พฤติกรรม หมายความถึง การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ

ชีววิทยา แก้

ในมนุษย์ เชื่อกันว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาท และเป็นที่เชื่อกันทั่วไปว่า ความซับซ้อนในพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตสัมพันธ์กับความซับซ้อนของระบบประสาท ทั่วไปแล้ว สิ่งมีชีวิตที่มีระบบประสาทซับซ้อนกว่ามีความสามารถสูงกว่าในการเรียนรู้การตอบสนองใหม่ ๆ และดังนั้น จึงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

พฤติกรรมมีทั้งที่มีมาแต่กำเนิดหรือเกิดจากการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม การวิจัยปัจจุบันในโครงการจุลินทรีย์มนุษย์ (Human Microbiome Project) ชี้ความเป็นไปได้ที่ว่า พฤติกรรมมนุษย์อาจถูกควบคุมโดยองค์ประกอบของประชากรจุลินทรีย์ภายในร่างกายมนุษย์[1]

พฤติกรรมสามารถถือได้ว่าเป็นการแสดงออกของสิ่งมีชีวิตซึ่งเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว พฤติกรรมนำสัญญาณออกจากสิ่งมีชีวิตสู่สิ่งแวดล้อม[2]

จิตวิทยา แก้

พฤติกรรมมนุษย์ และพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตอื่นและกลไก สามารถเป็นได้ทั้งที่พบได้ทั่วไป ผิดปกติ ยอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ มนุษย์ประเมินการยอมรับได้ของพฤติกรรมโดยใช้บรรทัดฐานทางสังคมและควบคุมพฤติกรรมด้วยวิธีการควบคุมทางสังคม ในทางสังคมวิทยา พฤติกรรมถูกมองว่าไม่มีความหมาย คือ การไม่ถูกชี้นำโดยบุคคลอื่นและดังนั้นจึงเป็นการแสดงออกที่พื้นฐานที่สุดของมนุษย์ แม้ว่าพฤติกรรมสามารถมีส่วนในการวินิจฉัยความผิดปกติ อาทิ กลุ่มอาการออทิซึม (autism spectrum disorders) พฤติกรรมสัตว์ได้รับการศึกษาในจิตวิทยา พฤติกรรมวิทยา นิเวศวิทยาพฤติกรรม และชีวสังคมวิทยาเปรียบเทียบ ตามค่านิยมทางจริยธรรม พฤติกรรมมนุษย์ยังอาจขึ้นอยู่กับพฤติกรรมทั่วไป ผิดปกติ ที่ยอมรับได้หรือยอมรับไม่ได้ของผู้อื่น

พฤติกรรมกลายมาเป็นแนวคิดที่สำคัญในจิตวิทยาคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้วยการปรากฏขึ้นของกระบวนทัศน์ ที่ในภายหลังรู้จักกันในชื่อ "พฤติกรรมนิยม" (behaviorism) พฤติกรรมนิยมเป็นปฏิกิริยาต่อต้านจิตวิทยาที่ว่าด้วยองค์ประกอบของจิต (faculty psychology) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อมองลึกเข้าไปในจิตใจหรือทำความเข้าใจจิตใจโดยปราศจากประโยชน์ของการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมนิยมตั้งมั่นในการทำงานเฉพาะแต่กับสิ่งที่มองเห็นหรือจับต้องได้ และในมุมมองแรกเริ่มของจอห์น บี. วัตสัน ผู้ก่อตั้งสาขาวิชาดังกล่าว ไม่มีสิ่งใดจะอนุมานได้ในเรื่องธรรมชาติของอัตลักษณ์ที่เป็นก่อให้เกิดพฤติกรรมนั้น การเปลี่ยนแปลงมุมมองของวัตสันต่อมาและ "การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม" นำไปสู่การเป็นที่นิยมของการวางเงื่อนไขของผลของการกระทำ (operant conditioning) หรือ "พฤติกรรมนิยมสุดขั้ว" (radical behaviorism)

อ้างอิง แก้

  1. Mood and gut feelings at ScienceDirect[ลิงก์เสีย]
  2. Dusenbery, David B. (2009). Living at Micro Scale, p. 124. Harvard University Press, Cambridge, Mass. ISBN 978-0-674-03116-6.