กิตติศักดิ์ ปรกติ

รองศาสตราจารย์ ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ (เกิด 7 ธันวาคม 2499) เป็นข้าราชการชาวไทย และเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กิตติศักดิ์ ปรกติ
เกิด07 ธันวาคม พ.ศ. 2499 (67 ปี)
การศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อนุปริญญาในสาขากฎหมายเปรียบเทียบ (Dip. de Droit Comparé) มหาวิทยาลัยสทราซบูร์ (University of Strasbourg)
นิติศาสตร์มหาบัณฑิต (Magister juris) มหาวิทยาลัยบอนน์

นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (Doctor Juris) จากมหาวิทยาลัยบอนน์ (University of Bonn)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบอนน์
อาชีพนักนิติศาสตร์ อาจารย์มหาวิทยาลัย

การศึกษา แก้

กิตติศักดิ์ ปรกติ สำร็จการศึกษา นิติศาสตร์บัณฑิตและนิติศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาได้รับอนุปริญญาในสาขากฎหมายเปรียบเทียบ (Dip. de Droit Comparé) จากมหาวิทยาลัยสทราซบูร์ (University of Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส กับทั้งเป็นนิติศาสตร์มหาบัณฑิต (Magister juris) และนิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (Doctor Juris) จากมหาวิทยาลัยบอนน์ (University of Bonn) ประเทศเยอรมนี[1][2][3]

นอกจากสอนกฎหมายแล้ว กิตติศักดิ์เคยเป็นรองคณบดีคณะนิติศาสตร์ ประธานสภาอาจารย์ และกรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย[4]

ผลงานวิชาการ[3] แก้

หนังสือภาษาไทย แก้

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2541, 123 หน้า
  • การโอนกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์, ศึกษาเปรียบเทียบระบบกฎหมายเยอรมัน อังกฤษ และไทย, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์วิญญูชน, พ.ศ. 2546, 180 หน้า
  • แนวทางในการรับรองและพัฒนาวิชาชีพ “โนตารีปับลิก” ในประเทศไทย, (ผลงานวิจัย ร่วมกับสมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ และวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์) โครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพโนตารีปับลิก สำนักงานกิจการยุติธรรม, กรุงเทพฯ 2547, 248 หน้า
  • สิทธิชุมชน: สิทธิของบุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์วิญญูชน, พ.ศ. 2550, 224 หน้า
  • คำอธิบายกฎหมายลักษณะบุคคล บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล, พิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์วิญญูชน, พ.ศ. 2561, 327 หน้า
  • ปัญหาข้อขัดข้องในการชำระหนี้เนื่องจากพฤติการณ์อันเป็นรากฐานแห่งมูลหนี้เปลี่ยนแปลงไปเพราะเหตุแทรกซ้อนเหนือความคาดหมาย (Supervening Events), ศึกษาจากระบบกฎหมาย เยอรมัน ฝรั่งเศส และกฎหมายแองโกลอเมริกัน, กรุงเทพฯ พ.ศ. 2550, 105 หน้า
  • หลักสุจริตและเหตุเหนือความคาดหมายในการชำระหนี้ (Good Faith & Supervening Events) ในระบบกฎหมายเยอรมัน ฝรั่งเศส แองโกลอเมริกัน และไทย, สำนักพิมพ์วิญญูชน, พ.ศ. 2554, 206 หน้า
  • แนวทางพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมทางแพ่งและพาณิชย์ให้คุ้มค่า (ผลงานวิจัยร่วมกับสมเกียรติ วรปัญญาอนันต์), สำนักพิมพ์วิญญูชน, กรุงเทพฯ 2555, 192 หน้า
  • การปฏิรูปกฎหมายไทยภายใต้อิทธิพลยุโรป, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์วิญญูชน, พ.ศ. 2556, 343 หน้า
  • “ปัญหาเขตอำนาจศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจหรือการดำเนินการทางปกครองในเรื่องสิทธิในที่ดิน”  (ผลงานวิจัย ร่วมกับ สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์), เสนอต่อสถาบันวิจัยและพัฒนารพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม, พ.ศ. 2562  <https://rabi.coj.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/157276>
  • ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในสัญญาซื้อขาย, ผลงานวิจัยเสริมหลักสูตร พ.ศ. 2532 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทความภาษาไทย แก้

