เหี้ยดำ
เหี้ยดำ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordate |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Squamata |
อันดับย่อย: | Sauria |
วงศ์: | Varanidae |
สกุล: | Varanus |
สกุลย่อย: | Soterosaurus |
สปีชีส์: | V. salvator |
สปีชีส์ย่อย: | V. s. komaini |
Trinomial name | |
Varanus salvator komaini Nutphand, 1987 | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
เหี้ยดำ (อังกฤษ: Black water monitor, Black dragon) เดิมแยกเป็นชนิดย่อยซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Varanus salvator komaini ปัจจุบัน (ค.ศ. 2007) ถูกยุบรวมเป็นชื่อพ้องของเหี้ยชนิดย่อย Varanus salvator macromaculatus[2] มีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับเหี้ยทั่วไป เมื่อโตเต็มวัยจากปลายหัวถึงโคนหาง 9 ฟุต สีดำด้านทั้งตัว บางตัวก็มีจุดและลายแทรกอยู่บ้าง แต่ลายจะจาง ท้องสีเทา ลิ้นสีน้ำเงินเข้ม จากการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเหี้ยและเหี้ยดำ พบว่าค่าสัดส่วนของลักษณะส่วนมากไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อนำผลการศึกษาด้วยการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มแบบคาโนนิคอล (canonical discriminant analysis) มาพิจารณาสรุปได้ว่า เหี้ยดำไม่สามารถแยกออกเป็นชนิดใหม่หรือชนิดย่อยของเหี้ยได้ (Lauprasert, 1999) และลักษณะของสีที่แตกต่างเกิดจากภาวะการมีเม็ดสีเมลานินสีดำมากเกินไป (melanism) ของชนิดย่อย V. s. macromaculatus[2]
เหี้ยดำพบบริเวณชายทะเลหรือป่าชายเลนและบนเกาะ ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรกคืออำเภอละงู จังหวัดสตูล และสถานที่ที่พบเหี้ยดำจะไม่พบเหี้ยเลย ในประเทศไทยหายาก และมีรายงานพบทางประเทศมาเลเซีย บริเวณ ปีนัง และ อินโดนีเซีย บริเวณลัมปุง และบางหมู่เกาะทางตอนเหนือของอินโดนีเซีย
ปัจจุบัน เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ CITES2
อ้างอิง
แก้- ↑ Koch, A., M. Auliya, A. Schmitz, U. Kuch & W. Böhme. (2007). Morphological Studies on the Systematics of South East Asian Water Monitors (Varanus salvator Complex): Nominotypic Populations and Taxonomic Overview. pp. 109–180. In Horn, H.-G., W. Böhme & U. Krebs (eds.), Advances in Monitor Research III. Mertensiella 16, Rheinbach.
- ↑ 2.0 2.1 Koch, A. (2007). "Morphological Studies on the Systematics of South East Asian Water Monitors (Varanus salvator Complex): Nominotypic Populations and Taxonomic Overview". Mertensiella. 16 (109): e80.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สวนสัตว์โคราชเปิดตัว “เหี้ยดำ” ใกล้สูญพันธุ์ - วอนอนุรักษ์เหลือ 8 ตัวในไทย เก็บถาวร 2007-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน