ปลาหนวดพราหมณ์

(เปลี่ยนทางจาก Polynemus)
ปลาหนวดพราหมณ์
ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น (P. multifilis)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Polynemidae
สกุล: Polynemus
Linnaeus, 1758
ชนิด
ดูในรายละเอียด
ชื่อพ้อง

ปลาหนวดพราหมณ์ หรือ ปลาหนวดตาแป๊ะ (อังกฤษ: Threadfins)[1][2][3] เป็นสกุลของปลาน้ำกร่อยและน้ำจืดจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลากุเรา (Polynemidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Polynemus (/โพ-ลี-นี-มัส/)

เป็นปลาที่พบได้ในน้ำกร่อยและน้ำจืดเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน มีลักษณะโดยรวม คือ ครีบอกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนบนเหมือนครีบปลาทั่วไป แต่ส่วนล่างแบ่งเป็นเส้น ๆ มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ชนิด ตั้งแต่ 3-14 เส้น

เป็นปลาที่ผสมพันธุ์และวางไข่ ฟักเป็นตัวในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ อาจพบได้บ้างตามแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือชายฝั่ง พบแพร่กระจายพันธุ์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศอินโดนีเซีย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร[4]

สำหรับในชนิดที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ปลาหนวดพราหมณ์เหนือ (P. aquilonaris), ปลาหนวดพราหมณ์ตะวันออก (P. dubius), ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 7 เส้น (P. paradiseus), ปลาหนวดพราหมณ์ทอง (P. melanochir) และ ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น (P. multifilis) นิยมรับประทานเป็นอาหาร และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

การจำแนก แก้

อ้างอิง แก้

  1. Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2019). Species of Polynemus in FishBase. December 2019 version.
  2. แม่แบบ:Cof genus
  3. Nelson, J. S. (2006). Fishes of the World (4 ed.). Hoboken, NJ: John Wiley & Sons. p. 372. ISBN 978-0-471-25031-9.
  4. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 257 หน้า. หน้า 140. ISBN 974-00-8738-8
  5. จาก Fishbase.org