  • “การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในกฎหมายไทย”, ใน วารสารนิติศาสตร์ มธ. ปีที่ 13 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2526, หน้า 1 – 38
  • “ตำนานรักร่วมเพศ”, ใน วารสารนิติศาสตร์ มธ. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2526, หน้า 85 – 95
  • “เกย์ v.s. กฎหมาย”, วารสารนิติศาสตร์ มธ. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2526, หน้า 98 – 109
  • “ประมวลกฎหมายแพ่งสวิส: ความเป็นมา และลักษณะน่าสนใจบางประการ”, ใน วารสารนิติศาสตร์ มธ. ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2529, หน้า 83 – 99
  • “อนุสัญญาว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ UN-Convention on Contracts for the International Sale of Goods”, ใน วารสารนิติศาสตร์ มธ. ปีที่ 17 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2530, หน้า 91 – 110
  • “หลักกฎหมายว่าด้วยสัญญาลอยทางทรัพย์”, แปลถอดความจาก Zweigert/Kötz: Einführung in die Rechtsvergleichung, Bd. I, วารสารนิติศาสตร์ มธ. ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2532, หน้า 78-102.
  • “ความรับผิดเพื่อผลิตภัณฑ์: ข้อคิดบางประการในแง่กฎหมายเปรียบเทียบ”, แปลถอดความจาก W. Fhrhr. von Marschall, Rechtsvergleichende Überlegungen zur Produkthaftung in: Die Aktiengesellschaft 4/1987, S. 97-108, ใน วารสารนิติศาสตร์ มธ. ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2533, หน้า 155-194.
  • “พระราชกำหนดนิรโทษกรรมยกเว้นความผิดแก่ทหารตำรวจที่ฆ่าประชาชนจริงหรือ” ใน รพีสาร วันรพี 2536, หน้า 106 – 116
  • “ผลของคำเสนอ-สนองในแง่กฎหมายเปรียบเทียบ” ใน วารสารนิติศาสตร์ มธ. ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2537, หน้า 69 – 86
  • “ความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีในระบบซิวิลลอว์และคอมมอนลอว์“ ใน ดุลพาห, เล่ม 1 ปีที่ 41, พ.ศ. 2537, หน้า 50-74 และ เล่ม 2 ปีที่ 41, พ.ศ. 2537, หน้า 59-85.
  • “ข้อคิดบางประการว่าด้วยเสรีภาพในชีวิตร่างกาย”, ใน อาจาริยบูชา: หนังสือรวมบทความทางวิชาการเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ศาสตราจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. 2538, หน้า 47-54.
  • “กฎหมายไทย: จากมิติวัฒนธรรม”, ใน เอกสารประกอบการสัมมนาระดับชาติเรื่อง “วิกฤติการณ์ทางสังคมไทย” วันที่ 20-22 เมษายน พ.ศ. 2538 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 37 หน้า.
  • “ปัญหาความชอบด้วยกฎหมายของการนิรโทษกรรม” ใน เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ปัญหาความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกำหนดนิรโทษกรรม เดือนพฤษภาคม 2535 วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ณ ห้องแอลที 1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้รับความสนับสนุนจากมูลนิธิฟรีดริช เอแบร์ท, 24 หน้า
  • “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์”, ใน เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ เรื่อง การผลิตผลงานทางวิชาการ วันที่ 11-12 มกราคม พ.ศ. 2539, จัดโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 21 หน้า
  • “วิสัยทรรศน์นิติศาสตร์ 2000”, ใน รพีสาร, ปีที่ 4 ฉบับที่ 14, พ.ศ. 2539, หน้า 7-26.
  • “ความรู้ INTERNET เบื้องต้นสำหรับนักกฎหมาย”, ใน รพีสาร, ปีที่ 4 ฉบับที่ 14, พ.ศ. 2539, หน้า 71-84.
  • “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประมวลกฎหมาย”, (แปลเรียบเรียงจากคำบรรยายของศาสตราจารย์โวล์ฟกัง ไฟร์แฮร์ ฟอน มาร์แชล) ใน วารสารนิติศาสตร์ปีที่ 26, พ.ศ. 2538 , ฉบับที่ 1, หน้า 122-141.
  • “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537” เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ, มกราคม 2539, จัดโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 26 หน้า
  • “อิทธิพลของกฎหมายตะวันตกต่อกฎหมายลักษณะบุคคล”, เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการเรื่องอิทธิพลของกฎหมายตะวันตกต่อกฎหมายไทย, จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พฤษภาคม 2539, 33 หน้า
  • “โทษประหารชีวิต กับข้อคิดว่าด้วยเสรีภาพในชีวิตร่างกาย” เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการเรื่องความรุนแรงในสังคมไทย,จัดโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ตุลาคม 2539, 19 หน้า
  • “ปัญหารากฐานบางประการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” เอกสารประกอบการสัมมนาปฏิรูปการเมือง จัดโดยศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2540, 9 หน้า
  • “การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในประเทศไทย”, บทความประกอบการสัมมนา นำเสนอในการสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ปฏิรูปการเมือง เยอรมัน-ไทย เรื่อง “การคุ้มครองปกป้องสิทธิมนุษยชน : หลักประกันที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ” จัดโดยมูลนิธิฟรีดริช เอแบร์ท ที่โรงแรมสยามซิตี้ วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2540, 9 หน้า
  • “บริการสาธารณสุข: หน้าที่หรือเพียงแนวนโยบายแห่งรัฐ” บทความประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐด้านสุขภาพ: ข้อเสนอร่างรัฐธรรมนูญไทยปี 2540, จัดโดยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 28 เมษายน 2540, 20 หน้า
  • “สิทธิในชีวิตร่างกายกับหน้าที่ของรัฐในการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย”, ใน บนเส้นทางแห่งหลักนิติธรรม, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิคอนราดอาเดนาว จัดพิมพ์ในโอกาสเกษียณอายุราชการ ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร, กรุงเทพ ฯ 2540, หน้า 147-170.
  • “ปัญหาเทคโนโลยี ค.ศ. 2000 บทศึกษาเบื้องต้นในเรื่องความรับผิดทางกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” ใน วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 29 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2542, หน้า 1-15.
  • “ข้อสังเกตบางประการว่าด้วยบทบาทภาระหน้าที่ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารและคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร” ใน วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 มิถุนายน 2543, หน้า 195-222.
  • “แนวคิดเกี่ยวกับหลักการสิ้นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา: บทเรียนจากเยอรมันและสหภาพยุโรป“, ใน วารสารกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ, ปีที่ 3 (ธันวาคม 2543), หน้า 111 – 135.
  • “บันทีกการเสวนา การปฏิรูปการศึกษากฎหมายจากมุมมองของเยอรมัน”, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2533, หน้า 1-30.
  • “ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบบบริการสาธารณสุขตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540” ใน วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 3 กันยายน 2544, หน้า 426-445.
  • “ปัญหาความ(ไม่)ชอบธรรมของภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม” ใน วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 32 ฉบับที่ 4 ธันวาคม 2545, หน้า 738-756 (พิมพ์ซ้ำใน ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นิติรัฐ กับอำนาจในการตราพระราชกำหนด, กรุงเทพ ฯ 2546, หน้า 15-28)
  • “สิทธิชุมชนในมุมมองทางนิติศาสตร์ไทย”, ในการประชุมทางวิชาการ เรื่องการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล: ความขัดแย้งในชุมชนอันเนื่องจากสิทธิชุมชนกับผลประโยชน์ของชาติ, จัดโดยสำนักงานอัยการสูงสุดร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2546, หน้า 32-48.
  • “ปัญหาสิทธิชุมชนในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่” การประชุมกลุ่มกฎหมายสิทธิมนุษยชน ในการประชุมนิติศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 3 จัดโดยคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ วันที่ 17-18 กันยายน 2546, หน้า 83-98
  • “คดีพญาระกา เรื่องส่วนตัว หรือเรื่องหลักการ?”, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ฉบับที่ 34 เล่ม 2 (มิถุนายน 2547), หน้า 302-325.
  • “กฎหมายข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของประเทศญี่ปุ่น”, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ฉบับที่ 34 เล่ม 4 (ธันวาคม 2547), หน้า 514-535
  • “ข้อคิดจากข้อเขียนของอาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ในทางกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” ใน ชีวิตและงานของศาสตราจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์, งานวิชาการรำลึก ศาสตราจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์ ครั้งที่ 10, มีนาคม 2548, กองทุนศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548, หน้า 102 – 135
