ทีไอทีวี เอเวอเรสต์ 2007

(เปลี่ยนทางจาก TITV Everest 2007)

ทีไอทีวี เอเวอเรสต์ 2007 (อังกฤษ: TITV Everest 2007) มีชื่อเต็มว่า TITV The Everest: The Unlimited Spirit of Thailand 2007 หรือชื่อไทย “ปฏิบัติการเกียรติยศ สู่ยอดเอเวอเรสต์” เป็นโครงการส่งนักปีนเขาชาวไทย ขึ้นไปปีนเขาเอเวอเรสต์ ในปี พ.ศ. 2550 ให้การสนับสนุนโดยสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี กรมประชาสัมพันธ์ และกองทัพเรือไทย โดยมีการส่งทีมงานไปถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องหลังการปีนเขา และส่งมาตัดต่อเป็นรายการสารคดีเรียลลิตีโชว์ ออกอากาศในประเทศไทยทางช่องทีไอทีวี

แผนการปีนเขา

การปีนเขามีกำหนด 3 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยใช้เวลาฝึกฝนร่างกาย และปรับตัวเป็นเวลา 45 วัน และเริ่มต้นปีนจากแคมป์ฐาน ใช้เวลา 39 วัน จนถึงยอดเขา มีเป้าหมายที่จะนำธงชาติไทย ธงธรรมจักร และธงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ไปปักบนยอดเขา เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

โครงการนี้เกิดจากแนวคิดของชิบ จิตนิยม ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เมื่อครั้งไปเยิ่ยมชมวัดไทยลุมพินีเมื่อกลางปี พ.ศ. 2550 โดยในครั้งแรกจะนำนายทหารหน่วยรบพิเศษของกองทัพเรือ 3 คน กองทัพอากาศ 3 คน และเจ้าหน้าที่ทีไอทีวี 1 คน อุปสมบทที่วัดไทยลุมพินี และเดินเท้านำธงธรรมจักรขึ้นไปประดับบนยอดเขา ต่อมาได้ยกเลิกแนวคิดนี้ไปด้วยข้อจำกัดเกี่ยวกับการดื่มน้ำและรับประทานอาหารของพระภิกษุ [1]

ในปี 2007 มีนักปีนเขาจำนวนมากที่ขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ โดยขึ้นจากทางทิศเหนือ จากทิเบต ประเทศจีน และหลีกเลี่ยงการขึ้นจากทางทิศใต้ จากประเทศเนปาลเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองไม่มั่นคง [2] แต่สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเลือกเส้นทางนี้ โดยให้เหตุผลว่าต้องการเดินทางจากประเทศเนปาล ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า [2] มีประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 450,000 ดอลลาร์สหรัฐ [2](ประมาณ 15 ล้านบาท)[3] ใช้เวลาเตรียมการทั้งสิ้น 4 เดือน [1]

นักปีนเขาในทีม ประกอบด้วย คนไทยจำนวน 9 คน ทีมงานสนับสนุนชาวไทย ไกด์นำทางและลูกหาบเชอร์ปา นักปีนเขาทั้ง 9 คน ประกอบด้วย นักปีนเขาที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 9 คน เป็นทหารเรือ 3 คน ทีมงานทีไอทีวี 4 คน [4] เป็นผู้หญิง 1 คน สมทบกับอนุศักดิ์ จงยินดี นักปีนเขาอิสระ ที่มีโครงการจะปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ภายในปี พ.ศ. 2553 แต่ได้รับการสนับสนุนให้ร่วมทีมในปีนี้เป็นกรณีพิเศษอีก 1 คน แทนเจ้าหน้าที่ทีไอทีวีผู้ที่สละสิทธิ์ให้ไปแทน [5]

