เอสเอส อาร์คิมิดีส

(เปลี่ยนทางจาก SS Archimedes)

เอสเอส อาร์คิมิดีส (อังกฤษ: SS Archimedes) คือเรือจักรไอน้ำ สร้างในสหราชอาณาจักรเมื่อปี ค.ศ. 1839 มีชื่อเสียงในฐานะเรือจักรไอน้ำลำแรกของโลก[1] ที่ขับเคลื่อนด้วยใบจักรแบบเกลียว[2][3][4][5]

อาร์คิมิดีส นับว่ามีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการการก่อสร้างเรือ ทำให้กองทัพเรือยอมรับเครื่องส่งกำลังแบบเกลียวมาใช้ และยังมีอิทธิพลต่อเรือพาณิชย์อื่นๆ ที่สำคัญคืออิทธิพลที่ส่งผลต่อการออกแบบ เอสเอส เกรตบริเตน อันเป็นนวัตกรรมอีกชิ้นหนึ่งของไอแซมบาร์ด คิงดอม บรูเนล เป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกเวลานั้นและเป็นเรือจักรไอน้ำที่ใช้ใบพัดแบบเกลียวลำแรกที่เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

เชิงอรรถ แก้

  1. เน้นในที่นี้ว่าหมายถึง เรือใหญ่ (ship) แต่มีพาหนะอื่นที่ใช้ใบพัดในการขับเคลื่อนได้สำเร็จมาก่อนหน้า อาร์คิมิดีส แล้ว รวมถึง ฟรานซิส สมิธ, ฟรานซิส บี. ออกเดน, และ โรเบิร์ต เอฟ. สต็อคตัน ทว่าเรือเหล่านี้เป็นเพียงเรือเล็ก (boat) ที่ใช้งานตามลำน้ำในแผ่นดินใหญ่ ตรงข้ามกับเรือใหญ่ (ship) ที่ใช้สำหรับออกทะเล
  2. "ใบพัดเกลียวที่ใช้ขับเคลื่อนเรือส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ จดสิทธิบัตรในปี 1836, ครั้งแรกโดยวิศวกรชาวอังกฤษ ฟรานซิส เพตติต สมิธ ต่อมาโดยวิศวกรชาวสวีเดน จอห์น อีริคสัน, สมิธใช้ในการสร้างเรือจักรไอน้ำขับเคลื่อนด้วยใบพัดเกลียวได้สำเร็จก่อน คือ อาร์คิมิดีส ล่องออกครั้งแรกในปี 1839"—Marshall Cavendish, p. 1335.
  3. "ใบจักรถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1836 โดย ฟรานซิส เพตติต สมิธ ในอังกฤษ และจอห์น อีริคสัน ในสหรัฐอเมริกา ในการส่งกำลังขับเคลื่อนแก่เรือเดินสมุทรที่มีชื่อว่า อาร์คิมิดีส ในปี 1839."—Macauley and Ardley, p. 378.
  4. "ในปี 1839, Messrs. Rennie สร้างเครื่องยนต์, เครื่องจักร และใบพัด สำหรับเฉลิมฉลอง อาร์คิมิดีส ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการริเริ่มใช้ระบบเกลียวในการขับเคลื่อน ..."Mechanics Magazine, p. 220.
  5. "หลักการขับเคลื่อนเรือจักรไอน้ำด้วยใบพัดเกลียว มิได้เกิดขึ้นในโลกมาก่อนจนกระทั่งปี 1839 และในการนี้ เราเป็นหนี้ต่อ มร.เอฟ. พี. สมิธ แห่งลอนดอน เขาเป็นผู้แรกที่ทำให้ใบพัดแบบเกลียวสามารถนำมาใช้งานได้จริง ด้วยความช่วยเหลือจากนักลงทุนผู้เอื้อเฟื้อ เขาได้สร้างเรือไอน้ำขนาดใหญ่ ชื่อ อาร์คิมิดีส ซึ่งได้จับความสนใจของสาธารณะในทันที"—MacFarlane, p. 109.

อ้างอิง แก้

หนังสือ

  • Burgh, N. P. (1869): A Practical Treatise on Modern Screw Propulsion, p. 11, E. and F. N. Spon, London.
  • Bourne, John (1852): A Treatise on the Screw Propeller With Various Suggestions For Improvement, Longman, Brown, Green & Longmans, London.
  • Fincham, John (1851): A History of Naval Architecture: To Which Is Prefixed, an Introductory Dissertation on the Application of Mathematical Science to the Art of Naval Construction, Whittaker & Co., London.
  • Fox, Stephen (2003): Transatlantic: Samuel Cunard, Isambard Brunel, and the Great Atlantic Steamships, HarperCollins, ISBN 978-0-06-019595-3.
  • Herapath, John Esqu. (1839): The Railway Magazine and Steam Navigation Journal, Volume VI, James Wylde, London.
  • Kludas, Arnold (2000): Record Breakers of the North Atlantic: Blue Riband Liners 1838-1852, Brassey's Inc., ISBN 1-57488-328-3.
  • Macaulay, David and Ardley, Neil (1998): The New Way Things Work, page 378, Houghton Mifflin Books for Children, ISBN 978-0-395-93847-8 .
  • MacFarlane, Robert (1851): History of Propellers and Steam Navigation, George P. Putnam, New York.
  • Marshall Cavendish Corporation (2002): How It Works: Science and Technology, Volume 10, page 1335, Marshall Cavendish Corporation, ISBN 978-0-7614-7314-5.
  • Preble, George Henry (1883): A Chronological History of the Origin and Development of Steam Navigation, L. R. Hamersly & Co., Philadelphia.
  • Schaeffer, George C. and Hedge, Egbert (1840): American Railroad Journal and Mechanics' Magazine, Volume XI, Schaeffer and Hedge, New York.
  • Smith, Edgar C. (1905): A Short history of Naval and Marine Engineering, printed for Babcock & Wilcox Ltd. by University Press, Cambridge.
  • Timbs, John (1868): Wonderful Inventions: From the Mariner's Compass to the Electric Telegraph Cable, George Routledge & Sons, London and New York.

วารสาร

  • The Mechanics' Magazine, and Journal of Engineering, Agricultural Machinery, Manufactures, and Shipbuilding, Volume VI, July-December 1861, Robertson Brooman and Co., London.