ตะละแม่ท้าว

(เปลี่ยนทางจาก Tala Mi Daw)

ตะละแม่ท้าว (พม่า: တလမည်ဒေါ, ออกเสียง: [təla̰ mì dɔ́]; หรือ တလမေဒေါ; ประมาณ 1368 – ประมาณ 1390) พระอัครมเหสีองค์แรกใน พระเจ้าราชาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 9 แห่ง อาณาจักรหงสาวดี พระองค์เป็นพระขนิษฐาต่างพระมารดาของพระเจ้าราชาธิราชและเป็นพระราชธิดาของ พระยาอู่ กษัตริย์องค์ที่ 8 ที่ประสูติแต่ นางมหาจันทเทวี[1]

ตะละแม่ท้าว
တလမည်ဒေါ
พระมเหสีวังเหนือแห่งหงสาวดี
ครองราชย์5 มกราคม ค.ศ. 1384 – ป. มีนาคม ค.ศ. 1390
ก่อนหน้านางมหาจันทเทวี
ต่อไปLawka Dewi
ประสูติป. ค.ศ. 1368
พุกาม?
สวรรคตป. มีนาคม ค.ศ. 1390
พุกาม
คู่อภิเษกพระเจ้าราชาธิราช
พระราชบุตรพ่อลาวแก่นท้าว
พระราชบิดาพระยาอู่
พระราชมารดานางมหาจันทเทวี
ศาสนาพุทธเถรวาท

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1383 ตะละแม่ท้าวหนีไปกับพระยาน้อย ใน ร่างกุ้ง และได้เข้าร่วมกับพระยาน้อยในการกบฏต่อพระราชบิดาซึ่งพระยาอู่ได้สวรรคตระหว่างเกิดกบฏ

ตะละแม่ท้าวขึ้นเป็นพระอัครมเหสีเมื่อพระยาน้อยได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นพระเจ้าราชาธิราช โดยทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวพระนามว่า พ่อลาวแก่นท้าว ต่อมาเมื่อพระเจ้าราชาธิราชได้สถาปนานางเม้ยมะนิกแม่ค้าขายดอกไม้ขึ้นเป็น พระนางปิยราชเทวี พระอัครมเหสี ทำให้ตะละแม่ท้าวเสียใจจนนำไปสู่การปลงพระชนม์ชีพพระองค์เอง[2]

หลังจากการเสียชีวิตของตะละแม่ท้าว ใน ค.ศ. 1390 พระเจ้าราชาธิราชได้สั่งให้ประหารชีวิตพระโอรสของพระองค์ในปีเดียวกันกับที่พระมารดาของพระองค์ปลงพระชนม์ชีพ เพราะกลัวว่าพระโอรสจะหาทางแก้แค้นแทนพระมารดาเมื่ออายุมากขึ้น พ่อลาวแก่นท้าวได้มีการกล่าวคำสัตย์สาบานก่อนที่จะถูกประหารชีวิต[3][4] คำสาบานที่ตามรบกวนพระทัยพระเจ้าราชาธิราชพระบิดาของพระองค์

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. Pan Hla 2005: 161
  2. Harvey 1925: 114
  3. Harvey 1925: 111–116
  4. Htin Aung 1967: 88–93
บรรณานุกรม
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Kala, U (1724). Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2006, 4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
  • Pan Hla, Nai (1968). Razadarit Ayedawbon (ภาษาพม่า) (8th printing, 2005 ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.
  • Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.