เจแปนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 123

เจแปนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 123 เป็นเที่ยวบินภายในประเทศของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ ใช้เครื่องบินรุ่นโบอิง 747-146SR ทะเบียนอากาศยาน JA8119 เส้นทางจากท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวสู่ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ (อิตามิ)

เจแปนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 123
ภาพถ่ายของเครื่องบินที่เกิดอุบัติเหตุ
สรุปAccident
วันที่12 สิงหาคม ค.ศ. 1985
สรุปโครงสร้างเสียหายขณะบิน การระเบิดสูญเสียความดันกลางอากาศ ระบบควบคุมเครื่องบินล้มเหลว และการซ่อมบำรุงเครื่องบินที่ผิดพลาด
จุดเกิดเหตุภูเขาอตสึตากะ อูเอโนะ จังหวัดกุมมะ ญี่ปุ่น
36°0′5″N 138°41′38″E / 36.00139°N 138.69389°E / 36.00139; 138.69389
ประเภทอากาศยานโบอิง 747-146SR
ดําเนินการโดยเจแปนแอร์ไลน์
ทะเบียนJA8119
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว (ฮาเนดะ)
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ (อิตามิ)
ผู้โดยสาร509
ลูกเรือ15
เสียชีวิต520
รอดชีวิต4

ภายหลังขึ้นบินได้เพียง 12 นาที จึงเกิดการระเบิดขึ้นบริเวณท้ายเครื่องทำให้แพนหางดิ่งฉีกขาดเสียการควบคุมเครื่อง อีก 32 นาทีต่อมา จึงประสบอุบัติเหตุตกบริเวณหุบเขาอตสึตากะ ใกล้กับภูเขาทากามางาฮาระ ในจังหวัดกุมมะ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1985 มีผู้โดยสารเสียชีวิต 505 คน ลูกเรือ 15 คน รวมผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 520 คน และมีผู้รอดชีวิต 4 คน ซึ่งหนึ่งในผู้เสียชีวิตในครั้งนี้คือ คีว ซากาโมโตะ นักร้องชื่อดังเจ้าของเพลงสุกี้ยากี้ [1]

นับเป็นเหตุการณ์อุบัติเหตุทางการบินที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตในอากาศยานลำเดียวที่มากที่สุดในโลก และเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่มีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากภัยพิบัติท่าอากาศยานเตเนริเฟ[2]

คนญี่ปุ่นเรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่คนญี่ปุ่นทำร้ายคนญี่ปุ่นจนถึงแก่ชีวิตมากที่สุดรองจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2

อากาศยาน แก้

อากาศยานที่เกิดเหตุรุ่นโบอิง 747-100SR ทะเบียนหมายเลข JA8119 ขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1974 ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุมีชั่วโมงการบินที่ 25,030 ชั่วโมง และ 18,835 รอบบิน (รอบการขึ้นบินและลงจอด)[3]

รายละเอียดเหตุการณ์ แก้

 
เส้นทางการบินของ JAL123

เที่ยวบินที่ 123 ออกเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว (ฮาเนดะ) ที่รันเวย์ 16L[4] เวลา 18.12 น. เพื่อเดินทางสู่ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ (อิตามิ) หลังจากทะยานขึ้นฟ้าไปได้ 12 นาที[5] ที่ความสูง 24,000 ฟุต (7,300 เมตร) บริเวณเหนืออ่าวซางามิ ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นบริเวณบริเวณด้านท้ายลำตัวเครื่อง ทำให้ระบบไฮดรอลิกในการควบคุมเครื่องมีปัญหา การระเบิดที่บริเวณดังกล่าวคือบริเวณแผงกั้นปรับความดันอากาศท้าย (Rear Pressure Bulkhead) ฉีกขาด ทำให้เครื่องสูญเสียความดันอย่างรุนแรง นอกจากนี้จากแรงระเบิดทำให้แพนหางดิ่งฉีกขาดหลุดลอยไป[6]ทำให้ไม่สามารถควบคุมเครื่องเลี้ยวซ้ายขวาได้ ซึ่งมีผู้สามารถบันทึกภาพแพนหางเครื่องที่ฉีกขาดไว้ได้จากพื้นดิน

กัปตันจึงตัดสินใจบังคับเครื่องกลับสู่ชายฝั่ง และพยายามวิทยุขอความช่วยเหลือไปที่หอบังคับการบินโตเกียวเพื่อขออนุญาตนำเครื่องกลับไปร่อนลงฉุกเฉินที่โตเกียว และขอความช่วยเหลือไปที่ฐานทัพอากาศอเมริกาที่โยโกตะซึ่งอยู่ใกล้เส้นทางการบินมากที่สุด

