การแปรรูปชา คือ กรรมวิธีในการแปรรูปใบไม้จากต้นชา Camellia sinensis ให้กลายเป็นใบชาแห้ง เพื่อนำไปต้มเป็นน้ำชาต่อไป ชาสามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ตามกรรมวิธีการแปรรูป โดยทั่วไป การบ่มใบชาจะมีกระบวนการทำปฏิกิริยาเคมีของใบชากับออกซิเจน จากนั้น เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดลง ก็จะเป็นกระบวนการตากแห้ง รสชาเฉพาะตัวของชาจะถูกกำหนดโดยพันธุ์ของชาที่คัดมาเพาะปลูก, คุณภาพของใบชาที่เก็บเกี่ยวได้, และกรรมวิธีการแปรรูปและผลิตเป็นใบชาแห้ง หลังผ่านกระบวนการแปรรูปแล้ว ชาชนิดหนึ่งอาจถูกนำไปผสมกับชาชนิดอื่น หรือสารปรุงแต่งรสและกลิ่น เพื่อปรับเปลี่ยนรสชาติของชาในที่สุด

Tea leaf processing methods for the six most common types of tea

ประวัติของการบ่มใบชา แก้

 
An 1850 British engraving showing tea cultivation and tea leaf processing

ประวัติของการแปรรูปชาเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้งกับบทบาทของชาในสังคมจีน และวิธีการเลือกบริโภคชาในสังคมจีนสมัยโบราณ

ชาเขียว แก้

สังคมจีนสมัยโบราณค้นพบต้นชาครั้งแรกในส่วนที่เป็นประเทศจีนตอนใต้ในปัจจุบัน และได้นำมาทำเป็นยาเพื่อใช้เป็นสมุนไพรแบบจีน กระบวนการที่ใช้ในการแปรรูปชาในสมัยนั้น ใช้วิธีการนึ่งใบชาสดแล้วนำไปตากแห้งเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน ซึ่งถือเป็นวิธีการแปรรูปใบชาแบบโบราณที่สุด กระบวนการนี้ได้รับการพัฒนาจนสมบูรณ์แบบในราว ๆ สมัยราชวงศ์ฮั่น (260 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220) และผลิตใบชาแห้งที่เรียกว่า ชาเขียว ในปัจจุบัน และค่อนข้างคล้ายกับชาเขียวญี่ปุ่น ที่เรียกว่า Sencha เมื่อต้องการบริโภค ใบชาแห้งจะถูกนำมาสกัดด้วยไอน้ำร้อนพร้อมกับสมุนไพรอื่น ๆ หรือ นำไปบดเป็นผงเพื่อรับประทานหรือเพื่อผสมน้ำเป็นน้ำชา หลังจากที่วิชาการสมุนไพรจีนมีการใช้ชามากขึ้น กระบวนการแปรรูปใบชาจึงเริ่มเปลี่ยนไป โดยใบชาเขียวจะไม่ถูกนำไปถูกตากแห้งทันทีหลังจากนึ่ง แต่ใบชาจะถูกนำไปบดให้ละเอียดก่อน จากนั้นจึงปั้นเป็นก้อน แล้วค่อย ๆ แห้งกลายเป็นก้อนชา ซึ่งเป็นเทคนิคที่ Lu Yu อธิบายไว้ในผลงานของเขาที่ชื่อว่า The Classic of Tea ใบชาอ่อนและยอดชาส่วนใหญ่จะไม่ถูกนำมาใช้ เนื่องจากใบชาที่แก่เต็มที่จะเหมาะกับการบ่มชามากกว่า ก้อนชาบางประเภทก็ถูกผลิตขึ้นจากใบชาแก่ ซึ่งปกติจะต้องมีการใช้น้ำต้มข้าวเพื่อช่วยยึดชาเป็นก้อนเข้าด้วยกัน กระบวนการผลิตชาเป็นก้อนน่าจะได้รับความนิยมเนื่องจากสามารถขนส่งและเก็บรักษาไว้ได้ง่าย