  • “กฎหมายกับพัฒนาการของสังคมไทย: จากลักกระแสไฟฟ้ามาสู่ลักสัญญาณโทรศัพท์” ในวารสารไทยคดีศึกษา, ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (เมษายน – กันยายน 2548), หน้า 36-54
  • “บทบาทพระมหากษัตริย์ในฐานะผู้ปกครอง และที่มาแห่งกฎหมายและความยุติธรรม” บทความวิจัย เขียนร่วมกับแสวง บุญเฉลิมวิภาส นำเสนอในการประชุมวิชาการ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549, ในรวมบทความวิชาการ คณะนิติศาสตร์, พ.ศ. 2552, หน้า 1-40
  • “สถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งสืบทอดมาจากจารีตประเพณีและบทบัญญัติแห่งกฎหมาย”, บทความวิจัย นำเสนอในการประชุมวิชาการ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549, ในรวมบทความวิชาการคณะนิติศาสตร์, พ.ศ. 2552, หน้า 73 – 96
  • “ข้อเสนอแนะปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับสิทธิชุมชน” รายงานวิจัยเสนอในงานประชุมวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 25 พฤษภาคม 2550, 31 หน้า
  • “ระบบเลือกตั้งที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย: เลือกผู้ชนะหรือเลือกผู้แทน?” รายงานวิจัยเสนอในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการวิชาการและสารสนเทศ สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550, มิถุนายน 2550, 47 หน้า
  • “เมื่อนิรโทษกรรมกลายเป็นเรื่องล้าสมัยและไร้ประโยชน์”, รพีสาร’ 50, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. 2550, หน้า 63-74
  • “สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารกับการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารประวัติศาสตร์” นำเสนอในการประชุมทางวิชาการ เรื่อง “การส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์”, จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร, วันที่ 9 สิงหาคม 2550, 30 หน้า
  • “ความชอบธรรมของกฎหมายยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการพรรคการเมืองตามมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550”, รพีสาร’51, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. 2551, หน้า 37-52
  • “หลักทั่วไปเกี่ยวกับการใช้และการตีความกฎหมาย” ใน “การใช้การตีความกฎหมาย” กองทุนศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ 2552, หน้า 17-62
  • “การปฏิรูประบบงานยุติธรรมทางแพ่งในบริบททางกฎหมายเปรียบเทียบ”, ใน ทุกก้าวย่างอย่างครูกฎหมาย: รวมบทความที่ระลึกในโอกาสอายุครบ 60 ปี รองศาสตราจารย์ สมยศ เชื้อไทย, กรุงเทพฯ 2553
  • “เขตอำนาจศาลยุติธรรมทางแพ่งเยอรมันในการบังคับชำระหนี่ต่อทรัพย์สินของรัฐต่างประเทศ”, รพีสาร’ 54, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. 2554, หน้า 9-22
  • “หลักกฎหมายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: หลักสำคัญที่ถูกมองข้าม” ใน รวมบทความวิชาการเนื่องในโอกาส 60 ปี รองศาสตราจารย์ ดร. ดาราพร ถิระวัฒน์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ 2555, หน้า 41-72
  • “ปัญหาการโอนความเสี่ยงในสัญญาซื้อขาย: พิจารณาหลักกฎหมายไทยในบริบททางกฎหมายเปรียบเทียบ” ใน รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาส 60 ปี ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงษ์พันธุ์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ 2556, หน้า 107-146
  • “วิกฤติและโอกาสในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งและพาณิชย์”, ใน รวมบทความงานสัมมนาวิชาการประจำปี พ.ศ. 2555: กฎหมายกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ 2557, หน้า 357-382
  • “ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายอิสลามในประเทศไทย”, ใน รวมบทความงานสัมมนาวิชาการประจำปี พ.ศ. 2555: กฎหมายกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ 2557, หน้า 737-761
  • “ว่าด้วยอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” ในหนังสืออาจาริยบูชาเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ของศาสตราจารย์พิเศษ ดร. วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ 2557, หน้า 147-175
  • “ปัญหาการวิเคราะห์โครงสร้างความรับผิดทางหนี้ และสิทธิบอกเลิกสัญญา” ใน รวมบทความวิชาการ 60 ปี อาจารย์เงาะ, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ 2558, หน้า 225-266

