กรมสอบสวนคดีพิเศษ

หน่วยงานสังกัดกระทรวงยุติธรรม

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (อังกฤษ: Department of Special Investigation) หรือ ดีเอสไอ (อังกฤษ: DSI) เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัด กระทรวงยุติธรรม เพื่อป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

กรมสอบสวนคดีพิเศษ

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (อาคารทางด้านซ้าย)
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร เฉพาะคดีที่คณะกรรมการคดีพิเศษมีมติให้เป็นคดีพิเศษ
สำนักงานใหญ่128 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
งบประมาณประจำปี1,113.1245 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ[2], รักษาราชการแทนอธิบดี
  • พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล, รองอธิบดี(1)
  • พ.ต.ท.สุภัทร์ ธรรมธนารักษ์, รองอธิบดี(2)
  • พ.ต.อ.อัครพล บุณโยปัษฎัมภ์, รองอธิบดี(3)
  • พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์, รองอธิบดี(4)[3]
ต้นสังกัดกระทรวงยุติธรรม
เว็บไซต์http://www.dsi.go.th/ www.dsi.go.th

ประวัติ

กรมสอบสวนคดีพิเศษก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Department of Special Investigation มีชื่อย่อว่า DSI

ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งย้าย นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2558 ให้ พ.ต.อ.นิรันดร์ อดุลยาศักดิ์ หยุดปฏิบัติหน้าที่และไปประจำสำนักงานปลัดกระทรวง[4] และมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 5/2560 ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจพิเศษในฐานะเจ้าพนักงานในการเข้าควบคุมพื้นที่ วัดธรรมกาย

คณะกรรมการคดีพิเศษ

คณะกรรมการคดีพิเศษชุดปัจจุบัน (2 มกราคม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน)[5]
1. นาย ธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
2. นาย สราวุธ เบญจกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการธนาคาร
3. พลตำรวจเอก ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
4. พลตำรวจโท ปัญญา เอ่งฉ้วน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอบสวนคดีอาญา
5. นาย รวี ประจวบเหมาะ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความมั่นคงประเทศ
6. ดร. มานะ นิมิตรมงคล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
7. ดร. ภาสกร ประถมบุตร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
8. ดร. พันธุ์ทิพย์ นวานุช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
9. ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์

อำนาจหน้าที่

กรมสอบสวนคดีพิเศษมีบทบาทภารกิจดังต่อไปนี้[6]

  1. รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  2. ป้องกัน ปราบปราม สืบสวน และสอบสวนคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคดีพิเศษประกาศกำหนดหรือตามมติของคณะกรรมการคดีพิเศษ ตลอดจนปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับ ความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษ
  3. ศึกษา รวบรวม จัดระบบ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และเพื่อป้องกัน ปราบปราม สืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษ
  4. จัดให้มีการศึกษา อบรม และพัฒนาระบบงานการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษการพัฒนาความรู้และการประเมินสมรรถภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างของกรม และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษหรือไม่
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
  6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

หน่วยงานในสังกัด

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองกฎหมาย
  • กองกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ
  • กองคดีการค้ามนุษย์
  • กองคดีการเงินการธนาคารและการฟอกเงิน
  • กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ
  • กองคดีความมั่นคง
  • กองคดีคุ้มครองผู้บริโภค
  • กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • กองคดีทรัพย์สินทางปัญญา
  • กองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ
  • กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ
  • กองคดีภาษีอากร
  • กองเทคโนโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ
  • กองนโยบายและยุทธศาสตร์
  • กองบริหารคดีพิเศษ
  • กองปฏิบัติการคดีพิเศษภาค
  • กองปฏิบัติการพิเศษ
  • กองพัฒนาและสนับสนุนคดีพิเศษ[7]

คดีที่อยู่ในความรับผิดชอบ

คดีพิเศษ หรือคดีอาชญากรรมพิเศษในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หมายถึง คดีอาญาตามกฎหมายกำหนดไว้ในบัญชีท้าย พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551) หรือคดีอาญาที่ได้กำหนดเป็นกฎกระทรวงโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ซึ่งคดีดังกล่าวต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. คดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ
  2. คดีความผิดทางอาญาที่มีหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนความมั่งคงของประเทศความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
  3. คดีความผิดทางอาญาทีมีลักษณะเป็นคดีความผิดข้ามชาติที่สำคัญหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม
  4. คดีความผิดทางอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน
  5. คดีความผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมิใชพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษเป็นผู้ต้องสงสัยเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าน่าจะได้กระทำความผิดอาญา หรือเป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหา

ทั้งนี้การกระทำความผิด ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฯ หรือคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงฯ จะเป็นคดีพิเศษจะต้องเข้าลักษณะตาม (1) – (19)[8] และเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ได้มีการกำหนดลักษณะของการกระทำความผิด อาทิ มูลค่าความเสียหาย จำนวนผู้กระทำความผิดไว้ในประกาศ กคพ. เรื่องการกำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 (แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2551)

ทำเนียบอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ

รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พลตำรวจโท นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 23 กันยายน พ.ศ. 2546
2. พลตำรวจเอก สมบัติ อมรวิวัฒน์ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 – 9 มกราคม พ.ศ. 2550
3. นายสุนัย มโนมัยอุดม 16 มกราคม พ.ศ. 2550 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
4. พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง 11 เมษายน พ.ศ. 2551 – 29 กันยายน พ.ศ. 2552
5. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ 29 กันยายน พ.ศ. 2552 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (รักษาการ)
19 ตุลาคม พ.ศ. 2552 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557[9]
6. พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (รักษาการ)
27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557
7. นางสุวณา สุวรรณจูฑะ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (รักษาการ)[10]
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558[11]
8. นายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (รักษาการ)[12]
9. พันตำรวจเอก ไพสิฐ วงศ์เมือง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (รักษาการ)[13]
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[14] – 2 เมษายน พ.ศ. 2563[15]
10. พันตำรวจโท กรวัชร์ ปานประภากร 15 มิถุนายน พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564
11. นายแพทย์ ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 17 มกราคม พ.ศ. 2566
12. พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล 18 มกราคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน (รักษาการ)

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ มือปราบคดีเสื้อแดง 99 ศพ นั่งรักษาการ ‘อธิบดีดีเอสไอ’
  3. ประกาศแต่งตั้งรองอธิบดี
  4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
  5. คณะกรรมการคดีพิเศษ
  6. กรมสอบสวนคดีพิเศษมีบทบาทภารกิจ
  7. หน่วยงานในสังกัด
  8. ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฯ
  9. อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
  10. อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ[ลิงก์เสีย]
  11. อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
  12. ยกเลิกตั้ง'กอบเกียรติ'รรท.DSI พร้อมดัน'ไพสิฐ'เข้ารับไม้ต่อ
  13. ยกเลิกตั้ง'กอบเกียรติ'รรท.DSI พร้อมดัน'ไพสิฐ'เข้ารับไม้ต่อ
  14. อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ[ลิงก์เสีย]
  15. อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ

แหล่งข้อมูลอื่น

13°53′25″N 100°33′56″E / 13.890401°N 100.565656°E / 13.890401; 100.565656