วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

วัดในจังหวัดอุบลราชธานี

วัดสุปัฏนารามวรวิหาร หรือที่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า วัดสุปัฏน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร[1] เป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับพระราชทานนามวัดจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปัจจุบันพระวิบูลธรรมาภรณ์ (ชาย ชาคโร) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส

วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดสุปัฏนาราม
ที่ตั้งถนนสุปัฏน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
นิกายธรรมยุติกนิกาย
พระพุทธรูปสำคัญพระสัพพัญญูเจ้าและ พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง
เจ้าอาวาสพระวิบูลธรรมาภรณ์(ชาย ชาคโร)
จุดสนใจอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร (ศิลปะ 3 ชนชาติคือ ไทย / เยอรมัน / ขอม)
กิจกรรมงานสรงน้ำพระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง (ช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พื้นที่ แก้

วัดสุปัฏนาราม ตั้งอยู่เลขที่ 1 ตำบลในเมืองอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ 21 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา โฉนดเลขที่ 1949 ทิศเหนือติดถนนหลวง ทิศใต้ติดแม่น้ำมูล ทิศตะวันออกติดโรงพยาบาลโรคปอด และทิศใต้ติดประปา

ประวัติ แก้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้พระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) สร้างวัดสุปัฏนารามขึ้นสำหรับคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เริ่มแรกมีเนื้อที่กว้าง 3 เส้นเศษ ยาว 5 เส้นเศษ ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2479[2] และยกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2479[1]

พระพุทธรูปที่สำคัญ แก้

  • พระสัพพัญญูเจ้า
  • พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง (พระพุทธรูปหนึ่งในนพรัตน์หรือแก้วเก้าประการ)

ศาสนสถานที่สำคัญ แก้

พระอุโบสถ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่าง 3 ชนชาติ คือ

  • ส่วนหลังคา เป็นศิลปะแบบไทย
  • ส่วนกลางของตัวพระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบเยอรมัน
  • ส่วนฐานของพระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบขอมโบราณ

ลำดับเจ้าอาวาส แก้

ลำดับเจ้าอาวาสวัดสุปัฏนาราม มีดังนี้[3]

  1. พระอธิการดี พนฺธุโล
  2. พระอธิการเพ็ง
  3. พระอธิการเพชร
  4. พระอธิการสีโห
  5. พระอธิการสี
  6. พระญาณรักขิต (จันทร์ สิริจนฺโท)
  7. พระโพธิวงศาจารย์ (อ้วน ติสฺโส)
  8. พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ้ย ญาณาสโย)
  9. พระธรรมบัณฑิต(ญาณ ญาณชาโล)
  10. พระเทพกวี (นัด เสนโก)
  11. พระโพธิญาณมุนี (ภา ปภาโส)
  12. พระรัตนมงคลมุนี (ยงยุทธ ตปนิโย)
  13. พระวิบูลธรรมาภรณ์ (ชาย ชาคโร)

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ (ให้ยกวัดสุปัฎนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชะนิดวรวิหาร), เล่ม 53, ตอน 0 ง, 16 สิงหาคม 2489, หน้า 1029
  2. ประวัติพระอารามหลวง เล่ม ๒, หน้า 313
  3. ประวัติพระอารามหลวง เล่ม ๒, หน้า 314
บรรณานุกรม
  • กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ประวัติพระอารามหลวง เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2548. 622 หน้า. หน้า 313-314.