บทความภาษาต่างประเทศ แก้

  • Consumer Protection in Thailand, paper presented in the Conference in Honour of Prof.Wolfgang Freiherr von Marschall, 11. Dec. 1998, Faculty of Law, Rheinisch Friedrich-Wilhelm University, Bonn (15pp.)
  •  “Transfer of Risk in the Sales of Goods – a comparative study with respect to the Thai legal system” paper presented in the annual Kyushu/Thammasat University Conference, 4-5 March 1999, Kyushu University, Bangkok (15 p.)
  • The Reception of Western Law in Thailand, paper presented in the Conference of the Society of Comparative Law, 24-26 September 1999, Freiburg i.Br., Germany (25 p. in German)
  • “Thailand’s Corporate Governance“, paper presented in the annual Kyushu/Thammasat University Conference, “Economic Law Reform in the Aftermath of the Asian Crisis: Experiences of Japan and Thailand”, 20-21 March 2000, Thammasat University, Bangkok (8 p.)
  • “The Role of Buddhism in the Traditional Thai Legal Culture“, paper presented in Conference on Asian Law, 13.July 2002, Nagoya University, Nagoya, Japan (21 pages).
  • “Vom Norden gelernt: Thailands Informationsfreiheitsgesetz”, Informationsfreiheit:Symposium des Präsidenten des Schleswig-Holsteinischen Landtages und des Unabhängigen Landeszentrums für Datenschutz, 15.Dezember 2003, 11 pages (in German)
  • “The Thai Legal Tradition” in Legal Traditions of Southeast Asia, SEAMEO Centre for History and Tradition, Yangon, Mynmar, 2007, p.188-227.
  • “The ‘October Movement’ and the Transformation to Democracy”, in: Philipp Gassert and Martin Klimke (ed.), 1968: Memories and Legacies of a Global Revolt, Bulletin of the German Historical Institute, 6/2009, Washington D.C. 2009, pp.99-102
  • “King Rama V. and Constitutionalism in Thailand”, in: Pornsan Watanangura (Ed.), The Visit of King Chulalongkorn to Europe in 1907: Reflecting on Siamese History, Center for European Studies, Chulalongkorn University Press, Bangkok 2009, pp.114-132.
  • “Rezeption des deutschen Sachenrechts in Thailand bezüglich der Eigentumsübereignung und des gutgläubigen Erwerbs an beweglichen Sachen“, in Yu-Cheol Shin, Rezeption europäischer Rechte in Ostasien, Bobmunsa Verlag, Seoul 2013, pp.241-268
  • “Der Einfluß des deutschen Rechts auf das gemischte thailändische Rechtsystem:Rückblick und Ausblick, ”, in: Volker Grabowski (Hrsg.), Deutschland und Thailand: 150 Jahre Diplomatie und Völkerfreundschaft, Thai–Deutsches Symposium anlässlich des 150.Jahrestages der diplomatischen Beziehungen zwischen Deutschland und Thailand, Asien–Afrika–Institut, Universität Hamburg, 12.und 13. Mai 2012, Würzburg, Zenos Verlag 2014, pp.232–257

การสนับสนุนความผิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ แก้

กิตติศักดิ์สนับสนุนการดำรงอยู่ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และเห็นควรให้มาตรานี้เป็นส่วนหนึ่งของความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐดังที่เป็นอยู่ ตราบที่ประเทศไทยยังใช้การปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ก็เห็นด้วยว่า ปัจจุบัน โทษจำคุกสิบห้าปีนั้นเกินพอดี และการบังคับใช้มาตรานี้มีปัญหา[5]

