หมึกแวมไพร์

(เปลี่ยนทางจาก Vampyroteuthis infernalis)
หมึกแวมไพร์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: จูราสซิค-ปัจจุบัน
200–0Ma
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Cephalopoda
ชั้นย่อย: Coleoidea
อันดับใหญ่: Octopodiformes
อันดับ: Vampyromorphida
อันดับย่อย: Vampyromorphina
วงศ์: Vampyroteuthidae
สกุล: Vampyroteuthis
Chun, 1903
สปีชีส์: V.  infernalis
ชื่อทวินาม
Vampyroteuthis infernalis
Chun, 1903
ชื่อพ้อง[1]
  • Cirroteuthis macrope
    Berry, 1911
  • Vampyroteuthis macrope
    (Berry, 1911)
  • Melanoteuthis lucens
    Joubin, 1912
  • Watasella nigra
    Sasaki, 1920
  • Danateuthis schmidti
    Joubin, 1929
  • Hansenoteuthis lucens
    Joubin, 1929
  • Melanoteuthis schmidti
    Joubin, 1929
  • Melanoteuthis beebei
    Robson, 1929
  • Retroteuthis pacifica
    Joubin, 1929
  • Melanoteuthis anderseni
    Joubin, 1931

หมึกแวมไพร์ (อังกฤษ: Vampire squid; ชื่อวิทยาศาสตร์: Vampyroteuthis infernalis) เป็นมอลลัสกาประเภทหมึกชนิดหนึ่ง

หมึกแวมไพร์ เป็นสัตว์ที่มีอายุอยู่มานานกว่า 200 ล้านปีแล้ว โดยจัดอยู่ในวงศ์ Vampyroteuthidae และสกุล Vampyroteuthis ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสายที่เชื่อมต่อระหว่างหมึกสายกับหมึกกล้วย ซึ่งหมึกแวมไพร์ จัดเป็นหมึกที่อยู่ในอันดับของตนเอง [1]

หมึกแวมไพร์ ได้ชื่อนี้มาจากรูปร่างหน้าตาที่แลดูน่ากลัว โดยมีพังผืดเชื่อมต่อกันระหว่างหนวดแต่ละเส้นทั้งหมด 8 เส้น เสมือนร่มหรือครีบ แลดูคล้ายเสื้อคลุมตัวใหญ่ ใช้สำหรับว่ายไปมาเหมือนการบินของนกหรือค้างคาว แต่หมึกแวมไพร์กลับเป็นสัตว์ที่ไม่มีอันตรายใด ๆ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 28 เซนติเมตรเท่านั้น มีสีผิวน้ำตาลแดงปนดำ ด้านในของลำตัวเป็นสีดำสนิทและมีหนามแหลม ๆ เรียงตัวตามแนวของหนวด มีดวงตากลมโตสีแดงก่ำ หรือสีน้ำเงิน

ตาของหมึกแวมไพร์
ใต้หนวด

หมึกแวมไพร์ เป็นหมึกที่อาศัยอยู่ในทะเลลึกที่มีความลึกตั้งแต่ 300-3,000 เมตร เป็นสถานที่ ๆ ไม่มีแสง และมีปริมาณออกซิเจนน้อย แต่หมึกแวมไพร์ก็อาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี และมักตกเป็นอาหารของสัตว์ทะเลที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ จึงมีกลไกในการป้องกันตนเองด้วยการเรืองแสงลำตัวตัวเองได้ ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย ที่ส่องแสงเรือง ๆ เป็นสีฟ้า หรือสีน้ำเงิน ซึ่งทำให้ตาของผู้ที่มาคุกคามพร่ามัวไปได้[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 จาก itis.gov (อังกฤษ)
  2. ท่องโลกกว้าง, สารคดีทางไทยพีบีเอส: พุธที่ 26 มิถุนายน 2556

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Vampyroteuthis infernalis ที่วิกิสปีชีส์