ชาแดง (จีน: 紅茶, hóngchá, [xʊ̌ŋʈʂʰǎ]) หรือ ชาดำ (อังกฤษ: black tea) เป็นชาประเภทหนึ่งมีกระบวนการหมักที่ยาวนานมากกว่าชาอูหลง ชาเขียวและชาขาว[1] ชาแดงมีรสชาติที่เข้มข้นที่สุดจากประเภทของชาทั้งหมด โดยส่วนมากผลิตจากต้นชาสายพันธุ์อินเดีย (C. sinensis subsp. assamica )

ชาแดง
ไร่ชาในชวา อินโดนีเซีย

ในภาษาทางตะวันตกเรียกในความหมายว่า "ชาดำ" (อังกฤษ: black tea, ฝรั่งเศส: thé noir, เยอรมัน schwarzer Tee, สเปน: té negro, โปรตุเกส chá preto, อิตาลี: tè nero, เวียดนาม: trà đen) แต่ในภาษาจีนและภาษาอื่น ๆ ทางเอเชียเรียกในความหมายว่า "ชาแดง" (จีน: 紅茶 hóngchá, ญี่ปุ่น: 紅茶 kōcha, เกาหลี: 홍차 hongcha, เบงกอล: লাল চা Lal cha, อัสสัม: ৰঙা চাহ Ronga sah) เนื่องมาจากสีของน้ำชาที่ผ่านการต้ม

ประเภทของชาแดง แก้

โดยปกติแล้วชาแดงถูกเรียกแตกต่างกันไปตามประเทศที่ผลิต ซึ่งชาแต่ละที่จะมีรสชาติกลิ่นหอมที่แตกต่างกันและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตารางด้านล่างเป็นตัวอย่างของชาจากประเทศต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง

ประเทศ ชื่อ ชื่อพื้นเมือง ต้นกำเนิด คำอธิบาย
จีน ชากงฟู (工夫茶) ถ่านหยางกงฟู Tǎnyáng-gōngfū (坦洋工夫) ถ่านหยาง, นครฝูอาน, มณฑลฝูเจี้ยน เป็นที่สุดของชาแดงฝูเจี้ยน

เป็นหนึ่งในชาที่มีชื่อเสียงของชาแดงฝูเจี้ยน[2]

เจิ้งเหอกงฟู Zhènghé-gōngfu (政和工夫) เจิ้งเหอ, มณฑลฝูเจี้ยน เป็นหนึ่งในชาที่มีชื่อเสียงของชาแดงฝูเจี้ยน มีรสชาติของน้ำผึ้ง[2]
ไป๋หลินกงฟู Báilín-gōngfu (白琳工夫) ไป๋หลิน, นครฝูติ่ง, มณฑลฝูเจี้ยน เป็นหนึ่งในชาที่มีชื่อเสียงของชาแดงฝูเจี้ยน[2]
ลี่ซาน เสียวจ่ง

(立山小種)

เจิ้งซานเสียวจ่ง Zhèngshān-xiăozhŏng (正山小种) ทิวเขาอู่อี๋, มณฑลฝูเจี้ยน เป็นชาที่ผ่านการอบแห้งแบบจีน ซึ่งเป็นการอบแห้งด้วยไม้สน จึงมีกลิ่นควันไม้
อิ๋นจวิ้นเหมย์ yínjùnméi (银骏眉) เป็นชาคุณภาพสูง
ชาจินจวิ้นเหมย์ jīnjùnméi (金骏眉) เป็นหนึ่งในชาแดงคุณภาพสูง
ชาแดงฉีเหมิน Qímén-hóngchá (祁门红茶) อำเภอฉีเหมิน, มณฑลอานฮุย เป็นชาที่มีความหอม คล้ายกลิ่นกล้วยไม้ และ กลิ่นผลไม้ และมีความฝาดเพียงเล็กน้อย
ชาแดงเตียนหง Yúnnán-hóngchá (云南红茶) / diānhóng (滇红) มณฑลยูนนาน เป็นที่รู้จักในชื่อชาแดงอ่อน
ชาแดงอิงเต๋อ Yīngdé-hóngchá (英德红茶) นครอิงเต๋อ, มณฑลกวางตุ้ง เป็นชาที่มีกลิ่นคล้ายโกโก้ มีรสชาติหวานและเผ็ดร้อน
จิ๋วฉวี่หงเหมย์ jiǔ-qǔ-hóng-méi (九曲红梅) หางโจว, มณฑลเจ้อเจียง
อินเดีย อัสสัม (อังกฤษ: assum) Ôxôm cah (অসম চাহ) รัฐอัสสัม เป็นชาสีเข้มมีรสชาติเข้มข้น นิยมเป็นชาพื้นฐานในการผสมกับชาอื่นๆ[ต้องการอ้างอิง][3]
ดาร์จีลิง[4] (อังกฤษ: Darjeeling) Dārjiliṁ cā (দার্জিলিং চা) รัฐเบงกอลตะวันตก เป็นชาสีทองสว่างกลิ่นอันหอมละมุนคล้ายกลิ่นดอกไม้ รสชาติออกฝาดเล็กน้อย
คานกรา (อังกฤษ: Kangra) Kāngada cāy (कांगड़ा चाय) Kangra District, รัฐหิมาจัลประเทศ ชาสีคล้ายสุราซีด มีกลิ่นผสมผสานระหว่างใบโหระพา อบเชย พลัม บลูเบอร์รี่และมีลักษณะคล้ายชาจีน มีกลิ่นฉุกคล้ายใบไม้สด
มุนนาร์ (อังกฤษ: Munnar) Mūnnār cāya (മൂന്നാർ ചായ) Munnar Town, Idukki District, รัฐเกรละ ชาสีทองเข้ม มีรสชาติของผลไม้ ให้ความรู้สึกกระฉับกระเฉง
ชามุนนาร์มีกลิ่นหอมระดับปลานกลาง
นิลกิริ (อังกฤษ: Nilgiri) Nīlakiri tēnīr (நீலகிரி தேநீர்) Nilgiris District, รัฐทมิฬนาฑู ชาที่มีกลิ่นหอมเข้มข้น
เกาหลี แจกโซล

