยายน พ.ศ. 2555 – 8 กันยายน พ.ศ. 2559[7]
4
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พีรพัฒน์ ยางกลาง 9 กันยายน พ.ศ. 2559 – 2563 [8]
5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันชัย สุทธะนันท์ 9 กันยายน 2563 - ปัจจุบัน
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

กิจกรรมนักศึกษา แก้

  • กิจกรรมแรลลี่หมากรุก

จัดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม–กันยายนของทุกปี เพื่อให้นักศึกษาปี 1 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของคณะวิทยาการจัดการ การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของคณะที่นักศึกษาต้องทราบและปฏิบัติ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของคณะวิทยาการจัดการ เพลงสันทนาการของคณะ เพลงเชียร์ของคณะ การบูมคณะ และความรักความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในรุ่นของตัวเอง เพื่อที่จะเป็นนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการอย่างสมบูรณ์แบบและภาคภูมิใจ

  • กิจกรรมเฟรชชี่ไนท์

จัดขึ้นในช่วงกันยายนของทุกปี เป็นกิจกรรมที่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จัดขึ้นให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อแสดงถึงความรัก ความดูแลเอาใจใส่ และเป็นการยอมรับเพื่อเข้าสู่คณะวิทยาการจัดการ ภายในกิจกรรมจะมีคอนเสิร์ตจากศิลปิน

  • พิธีไหว้ครูคณะวิทยาการจัดการ

จัดขึ้นช่วงเดือนกันยายนของทุกปี เป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความรัก ความเคารพต่อครูอาจารย์ผู้สั่งสอนอบรมนักศึกษา เพื่อให้มีความรู้ในการนำไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่นักศึกษาทุกคนจะได้แสดงความกตัญญูต่ออาจารย์อีกด้วย

  • พิธีติดติ้งคณะวิทยาการจัดการ

จัดขึ้นในช่วงกันยายนของทุกปี เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อรับเข้ามาเป็นนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการอย่างเต็มตัว อีกทั้งยังเป็นวันที่รุ่นพี่ทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และสายรหัสได้มาร่วมแสดงความยินดีอีกด้วย

  • กิจกรรมพี่สอนน้องสอบ

เป็นกิจกรรมที่พี่ ๆ คณะวิทยาการจัดการจัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมน้อง ๆ ชั้นปีที่ 1 สำหรับการสอบ ซึ่งเป็นการสอบครั้งแรกของน้อง อีกทั้งให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้ถึงระเบียบ ข้อบังคับในการสอบ เทคนิคการเขียนหรือการทำข้อสอบของแต่ละสาขาวิชา อีกทั้งมีการช่วยน้องติวในเนื้อหาวิชาที่ไม่เข้าใจให้อีกด้วย เพื่อให้น้อง ๆ ได้พร้อมในการเข้าสู่สนามสอบจริง

  • กิจกรรมลูกทุ่งชุมชน

จัดขึ้นช่วงเดือนมีนาคม–เมษายนของทุกปี จัดโดยสาขาการจัดการชุมชน ภายในงานจะมีร้านค้า เวทีรำวง ตลาดนัดนักศึกษา เกมและการละเล่นในธีมของงานวัด และมีรำวงการกุศลเพื่อนำรายได้ไปบริจาคและบำเพ็ญประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อีกด้วย

  • กิจกรรมรัฐประศาสนศาสตร์วิชาการ

จัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม–เมษายนของทุกปี จัดโดยสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ภายในงานจะมีการปฐกถาพิเศษจากนักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในเรื่องการเมือง การปกครอง การบริหารงานภาครัฐ ฯลฯ กิจกรรมเสวนาทางวิชาการโดยนักวิชาการและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเรื่องที่เป็นประเด็นในด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในปัจจุบัน กิจกรรมการแข่งขันการตอบปัญหาทางรัฐประศาสนศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กิจกรรมการแข่งขันการนำเสนอวิสัยทัศน์ของระดับอุมศึกษาในเรื่องที่เป็นประเด็นในปัจจุบัน ซึ่งได้รับความสนใจและมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฯลฯ

  • กิจกรรม SARIM

เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคณะวิทยาการจัดการ โดยในแต่ละปีจะมีการเวียนกันเป็นเจ้าภาพของแต่ละคณะเรียงตามตัวอักษร โดยเป็นกิจกรรมสันทนาการร่วมกันหรือ "การชนสัน"

