ปลาสีเสียด

(เปลี่ยนทางจาก Scomberoides lysan)
ปลาสีเสียด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Carangidae
สกุล: Scomberoides
สปีชีส์: S.  lysan
ชื่อทวินาม
Scomberoides lysan
Forsskål, 1775
ชื่อพ้อง[1]
  • Scomber lysan (Forsskål, 1775)
  • Chorinemus lysan (Forsskål, 1775)
  • Lichia lysan (Forsskål, 1775)
  • Scomber forsteri (Schneider & Forster, 1801)
  • Lichia tolooparah (Rüppell, 1829)
  • Chorinemus tolooparah (Rüppell, 1829)
  • Scomberoides tolooparah (Rüppell, 1829)
  • Chorinemus sanctipetri (Cuvier, 1832)
  • Scomberoides sanctipetri (Cuvier, 1832)
  • Chorinemus moadetta (Cuvier, 1832)
  • Scomberoides moadetta (Cuvier, 1832)
  • Chorinemus mauritianus (Cuvier, 1832)
  • Chorinemus orientalis (Temminck & Schlegel, 1844)
  • Scomberoides orientalis (Temminck & Schlegel, 1844)

ปลาสีเสียด[2] (อังกฤษ: yellow queenfish, largemouthed leatherskin, doublespotted queenfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Scomberoides lysan) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae)

ปลาสีเสียดมีลำตัวแบนข้างมาก รูปร่างยาวเรียวกว่าปลาสละและปลาเฉลียบ แต่พอ ๆ กับปลาขานกยางซึ่งทั้งหมดอยู่ในสกุลเดียวกัน หัวโต หน้าแหลม นัยน์ตาโต อยู่ใกล้ปลายจะงอยปาก ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย มุมปากยื่นเลยตา เกล็ดมีรูปร่างเหมือนเข็มและฝังจมอยู่ในเนื้อ ครีบหลังแยกเป็นสองอัน อันที่เป็นก้านเดียว เป็นหนามเล็ก ๆ สั้น ๆ อันหลังมีขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยม ถัดไปทางหางเป็นครีบฝอย ครีบก้นมีก้านแข็งแหลม 2 อันแยกออกจากตัวครีบ ครีบอ่อนซึ่งมีขนาดเล็กอยู่ตรงข้ามครีบหลังและมีครีบฝอยเรียงเป็นแถวไปจรดโคนหางครีบท้องอยู่ใต้ครีบอก หางเป็นแฉกเว้าลึก สีด้านหลังเป็นสีเขียวเข้มหรือน้ำเงินปน ข้างตัวและท้องสีเหลืองมีจุดกลมสีดำ 2 แถว (อยู่ด้านบนและด้านล่างของเส้นข้างตัว) ด้านข้างตัวแถบบนมีขนาดใหญ่กว่าแถวล่าง ปลายครีบหลังอันที่สองมีแถบดำ

ปลาสีเสียดมีความยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร แต่พบได้ยาวถึง 110 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 11 กิโลกรัม

ปลาสีเสียดเป็นปลาที่รวมตัวกันเป็นฝูง ออกหากินบริเวณไหล่ทวีปบริเวณชายฝั่งทะเลหรือผิวน้ำ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, ฮาวาย, หมู่เกาะมาร์เคซัส, ตอนใต้ของทะเลญี่ปุ่น, นิวซีแลนด์

ปลาสีเสียดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง เนื้อมีรสชาติดี[3]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. จาก fishbase.us (อังกฤษ)
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 1239.
  3. เฉลียบจากสนุกดอตคอม

แหล่งข้อมูลอื่น แก้