การต่อต้านรัฐบาล แก้

กิตติศักดิ์สนับสนุน กปปส. ในการล้มล้างรัฐบาลพรรคเพื่อไทย เขาขึ้นปราศรัยโจมตีพรรคเพื่อไทยบนเวทีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลหลายครั้ง ทั้งยังสนับสนุนแนวคิดและปฏิบัติการหลายอย่างของ กปปส. เช่น การจัดตั้งสภาประชาชนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งให้มาปฏิรูปประเทศไทย และการยึดสถานที่ราชการซึ่งเขาเห็นว่า เป็นวิถีทางอันสันติ[6][7][8]

วันที่ 20 ธันวาคม 2556 กรมสอบสวนคดีพิเศษอายัดทรัพย์สินของเขาฐานสนับสนุนการเงิน กปปส. และออกหมายเรียกให้เขาไปรายงานตัว[9] ครั้นวันที่ 14 พฤษภาคม 2557 ศาลอาญาออกหมายจับเขาฐานเป็นกบฏ[10] ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562 อัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 ได้ยื่นฟ้องกิตติศักดิ์ในข้อหากบฏ ข้อหาเกี่ยวกับการชุมนุมข้อหาอื่น ๆ อาทิ เช่น ทำให้เกิดความวุ่นวาย บุกรุกและทำทรัพย์สินเสียหาย[11] จนกระทั่งในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ศาลอาญายกฟ้องกิตติศักดิ์ในต้องข้อหา โดยเห็นว่าการกระทำของกิตติศักดิ์เป็นการปราศรัยเชิงวิชาการ แสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ไม่พบการกระทำความผิดอื่น ๆ[11]

กิตติศักดิ์ให้ความเห็นหลังศาลยกฟ้อง ผ่านทางเฟสบุ๊กของตน ตอนหนึ่งว่า[12][13]

"...ผมเป็นเพียงนักวิชาการที่แสดงความคิดเห็นโดยไม่ได้ทำอะไรอย่างอื่น ศาลเมตตายกฟ้อง แต่ผู้ประท้วงหลายคนถูกตัดสินจำคุก อย่างไรเสีย ผมก็ยังหวังว่าหากมีเหตุไม่ถูกต้องเกิดขึ้น คนที่อาสาออกหน้าคัดค้านเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง จะไม่หมดสิ้นไป

แม้บางครั้ง ผลของการต่อสู้ อาจเป็นเหมือนหนีเสือ ปะจรเข้…ก็ตาม ..."

กรณีเป็นที่น่าสงสัย แก้

วันที่ 8 พฤษภาคม 2557 มีการเผยแพร่ในเฟซบุ๊กซึ่งข้อความเปิดเผยว่า กิตติศักดิ์ลอกเลียนผลงานทางวิชาการเรื่อง "กฎหมายเอกรูปเรื่องการซื้อขาย – ประสบการณ์ด้านกฎหมายเอกรูปเรื่องการซื้อขายในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี" (Uniform Sales Law – The Experience with Uniform Sales Laws in the Federal Republic of Germany) ของศาสตราจารย์เพเทอร์ ชเลชลีม (Peter Schlechliem) มาเป็นผลงานของตนเองชื่อ "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ ค.ศ. 1980" (The United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods of 1980) จนกลายเป็นกระแสในโลกอินเทอร์เน็ต ครั้นวันที่ 9 พฤษภาคม 2557 กิตติศักดิ์จึงยอมรับว่าลอกเลียนจริง โดยกล่าวว่าเป็นความผิดของตนเองที่ไม่ได้ระบุชื่อศาสตราจารย์ชเลชลีม และศาสตราจารย์ชเลชลีมเป็นอาจารย์ของตน เขายังกล่าวว่าผลงานที่เขาทำขึ้นนั้นเป็นเพียงเอกสารประกอบการบรรยาย (lecture note) ซึ่งแจกในการบรรยายเท่านั้น ไม่ได้เผยแพร่ทั่วไป[14]