นักปีนเขาทั้ง 9 คน สามารถขึ้นถึงยอดเขาไอแลนด์พีกในช่วงของการฝึกซ้อม และในการปีนขึ้นเอเวอเรสต์ มี 4 คน ขึ้นไปได้ถึงแคมป์ 3 ที่ความสูง 7,300 เมตร มี 3 คน ขึ้นไปได้ถึงแคมป์ 4 ที่ความสูง 7,900 เมตร ทั้งสามคนนี้เตรียมที่จะขึ้นสู่ยอดเขาในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากสภาพอากาศเลวร้าย นักปีนเขาทั้งหมดเดินทางกลับมาได้อย่างปลอดภัย

นักปีนเขากลุ่มนี้ เป็นคนไทยกลุ่มแรกที่ปีนเอเวอเรสต์ขึ้นไปได้สูงเกิน 8,000 เมตร ก่อนหน้านี้มีคนไทยเคยปีนเอเวอเรสต์ แต่ไม่เคยขึ้นถึงระดับนี้ เช่น กิ่งแก้ว บัวตูม ขึ้นไปได้ถึงระดับ 7,000 เมตร เมื่อ พ.ศ. 2540 [6] นอกจากนี้ยังมีคนไทยที่พยายามปีนเอเวอเรสต์ในปี พ.ศ. 2549 [7] แต่ต้องล้มเลิกไปเพราะขาดผู้สนับสนุน[8] และยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่วางโครงการจะปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ ภายใน พ.ศ. 2553[9]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 หลังสิ้นสุดปฏิบัติการทีไอทีวี เอเวอเรสต์ 2007 ประมาณ 6 เดือน นายวิทิตนันท์ โรจนพานิช ผู้กำกับภาพยนตร์ และนักปีนเขาสมัครเล่นชาวไทย ในฐานะหัวหน้าทีมปีนเขา รวมถึงทีมนักปีนเขาชาวเวียดนามอีก 3 คน ก็สามารถปีนขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ในภารกิจ Everest 2008 : Vietnam Sprit To The World ซึ่งถ่ายทอดเป็นรายการเรียลลิตีโชว์เอเวอร์เรสต์เวียดนาม ทางสถานีโทรทัศน์เอชทีวี ของประเทศเวียดนาม และมีนายวิทิตนันท์เป็นผู้อำนวยการผลิตรายการ

ทีมงาน แก้

นักปีนเขา ประกอบด้วย

  1. เรือโทภิญโญ รุ่งเรือง (โญ) นายทหารหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ เป็นหัวหน้าทีม
  2. เรือตรีไพรัตน์ พลายงาม (รัตน์) หัวหน้าชุดปฏิบัติการพิเศษ กองเรือป้องกันฝั่ง กองทัพเรือ
  3. พันจ่าเอกเทพบุตร กิมจันทร์ (เสือ) ทหารหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ นักกีฬาทีมชาติ
  4. อนุกูล สอนเอก (กื๋อ) นักปีนผา นักสำรวจถ้ำ นักเขียนนิตยสารสารคดี
  5. วันเพ็ญ สินธุวงษ์ (จุ๋ม) ผู้จัดการแผนกศูนย์ข้อมูลข่าว สถานีโทรทัศน์ ทีไอทีวี เป็นผู้หญิงคนเดียวในทีม
  6. ดิลก ตามใจเพื่อน (ป้าย) โปรดิวเซอร์ สถานีโทรทัศน์ ทีไอทีวี
  7. กิตติ จันทร์เจริญ (บรีส) ช่างภาพ สถานีโทรทัศน์ ทีไอทีวี
  8. สุธน ยิ้มดี (นนท์) ช่างตัดต่อ สถานีโทรทัศน์ ทีไอทีวี
  9. พิทักษ์ จุลาภา (ต้อง) โปรดิวเซอร์ สถานีโทรทัศน์ ทีไอทีวี (สละสิทธิ์ให้ อนุศักดิ์ จงยินดี เดินทางไปแทน)
  10. อนุศักดิ์ จงยินดี (อ๊อด) นักธุรกิจ นักปีนเขาอิสระ ที่ได้รับเลือกเข้าร่วมทีมเป็นคนสุดท้าย