  • กิจกรรมชนช้าง

เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นร่วมกับ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ และ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดขึ้นเพื่อเป็นการชนสันทนาการของทั้ง 3 คณะ อีกทั้งมีการแสดงของเชียร์ลีดเดอร์ของแต่ละคณะ และการเต้นสันทนาการเวียนกัน

ผลงาน / รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ แก้

  • นายรัชพล เปรมสวัสดิ์ และนายพิชชากร อภิพาณิชพงษ์ ตัวแทนนักศึกษาร่วมกับนายนิพนธ์ สาสาร และชวยุต นิ่มนวล ตัวแทนเทศบาล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานการแกะสลักทราย คว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศการแข่งขันเทศกาลแกะสลักทราย ฮิชิคาริ ครั้งที่ 6 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ณ เมืองฮิชิคาริ ประเทศญี่ปุ่น
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในโครงการ AFET Futures Trading Challenge
  • ตำแหน่งชนะเลิศรางวัลเกียรติคุณพระราชทานจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการแข่งขัน เกมจำลองธุรกิจแห่งชาติครั้งที่ 1
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัลชมเชยโครงการ "การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจ"
  • รางวัลชนะเลิศโครงการ "Phillip Futures Challenge on Campus 2006"
  • รางวัล "Spirit of SIFE Award" การแข่งขันโครงการ 2007 SIFE Thailand National Competition
  • รองชนะเลิศอันดับ 2 ในโครงการ AFET Futures Trading Challenge 2007
  • รองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดกล่าวสุนทรพจน์ ระดับภูมิภาคตะวันตก
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการประกวดทักษะมัคคุเทศก์เฉลิมพระเกียรติ ระดับมหาวิทยาลัย
  • ได้รับรางวัลจากการร่วมแข่งขัน "One–2–Call! - Brand Age Award โครงการประกวดแผนพัฒนาธุรกิจ (ปีที่ 3) ตอนงานเข้า OTOP"
  • รางวัลจากการร่วมแข่งขันทำอาหารแห่งภูมิภาคเอเชีย งานชุมนุมเชฟระดับโลก
  • นางสาวนฤมล บัณฑิตาโสภณ นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับรางวัลนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ภาคบรรยาย ระดับดี ในการประชุมสังคมศาสตร์วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 "การพัฒนาภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์เพื่อความยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น สังคมไทย และอาเซียน"
  • นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป นางสาวศิริชาภรณ์ สิงห์โต ที่ได้รับรางวัล "ชนะเลิศ TFEX Campus Champion" นางสาวจิดาภา ทองดอนกระเดื่อง "รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง TFEX Campus Champion" และนางสาวสุณิสา สังข์เงิน "รองชนะเลิศอันดับสอง TFEX Campus Champion" ในการแข่งขันโครงการ "TFEX Click2Win Campus League 2014
  • นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับ "รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น" เป็นสมัยที่สามติดต่อกันจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558
  • อาจารย์ชิษณุพงศ์ ศิริโชตินิศากร และนายดนัยกานต์ ศรีสุข นักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจโรงแรมและที่พัก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ (เหรียญทอง) จากการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 10 ณ ประเทศเวียดนาม ในสาขาบริการอาหารและเครื่องดื่ม
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน ได้รับรางวัลผลงานวิจัยการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติดีเด่น ภาคบรรยายการประชุมสังคมศาสตร์วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ในหัวข้อ "ภัยธรรมชาติกับการจัดการอย่างยั่งยืน ระดับท้องถิ่น ประเทศและอาเซียน" ณ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

อ้างอิง แก้

  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. คำสั่ง มศก.ที่ 354/2545 ลงวันที่ 5 เมษายน 2545
  3. คำสั่ง มศก. ที่ 1111/2545 ลงวันที่ 30 กันยายน 2545
  4. คำสั่ง มศก. ที่ 925/2546 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2546
  5. คำสั่ง มศก. ที่ 1226/2547 ลงวันที่ 8 กันยายน 2547
  6. คำสั่ง มศก. ที่ 1424/2551 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2551
  7. คำสั่ง มศก. ที่ 1290/2555 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2555
  8. คำสั่ง มศก. ที่ 996/2559 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2559

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้