ชาเหลืองและชาที่ผ่านการหมัก แก้

การใช้ไอน้ำในการตรึงเอนไซม์ในใบชาเป็นกระบวนการสำคัญในการแปรรูปชา โดยจะต้องนำใบชาไปผ่านความเย็นอย่างรวดเร็วเพื่อผ่านกระบวนการต่อไป กระบวนการในอดีตที่ไม่เข้มงวดมากนักในอดีตทำให้เกิด ชาเหลือง เมื่อใบชาถูกนึ่งจนนานเกินไปสำหรับการตรึงเอนไซม์ หรือถูกนำไปแผ่ รีดน้ำ และทำให้เย็นลงช้าเกินไป ถึงแม้ว่าชาเขียวจะได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วงเวลาของ Lu Yu แต่เขาก็คิดว่าชาเหลืองเป็นชาที่ดีกว่าชาเขียว[1] ถึงแม้ว่าใบชาจะถูกทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าหากว่าใบชาถูกกองรวมกันนานเกินไปกว่าจะผ่านกระบวนการแปรรูป ใบชาก็จะเกิดการหมักที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และกลายเป็น ใบชาที่ผ่านการหมัก เทคนิคนี้คล้ายกับการหมักปุ๋ย แต่จะมีกรรมวิธีที่รัดกุมกว่า และยังมีการใช้กรรมวิธีนี้ในการผลิตชาหลิวอันอยู่ทุกวันนี้ รวมไปถึงการเริ่มใช้วิธีนี้ในการผลิตชาผู่เอ้อแบบสุกงอม การผลิตชาแบบเป็นก้อนและการเก็บรักษา ทำให้เกิดชาที่ผ่านการหมักอีกประเภทหนึ่ง ที่ถูกผลิตโดยการบ่ม โดยกระบวนการขนส่งที่ยาวนานและการเก็บรักษาในแต่ละช่วงวันทำให้ก้อนชาได้รับการบ่มจากแบคทีเรียและจุลินทรีย์ต่าง ๆ ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน และเกิดการหมักของก้อนชาเขียว ทั้งนี้ ก้อนชาเขียวที่ผ่านการบ่มหมักแล้วจะถูกนำไปผิงบนถ่านเพื่อกำจัดสิ่งปฏิกูล ฝุ่นผง และจุลินทรีย์ที่เติบโตอยู่ออกไป ก่อนที่จะถูกนำไปบดเป็นผง ปรุงแต่ง และนำไปบริโภค ในช่วงสุดท้ายของราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – 907) ชาเขียว ชาเหลือง และชาที่ผ่านการหมัก ได้รับความนิยมโดยทั่วไปในประเทศจีน และเปลี่ยนจากการถูกใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสมุนไพรจีนโดยเฉพาะ มาเป็นเครื่องดื่มเพื่อความสำราญ[1]

ชาอูหลงและชาขาว แก้

ชาอูหลงได้รับการคิดค้นขึ้นในช่วงราชวงศ์ถังในมณฑลฝูเจี้ยน ในช่วงแรก ชาอูหลงถูกผลิตขึ้นในรูปแบบที่เป็นก้อนที่เรียกว่า ชาเบ่ยหยวน ความสำคัญของกระบวนการเพื่อผลิตชาอูหลงได้รับการพรรณนาไว้โดยกวีที่ชื่อ หวงฟู่เหริน ในบทกวีของเขาที่ชื่อว่า "送陸鴻漸棲霞寺采茶" ซึ่งระบุไว้ว่ากระบวนการแปรรูปชานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยต้องมีการปีนภูเขาสูงชันเพื่อเลือกเก็บใบชาที่ดีที่สุด และต้องตากแห้งใบชาภายใต้แสงอาทิตย์และสายลมอันอบอุ่น[2]

