RTS,S/AS01 (ชื่อการค้า มอสกีริกซ์; Mosquirix) เป็นวัคซีนโรคมาลาเรียชนิดโปรตีนรีคอมไบแนนต์ ในเดือนตุลาคม 2021 วัคซีนได้รับการอนุมัติโดยองค์การอนามัยโลกเพื่อใช้ในเด็ก ถือเป็นวัคซีนมาลาเรียแรกที่ได้รับการแนะนำนี้[2][3][4]

โปสเตอร์โฆษณาเชิญชวนให้ฉีดวัคซีน RTS,S[1]

วัคซีน RTS,S ผลิตขึ้นตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980s โดยนักวิทยาศาสตร์ของบริษัท SmithKline Beecham Biologicals (ปัจจุบันคือ กลักโซสมิธไคลน์วัคซีนส์) ในประเทศเบลเยียม[5] จากนั้นจึงมีการพัฒนาต่อยอดโดย GSK ร่วมกับสถาบันวิจัยวอลเทอร์รี้ดอาร์มี[6] ภายใต้การสนับสนุนด้านเงินทุนบางส่วนจากโครงการวัคซีนมาลาเรียพาธ และมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ ค่าประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ที่ 26-50% ในทารกและเด็กเล็ก

ในเดือนกรกฎาคม 2015 องค์การยายุโรป (EMA) ให้การรับรองการใช้วัคซีน[7] วัคซีนนี้ถือเป็นวัคซีนมาลาเรียแรกที่ได้รับการรับรองให้ใช้ รวมถึงเป็นวัคซีนโรคติดเชื้อปรสิตในมนุษย์ชนิดแรกที่ได้รับการรับรองให้ใช้[8] และในวันที่ 23 ตุลาคม 2015 องค์การอนามัยโลก โดยสำนักผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาเชิงยุทธศาสตร์ด้านการสร้างภูมิคุ้มกัน (SAGE) และ คณะกรรมการที่ปรึกษานโยบายมาลาเรีย (MPAC) ร่วมกันเสนอให้มีการนำไปใช้นำร่อง (pilot implementation) ในแอฟริกา[9] โครงการนำร่องเริ่มต้นในวันที่ 23 เมษายน 2019 ที่ประเทศมาลาวี, 30 เมษายน 2019 ที่ประเทศกานา และ 13 กันยายน 2019 ที่ประเทศเคนยา[10][11]

อ้างอิง แก้

  1. "RTS,S Malaria Vaccine: 2019 Partnership Award Honoree". YouTube. Global Health Technologies Coalition. สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.
  2. Davies, Lizzy (6 October 2021). "WHO endorses use of world's first malaria vaccine in Africa". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.
  3. Drysdale, Carla; Kelleher, Kristen. "WHO recommends groundbreaking malaria vaccine for children at risk" (Press release). Geneva: World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.
  4. Mandavilli, Apoorva (6 October 2021). "A 'Historical Event': First Malaria Vaccine Approved by W.H.O." New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.
  5. "HYBRID PROTEIN BETWEEN CS FROM PLASMODIUM AND HBsAG".
  6. Heppner, D. Gray Jr.; Kester, Kent E.; Ockenhouse, Christian F.; Tornieporth, Nadia; และคณะ (2005). "Towards an RTS,S-based, multi-stage, multi-antigen vaccine against falciparum malaria: progress at the Walter Reed Army Institute of Research". Vaccine. 23 (17–18): 2243–50. doi:10.1016/j.vaccine.2005.01.142. PMID 15755604. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2018 – โดยทาง the University of Nebraska–Lincoln.
  7. "Mosquirix H-W-2300". European Medicines Agency (EMA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-23. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BBC2015
  9. Stewart, Saira (23 October 2015). "Pilot implementation of first malaria vaccine recommended by WHO advisory groups" (Press release). Geneva: World Health Organization. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2021.
  10. Alonso, Pedro (19 June 2019). "Letter to partners – June 2019" (Press release). Wuxi: World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 22 October 2019.
  11. "Malaria vaccine launched in Kenya: Kenya joins Ghana and Malawi to roll out landmark vaccine in pilot introduction" (Press release). Homa Bay: World Health Organization. 13 September 2019. สืบค้นเมื่อ 22 October 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้