ทาร์เซียร์ฟิลิปปิน

(เปลี่ยนทางจาก Tarsius syrichta)
ทาร์เซียร์ฟิลิปปิน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์: Tarsiidae
สกุล: Tarsius
Groves & Shekelle, 2010
สปีชีส์: C.  syrichta
ชื่อทวินาม
Carlito syrichta
(Linnaeus, 1758)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[1]
  • Tarsius carbonarius Heude, 1898
  • Tarsius fraterculus Miller, 1911
  • Tarsius philippinensis Meyer, 1894

ทาร์เซียร์ฟิลิปปิน (อังกฤษ: Philippine tarsier; เซบัวโน: mawmag; ตากาล็อก: mamag; ชื่อวิทยาศาสตร์: Tarsius syrichta เดิมเคยใช้ชื่อสกุลว่า Carlito[2]) เป็นสัตว์เลี้ยงด้วยนมขนาดเล็ก จำพวกไพรเมตชนิดหนึ่ง ในกลุ่มทาร์เซียร์

ทาร์เซียร์ฟิลิปปิน เป็นสัตว์ที่พบได้ในหมู่เกาะฟิลิปปิน ได้แก่ เกาะโบฮอล, เกาะมินดาเนา, เกาะเลย์เต และเกาะซามาร์ เป็นต้น ตัวเต็มวัยมีความยาวลำตัวเพียง 10 เซนติเมตรกว่า น้ำหนักเพียง 120 กรัมเท่านั้น จัดเป็นไพรเมตที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง[3]

ทาร์เซียร์ฟิลิปปิน อาศัยอยู่ในป่าดิบ ออกหากินในเวลากลางคืน โดยจะกินเนื้อสัตว์เป็นอาหารเท่านั้น เช่น แมลง เป็นอาหารหลัก รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็ก ๆ เช่น จิ้งจก, กิ้งก่าบิน เป็นต้น [4]

ทาร์เซียร์ฟิลิปปินโดยปกติจะอาศัยอยู่ตามลำพังหรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวพักผ่อนในโพรงไม้หรือตามซอกไม้ตามต้นไม้ใหญ่ แต่สามารถกระโดดได้อย่างว่องไวเหมือนกบในเวลากลางคืน อันเป็นเวลาหากิน ซึ่งทาร์เซียร์ฟิลิปปินจะร้องส่งเสียงเพื่อเป็นการสื่อสารกันเอง ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เป็นสัตว์ที่ส่งเสียงออกมาในย่านความถี่อัลตร้าสูงมากถึง 2,000 เฮิรตซ์ หรือ 20 กิโลเฮิรตซ์ อันเป็นย่านความถี่ที่หูมนุษย์ไม่ได้ยิน แต่โดยปกติแล้วเสียงร้องของทาร์เซียร์ร์ฟิลิปปินส่วนใหญ่มีความถี่อยู่ที่ระดับ 70 เฮิร์ตซ์ โดยมีช่วงต่ำสุดและสูงสุด 67-79 กิโลเฮิรตซ์ นอกจากนี้แล้วยังมีความเป็นไปได้ว่า อาจใช้ระบบเอคโคโลเคชั่นในการหาตำแหน่งของอาหารเหมือนค้างคาวด้วยหรือไม่ เนื่องจากแม้ทาร์เซียร์ฟิลิปปินจะมีดวงตาที่กลมโต แต่ทว่าไม่มีทาพีตัม ลูซิเดี่ยม เหมือนสัตว์หากินตอนกลางคืนจำพวกอื่น ๆ ที่จะช่วยรวบรวมแสงในที่มืดทำให้มองเห็นได้ดียิ่งขึ้น[5]

สถานภาพปัจจุบันของทาร์เซียร์ฟิลิปปินอยู่ในภาวะถูกคุกคาม อันเกิดจากการถูกทำลายถิ่นที่อยู่ แต่ปัจจุบันทางการฟิลิปปินส์ได้ทำการอนุรักษ์ และใช้เป็นตัวประชาสัมพันธ์ในเรื่องการท่องเที่ยว[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Arboleda, I. (2008). Tarsius syrichta. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 1 January 2009.
  2. Groves, C.; Shekelle, M. (2010). "The Genera and Species of Tarsiidae" (PDF). International Journal of Primatology. 31 (6): 1071–1082. doi:10.1007/s10764-010-9443-1.[ลิงก์เสีย]
  3. "ลิงทาร์เซียร์สุดจิ๋ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-01-25.
  4. 4.0 4.1 The Real Gremlin, "Nick Baker's Weird Creatures". สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: ศุกร์ที่ 25 มกราคม 2556
  5. Primate communication in the pure ultrasound

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tarsius syrichta ที่วิกิสปีชีส์