Jaekseol (อังกฤษ: Bird's tongue)

jaekseol-cha (잭설차) Hadong County, South Gyeongsang Province
เนปาล เนปาลิ (อังกฤษ: Nepali) Nēpālī ciyā (नेपाली चिया) รสชาติคล้ายชาดาร์จีลิง กลิ่นคล้ายผลไม้
ศรีลังกา ซีลอน (อังกฤษ: Ceylon) Silōn tē (සිලෝන් තේ) เป็นชาสีเหลืองสดใส เป็นชาที่ใส่นมแล้วให้สีสวยงามที่สุด
ไต้หวัน ชาสุริยันจันทรา Rìyuè-tán-hóngchá (日月潭紅茶) ทะเลสาบสุริยันจันทรา, นครหนานโถว, เทศมณฑลหนานโถว เป็นชาสีทองน้ำผึ้ง

ผสมดอกหอมหมื่นลี้
ใบสะระแหน่และอบเชย

ตุรกี ริซ (อังกฤษ: Rize) Rize çayı Rize, Rize Province, Black Sea Region เป็นรสชาติเข้มข้น มีสีเข้ม

ชาเบลนด์ แก้

ชาเบลนด์ (อังกฤษ: Blends) คือชาที่เกิดจากการนำใบชาตั้งแต่สองชนิดมาผสมเข้าด้วยกันหรือเป็นการผสมส่วนผสมอื่น ๆ ที่มิใช่ชาเช่นดอกไม้ น้ำมันหอม ผลไม้แห้ง ซึ่งส่งผลให้ชาเกิดกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างไปจากเดิม มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มรสชาติหรือเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้มีชาอีกหลายตัวที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาใหม่เช่น ชาปรินซ์ ออฟ เวลส์ (อังกฤษ: Prince of Wales tea) ซึ่งเป็นชาที่ปรุงแต่ขึ้นเพื่อเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งเวลส์ และชาเอิร์ลเกรย์ซึ่งปรุงแต่งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ชาลส์ เกรย์ เอิร์ลเกรย์ที่ 2 เป็นต้น[5]

 
ชาเอิร์ลเกรย์
ชื่อ รายละเอียด
เอิร์ลเกรย์ ชาแดงผสมกับน้ำมันมะกรูด[1]
อิงลิชเบรกฟาสต์ เกิดจากการผสมชาอัสสัม ชาซีลอนและชาเคนยา นิยมทานคู่กับนมและน้ำตาล
อิงลิชอาฟเตอร์นูน เป็นชาที่มีส่วนผสมของชาหลายชนิด แต่หลัก ๆ จะเป็นการผสมกันระหว่าง ชาอัสสัม , ชาซีลอน, ชาอัฟริกัน หรือ ชาเคนย่า
ไอริชเบรกฟาสต์ ชาไอริชเบรกฟาสต์จะมีความเข้มข้นกว่าชาอิงลิชเบรกฟาสต์ เนื่องจากมีส่วนผสมของชาอัสสัมที่มากกว่า
มสาลาจาย เป็นชาแดงที่ผสมกับเครื่องเทศต่าง ๆ มีกลิ่นหอมเครื่องเทศ

การผลิต แก้

ผู้ผลิตชาแดงรายใหญ่ของโลกได้แก่[6]

 
ตราสัญลักษณ์ทไวนิงส์
บริษัท ชื่อการค้า ส่วนแบ่งการตลาด
ยูนิลีเวอร์ ลิปตัน 17.6%
พีจี ทิปส์
Associated British Foods ทไวนิงส์ 4.4%
Tata Global Beverages เท็ทลีย์ 4.0%

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Heiss, Mary Lou; Heiss, Robert J. (2007), The story of tea: a cultural history and drinking guide, Random House
  2. 2.0 2.1 2.2 Bressett, Ken. "Tea Money of China". International Primitive Money Society Newsletter (44, August 2001).
  3. "Tea production (2015-16)" (PDF). www.teaboard.gov.in. Tea Board of India. สืบค้นเมื่อ 23 September 2016.
  4. "Tea production (2015-16)" (PDF). www.teaboard.gov.in. Tea Board of India. Retrieved 23 September 2016.
  5. The Tao ofTea. "Vietnamese Tea". Archived from the originalon 2007-10-29. Retrieved 2008-01-30.
  6. "India the world’s largest producer and consumer of tea" เก็บถาวร 2018-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 5 January 2018.