ไซโฟซูรา
ไซโฟซูรา ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ซิลลูเรียน–ปัจจุบัน, 445–0Ma | |
---|---|
แมงดาแอตแลนติก (Limulus polyphemus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ไฟลัมย่อย: | Chelicerata |
ชั้น: | Merostomata |
อันดับ: | Xiphosura Latreille, 1802 [1] |
อันดับย่อยและอันดับฐาน | |
|
ไซโฟซูรา เป็นอันดับของสัตว์ทะเลขาปล้องในชั้นเมอโรสโทมาทา (Merostomata) ที่นอกเหนือไปจากแมงป่องทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xiphosura
ลักษณะของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีรูปร่างคล้ายจานหรือถ้วยคว่ำ หรือครึ่งวงกลมแบบเกือกม้า ด้านบนมีตาข้าง 1 คู่เป็นตาประกอบ มีแอมมาทิเดียหลายร้อยหน่วยที่ไม่สามารถรับภาพได้ แต่สามารถจับการเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ ได้ มีตากลาง ขนาดเล็กหลายอันทำหน้าที่รับแสง มีส่วนหางยาวเป็นแท่งใช้สำหรับจิ้มกับพื้นทรายให้พลิกตัวกลับมา เมื่อยามหงายท้องขึ้น เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคซิลลูเรียน แต่สูญพันธุ์ไปเกือบหมด คงเหลือเพียง 4 ชนิดเท่านั้นในโลก คือ แมงดาทะเล จึงจัดเป็นฟอสซิลที่มีชีวิตอย่างหนึ่ง พบในทะเลและน้ำกร่อยของบริเวณภาคตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น สำหรับชนิดที่พบในไทยจะมีด้วยกัน 2 ชนิดคือ แมงดาจาน หรือ แมงดาหางเหลี่ยม (Tachypleus gigas) เป็นแมงดาขนาดใหญ่ หางเป็นสันแหลม รูปหน้าตัดของหางเป็นสามเหลี่ยม คาราแพดค่อนข้างเรียบและแทบจะไม่พบขนแข็ง ๆ บนคาราแพด สามารถกินได้ ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ แมงดาถ้วย หรือ แมงดาหางกลม หรือ เหรา (Carcinoscorpius rotundicauda) มีขนาดเล็กกว่าแมงดาหางเหลี่ยม หางโค้งมน รูปหน้าตัดของหางจะค่อนข้างกลม คาราแพดมีขนแข็งจำนวนมากและมีสีส้มหรือน้ำตาลเข้ม มีรายงานอยู่เสมอว่าผู้ที่กินไข่ของแมงดาชนิดนี้มักเป็นอันตรายต่อชีวิต เนื่องจากว่าแมงดาชนิดนี้ในบางฤดูกาลจะกินสาหร่ายและแพลงค์ตอนที่สร้างสารพิษได้ จึงมีพิษสะสมอยู่ในตัวแมงดาทะเล พิษที่ว่าจะมีผลต่อระบบประสาทต่อผู้ที่กินเข้าไป
แมงดาทะเลจะขึ้นมาวางไข่บนพื้นหาดทรายชายทะเลพร้อม ๆ กัน โดยตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 200–3,300 ฟอง โดยมีตัวผู้เกาะเกี่ยวอยู่ที่หลัง โดยใช้ปล้องสุดท้ายของเพลดิพาลติเกาะกับโพรโซมาของตัวเมียเอาไว้และคลานตามกันไป โดยอาจมีตัวผู้ตัวอื่นมาเกาะท้ายร่วมด้วยเป็นขบวนยาวก็ได้ ตัวเมียจะขุดหลุมปล่อยไข่ออกมาแล้วตัวผู้ก็จะปล่อยสเปิร์มออกมาผสมกับไข่ หลังจากนั้นก็จะกลบไข่โดยไม่มีการดูแลไข่ ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนที่เรียกว่าไตรโลไบต์ ลาวา ลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยเพียงแต่มีหางสั้นมาก [2]
แมงดาทะเลในยุคปัจจุบันมีความยาวได้ถึง 60 เซนติเมตร (24 นิ้ว) iแต่ในยุคเพลลีโอโซอิก จะมีขนาดเล็กกว่านี้ โดยมีความยาวเพียง 1–3 เซนติเมตร (0.39–1.2 นิ้ว) เท่านั้น[3]
การจำแนก
แก้อันดับ Xiphosura Latreille, 1802
- †อันดับย่อย Synziphosurida
- Weinberginidae Richter & Richter, 1929 (ดีโวเนียนตอนล่าง)
- Bunodidae Packard, 1886
- Bunodinae Packard, 1886 (ซิลลูเรียนตอนบน ถึง ดาวโทเนียน)
- Limuloidinae Størmer, 1952 (ซิลลูเรียนตอนบน)
- Pseudoniscidae Packard 1886 (ซิลลูเรียนตอนบน)
- Kasibelinuridae Pickett, 1993 (ดีโวเนียนตอนกลาง ถึง ดีโวเนียนตอนปลาย)
- อันดับย่อย Xiphosurida
- †อันดับฐาน Bellinurina
- Elleriidae Raymond, 1944 (ดีโวเนียนตอนบน ถึง คาร์บอนิเฟอรัสตอนบน)
- Euproopidae Eller, 1938 (= Liomesaspidae Raymond, 1944) (คาร์บอนิเฟอรัสตอนบน ถึง พรีเมียนตอนล่าง)
- Bellinuridae Zittel & Eastman, 1913 (คาร์บอนิเฟอรัสตอนกลาง ถึง คาร์บอนิเฟอรัสตอนบน)
- อันดับฐาน Limulina
- †Rolfeiidae Selden & Siveter, 1987 (คาร์บอนิเฟอรัสตอนต้น ถึง พรีเมียนตอนต้น)
- †Paleolimulidae Raymond, 1944 (คาร์บอนิเฟอรัส ถึง พรีเมียน)
- †Moravuridae Pribyl, 1967 (มิสซิสซิสเปียน)
- †Austrolimulidae + †Heterolimulidae (ไตรแอสซิกตอนกลาง)
- Limulidae Zittel, 1885
- †Mesolimulinae Størmer, 1952 (ไตรแอสซิกตอนล่าง ถึง ครีเตเชียส)
- Limulinae Zittel, 1885
- Tachypleini Pocock, 1902 (ไมโอซีน ถึง ปัจจุบัน)
- Limulini Zittel, 1885 (ปัจจุบัน)
- †อันดับฐาน Bellinurina
ที่เคยรวมอยู่ในอันดับเดียวกัน
แก้แต่ปัจจุบันได้ถูกจำแนกแยกออกไป
- Aglaspida Walcott, 1911 (แคมเบรียน ถึง ออโดวิเชียน)
- Chasmataspida Caster & Brooks, 1956 (ออโดวิเชียนตอนล่าง)
อ้างอิง
แก้- ↑ Mikko Haaramo (21 March 2003). "Xiphosura - Horseshoe crabs". Mikko's Phylogeny Archive.
- ↑ Robert D. Barnes (1982). Invertebrate Zoology. Philadelphia, PA: Holt-Saunders International. pp. 590–595. ISBN 0-03-056747-5.
- ↑ B. B. Rohdendorf (ed.) Fundamentals of Paleontology, vol. 9, Arthropoda-Tracheata and Chelicerata: 894 pp. [1991 English translation of Russian original, Smithsonian Institution Libraries and National Science Foundation].