ไกด์นำทาง และลูกหาบชาวเชอร์ปา จำนวน 170 คน นำโดย ตาชิ เทนซิง (Tashi Tenzing) ซึ่งเป็นหลานชายของเทนซิง นอร์เก ผู้ขึ้นถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นคนแรกพร้อมกับเอดมันด์ ฮิลลารี เมื่อ พ.ศ. 2496

ทีมงานสนับสนุน ประกอบด้วย [10]

ความคืบหน้า แก้

ข้อวิจารณ์ แก้

  • ทีมงานของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ไม่ได้เป็นนักปีนเขาอาชีพ และร่างกายแข็งแรงเพียงพอ มีเพียงทหารเรือ 3 คน ที่มีการฝึกฝนร่างกายให้แข็งแกร่งอย่างสม่ำเสมอ และนักปีนเขาอาชีพ 2 คน ที่เคยปีนยอดเขาอื่นๆ มาแล้ว นอกจากนี้การเตรียมงานยังทำอย่างฉุกละหุก ต่างจากทีมอื่นๆ ที่มีการเตรียมการล่วงหน้าหลายปี
  • อันตรายของการปีนเขาที่ความสูงมากๆ เกิดจากปริมาณออกซิเจน(O2) ในอากาศต่ำกว่าปริมาณที่ระดับน้ำทะเล (ที่แคมป์ฐาน เท่ากับ 50% ที่ยอดเขา เท่ากับ 30%) ประกอบกับความกดอากาศต่ำ ทำให้หลอดเลือดในร่างกายขยายตัว เมื่อร่างกายได้รับออกซิเจนไม่พอเพียง ร่างกายจะปรับตัวโดยสร้างเลือดเพิ่มขึ้น เพื่อนำออกซิเจนไปได้มากขึ้น ส่งผลให้เลือดเหนียวข้น และแข็งตัวได้ง่ายขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงกับอาการลิ่มเลือดอุดตันที่หัวใจทำให้เกิดหัวใจวาย หรือที่สมอง [17] [18][19]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 นิตยสาร Nature Explorer ฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550
  2. 2.0 2.1 2.2 Thais want to scale Everest to celebrate king's 80th birthday เก็บถาวร 2007-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน dpa - Deutsche Presse-Agentur
  3. อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 34 บาท
  4. ตามแผนการครั้งแรก จะมีทหารจากกองทัพอากาศ 3 คน เจ้าหน้าที่ทีไอทีวี 1 คน แต่ทางกองทัพอากาศถอนตัวออกไป จึงใช้เจ้าหน้าที่ทีไอทีวี 4 คน
  5. "งานแถลงข่าว ทีไอทีวี The Everest: The unlimited of Thai Spirit 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-14. สืบค้นเมื่อ 2007-11-05.
  6. อัตชีวประวัติ กิ่งแก้ว บัวตูม
  7. Singaporean to be first Southeasr Asean to summit Everest without oxygen EverestNews
  8. "ข่าวทีมไทยทีมแรกที่เคยจะปีน Everest ในปี 2006". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-14. สืบค้นเมื่อ 2007-11-13.
  9. "โครงการสานฝันคนไทยไปเอเวอร์เรสต์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-09. สืบค้นเมื่อ 2007-11-05.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-11. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.
  11. "trekkingthai 19-9-50". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-14. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.
  13. "trekkingthai 30-10-50". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-09. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.
  14. 14.0 14.1 "trekkingthai 7-11-50". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-09. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.
  15. Everest Thailand Expedition turns back at 8500 meters
  16. รายงานข่าวทีไอทีวี 10 พฤศจิกายน 2550
  17. "The risks of climbing the Everest". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-23. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.
  18. Trying to Breathe on Mount Everest
  19. "An Altitude Tutorial". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2007-11-12.

ดูเพิ่ม แก้