การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ

การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ (อังกฤษ: imitative learning) เป็นประเภทของการเรียนรู้ทางสังคมที่พฤติกรรมใหม่เกิดขึ้นจากการเลียนแบบ[1] การเลียนแบบช่วยในการสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและความสามารถในการปรับอารมณ์ของตนสู่อารมณ์ของบุคคลอื่น นอกจากนี้ยังจำเป็นต่อพัฒนาการของประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหวและการดำเนินชีวิตทางสังคม[1] ความสามารถในการเลียนแบบการกระทำของบุคคลที่ถูกสังเกตสามารถพบได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์[1] โดยการเรียนรู้โดยการเลียนแบบมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากต่อมนุษย์ทางด้านการพัฒนาวัฒนธรรม[2] การเรียนรู้โดยการเลียนแบบแตกต่างจากการเรียนรู้โดยการสังเกต โดยการเรียนรู้โดยการเลียนแบบจะเป็นการทำตามพฤติกรรมที่แสดงจากผู้กระทำ ขณะที่การเรียนรู้โดยการสังเกตสามารถเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสังเกตพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์และผลที่ตามมาของพฤติกรรมนั้น และจากนั้นจะเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว

การเลียนแบบบิดาของบุตร

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Ganos C, Ogrzal T, Schnitzler A, Münchau A (September 2012). "The pathophysiology of echopraxia/echolalia: relevance to Gilles de la Tourette syndrome". Mov. Disord. 27 (10): 1222–9. doi:10.1002/mds.25103. PMID 22807284.
  2. Heyes C (Aug 5, 2012). "Grist and mills: on the cultural origins of cultural learning". Philos Trans R Soc Lond B Biol Sci. 367 (1599): 2181–91. doi:10.1098/rstb.2012.0120. PMC 3385685. PMID 22734061.