พริสตีนา

(เปลี่ยนทางจาก Pristina)

พริสตีนา[1] (อังกฤษ: Pristina,[2] UK: /ˈprʃtɪnə, prɪʃˈtnə/,[3] US: /ˈprɪʃtɪnə, -nɑː/;[4][5] แอลเบเนีย: Prishtina หรือ Prishtinë; เซอร์เบีย: Приштина / Priština) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศคอซอวอ ประชากรในนครมีทั้งสิ้น 204,721 คน (ค.ศ. 2016) ส่วนใหญ่เป็นชาวแอลเบเนีย ทำให้พริสตีนากลายเป็นนครที่มีผู้พูดภาษาแอลเบเนียมากเป็นอันดับที่สองของโลก รองจากเมืองหลวงของประเทศแอลเบเนียอย่างติรานา[6][7] ในเชิงภูมิศาสตร์ นครตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้กับภูเขากอลยัก

พริสตีนา
นครและเทศบาล
แอลเบเนีย: Prishtina, Prishtinë
เซอร์เบีย: Приштина, Priština
พริสตีนาตั้งอยู่ในประเทศคอซอวอ
พริสตีนา
พริสตีนา
พริสตีนาตั้งอยู่ในยุโรป
พริสตีนา
พริสตีนา
พิกัด: 42°40′N 21°10′E / 42.667°N 21.167°E / 42.667; 21.167
ประเทศ คอซอวอ
เขตพริสตีนา
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีShpend Ahmeti (PSD)
พื้นที่
 • นครและเทศบาล572 ตร.กม. (221 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง30.3 ตร.กม. (11.7 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล30.3 ตร.กม. (11.7 ตร.ไมล์)
ความสูง652 เมตร (2,139 ฟุต)
ประชากร
 (2015)
 • อันดับ1
 • นครและเทศบาล204,725
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (เวลาฤดูร้อนยุโรปกลาง)
ZIP code10.000
รหัสพื้นที่+383 (0)38
ทะเบียนพาหนะ01
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

ในช่วงยุคหินเก่า พื้นที่ของพริสตีนาในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมวินชา โดยเป็นถิ่นฐานของชาวอิลลีรีและชาวโรมันในสมัยคลาสสิก พระราชาบาร์ดิลลิสได้รวบรวมเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ มาไว้ที่พริสตีนาในช่วง 400 ปีก่อนคริสตกาล และได้ก่อตั้งอาณาจักรดาร์ดาเนียน[8][9][10] มรดกสมัยคลาสสิกที่ยังคงพบเห็นในปัจจุบัน อาทิ เมืองโบราณอัลปีอานา ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในเมืองโบราณที่สำคัญของโรมันในแถบคาบสมุทรบอลข่าน ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5–9 พื้นที่นี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ต่อมาในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 9 ได้เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 พื้นที่นี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดบัลแกเรียภายใต้การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์อีกครั้ง และในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 พื้นที่ได้ถูกชิงไปอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 อยู่บ่อยครั้ง

ปลายยุคกลาง พริสตีนากลายเป็นเมืองที่สำคัญของเซอร์เบีย และเป็นที่ตั้งของของตำหนักของกษัตริย์หลายพระองค์ นับตั้งแต่สเตฟาน มิลูติน, สเตฟาน ยูรอส ที่ 3, สเตฟาน ดูซัน, สเตฟาน ยูรอส ที่ 5 และวุก บรันคอวิช[11] ต่อมาในช่วงที่จักรวรรดิออตโตมันครอบครองบอลข่าน พริสตีนากลายเป็นแหล่งแร่และศูนย์กลางการค้าที่สำคัญเนื่องจากมีที่ตั้งใกล้กับเมืองเหมืองแร่อย่างนอวอบราโด และมีสินค้าที่สำคัญอย่างขนแพะ หนังแพะ และดินปืน[12] มัสยิดแห่งแรกของพริสตีนาถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ภายใต้การปกครองของเซอร์เบีย[13]

พริสตีนาเป็นศูนย์กลางทางการขนส่งที่สำคัญของคอซอวอ ทั้งทางอากาศ ราง และถนน ท่าอากาศยานนานาชาติพริสตีนาเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ทางด่วนและมอเตอร์เวย์มีหลายสาย ได้แก่ สายอาร์ 6, อาร์ 7 และอาร์ 7.1 ซึ่งเชื่อมต่อไปยังประเทศแอลเบเนียและประเทศมาซิโดเนียเหนือ

พริสตีนาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง และการค้าของประเทศ นครแห่งนี้เป็นที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาลคอซอวอ ซึ่งเป็นเป็นที่ทำการของประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีคอซอวอ และสมาชิกรัฐสภา พริสตีนาได้สถาปนาเป็นเมืองฝาแฝดกับนครอังการาในประเทศตุรกี[14] และติรานาในประเทศแอลเบเนีย[15][16]

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  2. "Define Pristina". Dictionary.com. สืบค้นเมื่อ 28 October 2013.
  3. "Pristina". Collins English Dictionary. HarperCollins. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
  4. "Priština"[ลิงก์เสีย] (US) and "Priština". Oxford Dictionaries UK English Dictionary. Oxford University Press. n.d. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
  5. "Pristina". The American Heritage Dictionary of the English Language (5th ed.). HarperCollins. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
  6. Prishtina Development Plan Document: http://prishtinaonline.com/uploads/prishtina_pzhk_2012-2022_shqip%20(1).pdf
  7. Official gov't census: http://esk.rks-gov.net/rekos2011/repository/docs/REKOS%20LEAFLET%20ALB%20FINAL.pdf เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. [1], The Cambridge ancient history: The fourth century B.C. Volume 6 of The Cambridge ancient history, Iorwerth Eiddon Stephen Edwards, ISBN 0-521-85073-8, ISBN 978-0-521-85073-5, Authors: D. M. Lewis, John Boardman, Editors: D. M. Lewis, John Boardman, Edition 2, Publisher: Cambridge University Press, 1994 ISBN 0-521-23348-8, ISBN 978-0-521-23348-4.
  9. Adams, Douglas Q. (1997). James P. Mallory (บ.ก.). Encyclopedia of Indo-European Culture. Fitzroy Dearborn. ISBN 978-1-884964-98-5.
  10. Wilson, Nigel Guy (2006). Encyclopedia Of Ancient Greece. Taylor & Francis Group. ISBN 978-0-415-97334-2.
  11. Zadruga, Srpska Književna (1913). Izdanja. p. 265.
  12. Warrander, Gail; Verena Knaus (2010). Kosovo. Bradt Travel Guides Ltd, UK. p. 85. ISBN 978-1-84162-331-3.
  13. Warrander, Gail; Verena Knaus (2010). Kosovo. Bradt Travel Guides Ltd, UK. p. 86. ISBN 978-1-84162-331-3.
  14. "Kardeş Kentleri Listesi ve 5 Mayıs Avrupa Günü Kutlaması [via WaybackMachine.com]" (ภาษาตุรกี). Ankara Büyükşehir Belediyesi - Tüm Hakları Saklıdır. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2009. สืบค้นเมื่อ 2013-07-21.
  15. "Twinning Cities: International Relations" (PDF). Municipality of Tirana. www.tirana.gov.al. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-10. สืบค้นเมื่อ 2009-06-23.
  16. Twinning Cities: International Relations. Municipality of Tirana. www.tirana.gov.al. Retrieved on 2008-01-25.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้