วันที่ 10 พฤษภาคม 2557 ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นกรรมการประเมินความดีความชอบเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนของคณะ เปิดเผยว่ากิตติศักดิ์ได้ยื่นผลงานดังกล่าวเพื่อใช้ประเมินความดีความชอบของตน และเสนอผลงานนี้ในการประชุมระหว่างประเทศด้วย เมื่อคณะกรรมการประเมินความดีความชอบสังเกตเห็นความผิดปรกติ กิตติศักดิ์ชี้แจงว่าเป็นความผิดพลาดของผู้ช่วย เป็นความรีบร้อนไม่ทันระวัง และเป็นความผิดพลาดทางเทคนิค แต่ประสิทธิ์เห็นว่าฟังไม่ขึ้น เพราะมีการแก้ข้อความเดิมหลายส่วนชนิดที่ถ้ารีบร้อนคงทำไม่ได้และผู้ช่วยคงไม่กล้าทำ นอกจากนี้กิตติศักดิ์ยังชี้แจงว่าที่ทำไปนั้นเพราะต้องการเผยแพร่ผลงานของศาสตราจารย์ชเลชลีม แต่ประสิทธิ์ตั้งคำถามว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เหตุใดจึงแก้ชื่อศาสตราจารย์ชเลชลีมมาเป็นชื่อตน อย่างไรก็ดีคณะไม่ได้ดำเนินการอย่างไรกับกรณีนี้[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ข้อมูลนักวิชาการ (กิตติศักดิ์ ปรกติ, ผศ.ดร.)". Topscholar. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-07. สืบค้นเมื่อ 2014-05-11. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. "เกี่ยวกับคณะ: คณาจารย์". คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-12. สืบค้นเมื่อ 2014-05-11. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. 3.0 3.1 "กิตติศักดิ์ ปรกติ". Faculty of Law | Thammasat University.
  4. "ประวัติกรรมการสภามหาวิทยาลัย (กิตติศักดิ์ ปรกติ". มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-05-11. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. "กิตติศักดิ์ ปรกติ: ต้องยกย่องสถาบันให้ดำรงอยู่อย่างมีเหตุผลสอดคล้องกับหลัก ปชต". สำนักข่าวอิศรา. 2012-02-06. สืบค้นเมื่อ 2014-05-11.
  6. "กิตติศักดิ์ย้ำสภาประชาชนมีได้ตามรัฐธรรมนูญ รัฐละเมิดประชาชนมีสิทธิปกป้อง". ผู้จัดการ. 2013-11-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-12. สืบค้นเมื่อ 2014-05-11.
  7. "กิตติศักดิ์ ปรกติ ขึ้นเวทีต้านระบอบทักษิณ ชี้เป็นรัฐบาลนอกกฎหมายหลังปฏิเสธศาล รธน". ประชาไท. 2013-11-28. สืบค้นเมื่อ 2014-05-11.
  8. "กิตติศักดิ์อ้างชัยวัฒน์ยึดสถานที่ราชการเป็นสันติวิธีเชิงรุก". ประชาไท. 2013-11-29. สืบค้นเมื่อ 2014-05-11.
  9. "อายัดเพิ่ม 20 แนวร่วม กปปส. กบฏ!". คมชัดลึก. 2013-12-20. สืบค้นเมื่อ 2014-05-11.
  10. "ศาลออกหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. รอด 13". ผู้จัดการ. 2014-05-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-14. สืบค้นเมื่อ 2014-05-14.
  11. 11.0 11.1 ศาลยกฟ้อง ‘กบฏ’ กปปส.ชุดเล็ก แต่ลงโทษข้อหาอื่นๆคุก 6เดือน-5 ปี 9 เดือน ‘ตั๊น’โดน9เดือน , มติชน
  12. facebook : kittisak.prokati
  13. ก้อง (2023-12-03). "'กิตติศักดิ์ ปรกติ' เปิดใจหลังศาลยกฟ้อง คดีกบฎ กปปส".
  14. "ประมวลวิวาทะ เมื่องานวิชาการของกิตติศักดิ์ ปรกติ เหมือนกับผลงานของโปรเฟสเซอร์เยอรมัน?". มติชน. 2014-05-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-12. สืบค้นเมื่อ 2014-05-11.
  15. ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช (2014-05-10). "ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช: ตอบอาจารย์กิตติศักดิ์ ปรกติกรณี Lecture Notes เรื่อง อนุสัญญาว่าด้วยเรื่องซื้อขายระหว่างประเทศ (CISG)". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 2014-05-11.
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๙๔, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๙๙, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒๐๐, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๕
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๕๑, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙

แหล่งข้อมูลอื่น แก้