ชาขาวได้รับการคิดค้นขึ้นในมณฑลฝูเจี้ยนเช่นกัน และได้รับการพูดถึงครั้งแรกในเอกสารของราชวงศ์ซ่งที่ชื่อว่า Treatise on Tea (大觀茶論) โดยระบุถึงการใช้ยอดชาอ่อนในการผลิตชาขาว ความยุ่งยากในการแปรรูป รสชาติของชาขาว และความหายากของใบชาชนิดนี้ [3]นอกจากนี้ กระบวนการผลิตชาขาวได้ถูกบรรยายไว้โดยนักเขียนสมัยราชวงศ์หมิงที่ชื่อว่า เถียนยี่เหิง (田艺蘅) ในเอกสารที่ชื่อว่า 煮泉小品 (เขียนขึ้นในปีที่ 33 ของการครองราชย์ของจักรพรรดิเจียง) เกี่ยวกับชาขาวฝูดิ้ง (福鼎白茶) ในผลงานชิ้นนี้ เขาระบุว่ายอดชาอ่อนที่ถูกนำไปผ่านกระบวนการตรึงเอนไซม์โดยการผ่านเปลวไฟนั้น (เช่นเดียวกับชาเขียว) มีคุณภาพเป็นรองชาขาวที่ถูกนำไปผึ่งให้แห้งด้วยแสงอาทิตย์ เนื่องจากรสชาติจะเป็นธรรมชาติมากกว่า และจะไม่มีรสชาติไหม้จากควันและเปลวไฟ [4]

ชาแดง แก้

เทคนิคการผลิตชาแดงถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในช่วงปลายราชวงศ์หมิง โดยเกิดจากการทำปฏิกิริยาของใบชาอูหลงกับออกซิเจนนานเกินไป [5] หรือเกิดขึ้นทางอ้อมจากกระบวนการผลิตชาเขียวและชาขาว[6] ในช่วงแรกของคริสต์ศักราช 1600 ผู้ผลิตชาในทิวเขาอู่อี๋ เริ่มทำการนวดใบชาแห้งเพื่อทำให้ใบชานิ่มลง จากนั้นตากให้แห้งใต้แสงอาทิตย์ เพื่อให้เกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนได้เต็มที่ กลายเป็น "ชาแดงกงฟู" (工夫紅茶).[6] เมื่อมีแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอหรืออุณหภูมิต่ำ ใบชาที่แห้งแล้วจะถูกแปรรูปในที่ร่มในห้องที่รักษาอุณหภูมิให้อบอุ่นและทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเต็มที่ แล้วจึงรมควันเหนือไฟจากฟืนที่ทำจากไม้สน กลายเป็นชาที่เรียกว่า ลี่ซานเสียวจ่ง (小種紅茶/正山小種)[6] จากคำบอกเล่าในพื้นที่ การคิดค้นกระบวนการผลิต lapsang souchong เกิดขึ้นจากหน่วยทหารที่เดินทางผ่านโรงงานชาอู่อี๋ในช่วงสุดท้ายของราชวงศ์หมิง ทำให้เกิดความล่าช้าในการแปรรูปชา ใบชาจึงเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนอย่างเต็มที่ ผู้ผลิตชาจึงพยายามเก็บใบชาเท่าที่จะพอใช้ได้โดยการนำไปผึ่งไฟที่ก่อขึ้นจากฟืนไม้สน[7] จนเมื่อถึงราชวงศ์ชิง ทั้งชาลี่ซานเสียวจ่ง และชาแดงกงฟูได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในประเทศจีน และได้รับการบันทึกไว้ใน "บันทึกจากเทือกเขาอู่อี๋" (武夷山志) โดยนักปราชย์ชื่อ ต่งเทียนกง (董天工)


อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 关, 剑平 (2001), 茶与中国文化, 北京: 人民出版社, ISBN 9787010033860
  2. 皇, 甫冉, "送陸鴻漸棲霞寺採茶", 全唐詩, 249
  3. 趙, 佶關 (1107), 大觀茶論
  4. 田, 艺蘅 (1554), "宜茶", 煮泉小品
  5. 烏龍茶工藝史考證, ChaLib, 2009, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-28, สืบค้นเมื่อ 2014-08-20
  6. 6.0 6.1 6.2 中国红茶的起源, 2011-05-07
  7. 邹, 新球 (2013-09-11), 武夷正山小种红茶的起源, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-17, สืบค้นเมื่อ 2014-08-20

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "wuyi" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "CKP" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "true" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "twt" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "hg" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "bev" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

แม่แบบ:Teas