 
ภาพวาดเครื่องบิน JL123 ก่อนที่จะสูญเสียแพนหางดิ่ง

เนื่องจากต้องรีบนำเครื่องกลับไปที่โตเกียวให้ได้อย่างเร็วที่สุด กัปตันพยายามตีวงเลี้ยวกับไปที่โตเกียวหลายครั้ง แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก จนในที่สุดเครื่องก็เสียการทรงตัว เพดานการบินลดลง กัปตันพยายามเชิดหัวขึ้นและกางแฟลปแต่ไม่เป็นผล จนกระทั่งเครื่องบินกระแทกกับภูเขาบริเวณหุบเขาอตสึตากะ

รวมระยะเวลานับตั้งแต่การระเบิดจนเครื่องตกทั้งสิ้น 32 นาที ผู้โดยสารบนเครื่องต่างมีเวลาในการบันทึกข้อความสั่งเสียถึงครอบครัว[7] ซึ่งหน่วยกู้ภัยมาพบเห็นภายหลัง ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ภายในศูนย์ยกระดับความปลอดภัยของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ ท่าอากาศยานโตเกียว (ฮาเนดะ)

เหตุการณ์ภายหลังเครื่องบินตกถูกวิพากวิจารณ์อย่างมากเนื่องจากทางการประเทศญี่ปุ่นปฏิเสธความช่วยเหลือจากประเทศสหรัฐซึ่งมีฐานทัพอากาศในบริเวณนั้นได้ติดต่อเข้ามาว่าต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ การตัดสินใจนั้นทำให้มีคนตายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นความหยิ่งยโสที่ไม่จำเป็น

สาเหตุ แก้

 
ภาพการซ่อมแซมที่ถูกวิธีและผิดวิธี

จากรายงานของคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุทางอากาศของญี่ปุ่น ได้สรุปสาเหตุไว้ดังนี้

  1. อากาศยานลำดังกล่าวเคยประสบอุบัติเหตุขณะร่อนลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1978 บริเวณท้ายลำกระแทกกับพื้นรันเวย์ทำให้บริเวณแผงกั้นปรับความดันอากาศท้ายเครื่องได้รับความเสียหาย
  2. การซ่อมแซมบริเวณแผงกั้นปรับความดันอากาศท้ายเครื่อง ไม่เป็นไปตามขั้นตอนและมาตรฐานของผู้ผลิต[8]
  3. เมื่อแผงกั้นปรับความดันอากาศระเบิดออก ทำให้ระบบไฮดรอลิกควบคุมเครื่องทั้งสี่ระบบไม่สามารถทำงาน อีกทั้งแรงระเบิดทำให้แพนหางดิ่งท้ายเครื่องฉีกขาด ทำให้ไม่สามารถบังคับเครื่องได้

ผลของอุบัติเหตุ แก้

ภายหลังอุบัติเหตุภาพลักษณ์ของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ตกต่ำลงอย่างมาก ประชาชนเริ่มขาดความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัย จำนวนผู้โดยสารในเส้นทางภายในประเทศลดลงถึงหนึ่งในสาม หนึ่งเดือนต่อมาการเดินทางทางอากาศภายในประเทศลดลงถึง 25% ผู้โดยสารต่างย้ายไปใช้บริการของสายการบินออลนิปปอนแอร์เวย์ซึ่งเชื่อว่ามีความปลอดภัยมากกว่า[9]

สายการบินต้องชำระค่าเสียหายแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตถึง 780 ล้านเยน ประธานสายการบินยาซูโมโตะ ทากางิประกาศลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ อีกทั้งผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุงได้กระทำการอัตวินิบาตกรรมเพื่อชดใช้ความผิดเช่นเดียวกัน[10]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "524 killed in worst single air disaster." เดอะการ์เดียน.
  2. http://planecrashinfo.com/worst100.htm
  3. "ASN Aircraft accident Boeing 747SR-46 JA8119 Ueno เก็บถาวร 2011-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Aviation Safety Network. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2009.
  4. Magnuson, Ed. "Last Minutes of JAL 123." นิตยสารไทม์. 1 เก็บถาวร 2013-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2007.
  5. Magnuson, Ed. "Last Minutes of JAL 123." นิตยสารไทม์. 2 เก็บถาวร 2013-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-08. สืบค้นเมื่อ 2012-02-21.
  7. Smolowe, Jill, Jerry Hanafin, and Steven Holmes. "Disasters, Never a Year So Bad." TIME. วันจันทร์ที่ 2 กันยายน, ค.ศ. 1985. 3 เก็บถาวร 2013-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2009.
  8. "Fig_5. The Aspect of Aft Bulkhead Repair"
  9. Andrew Horvat, "United's Welcome in Japan Less Than Warm", ลอสแอนเจลิสไทม์ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986
  10. Macarthur Job, Air Disaster Volume 2, Aerospace Publications, 1996, ISBN 1-875671-19-6: หน้า.136-153

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ภาพจากแหล่งข้อมูลภายนอก
  รูปภาพของ JA8119 ที่ Airliners.net

รายงานการสืบสวนอุบัติเหตุ แก้

เจแปนแอร์ไลน์ แก้

สื่ออื่นๆ แก้