กลุ่มปิม ฟอร์เตาน์

(เปลี่ยนทางจาก Pim Fortuyn List)

กลุ่มปิม ฟอร์เตาน์ (ดัตช์: Lijst Pim Fortuyn หรือย่อเป็น LPF) เป็นพรรคการเมืองฝ่ายขวาในประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นโดยปิม ฟอร์เตาน์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักข่าวการเมือง โดยตั้งใจจะก่อตั้งพรรคในนามพรรคเนเธอร์แลนด์น่าอยู่ (Leefbaar Nederland) ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2002 แต่ถูกตัดสิทธิ์หัวหน้าพรรคในเดือนกุมภาพันธ์เนื่องจากกรณีการสัมภาษณ์ในประเด็นผู้อพยพ จึงได้ก่อตั้งกลุ่มปิม ฟอร์เตาน์ขึ้นแทนในอีกไม่กี่วันต่อมา หลังจากนั้นได้รับความสนใจจากสาธารณชนพอสมควรก่อนที่ปิม ฟอร์เตาน์จะถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 เพียงเก้าวันเท่านั้นก่อนการเลือกตั้งจะเกิดขึ้น แต่พรรคได้ยืนยันที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งต่อไป จนกลายเป็นพรรคที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นอันดับสองในการเลือกตั้ง

กลุ่มปิม ฟอร์เตาน์
Lijst Pim Fortuyn
ชื่อย่อLPF
ผู้ก่อตั้งปิม ฟอร์เตาน์
ประธานปิม ฟอร์เตาน์
(2002)
เปเตอร์ ลางเกินดัม
(2002)
เอ็ด มาส
(2002–2003)
แซร์เกย์ โมเลอเฟ็ลด์
(2004–2006)
แบร์ต สเนล
(2006–2008)
หัวหน้าปิม ฟอร์เตาน์
(2002) ()
ว่าง
(2002)
มัต แฮร์เบิน
(2002)
แฮร์รี ไวน์สเคงก์
(2002)
มัต แฮร์เบิน
(2002–2004)
เคราร์ด ฟัน อัส
(2004–2006)
มัน เฮร์เบิน
(2006)
โอลัฟ สตูเคอร์
(2006)
ว่าง
(2006–2008)
ก่อตั้ง14 กุมภาพันธ์ 2002; 22 ปีก่อน (2002-02-14)
ถูกยุบ1 มกราคม ค.ศ. 2008 (2008-01-01)
แยกจากเนเธอร์แลนด์น่าอยู่
ที่ทำการSpaanse Kubus
Vlaardingweg 62
รอตเทอร์ดาม
อุดมการณ์ขวาจัด[1][2][3]
ลัทธิอิงสามัญชน[4][5]
คตินิยมแบบฟอร์เตาน์
อนุรักษนิยม[6][7]
ชาตินิยม[5]
คตินิยมต่อต้านสหภาพยุโรป[5][8]
จุดยืนขวาจัด[6][9]
สีเหลืองและน้ำเงิน
การเมืองเนเธอร์แลนด์
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

กลุ่มปิม ฟอร์เตาน์ ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียนและพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย แต่ความขัดแย้งภายในพรรคทำให้รัฐบาลผสมต้องแตกหักและมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ในอีกไม่กี่เดือนต่อมา หลังจากนั้น พรรคเสื่อมความนิยมลงเพราะขาดผู้นำที่ชัดเจน นำมาสู่การยุบพรรคใน ค.ศ. 2008

อ้างอิง แก้

  1. Pauwels, Teun (2014). Populism in Western Europe: Comparing Belgium, Germany and The Netherlands. Routledge. pp. 117–118. ISBN 9781317653912.
  2. Barbara Wejnert (26 July 2010). Democratic Paths and Trends. Emerald Group Publishing. p. 28. ISBN 978-0-85724-091-0. สืบค้นเมื่อ 20 August 2012.
  3. Thomas Poguntke; Paul Webb (21 June 2007). The Presidentialization of Politics: A Comparative Study of Modern Democracies. Oxford University Press. p. 158. ISBN 978-0-19-921849-3. สืบค้นเมื่อ 24 August 2012.[ลิงก์เสีย]
  4. Coalition Politics and Cabinet Decision Making. p.90. Author - Juliet Kaarbo. Published by the University of Michigan. First published in 2012. Accessed via Google Books.
  5. 5.0 5.1 5.2 Aleksandra Moroska (2009). "Right-wing Populism and Euroscepticism in Western and Eastern Europe – List Pim Fortuyn and League of Polish Families, Comparative Approach". ใน Krisztina Arató; Petr Kaniok (บ.ก.). Euroscepticism and European Integration. CPI/PSRC. pp. 308–320. ISBN 978-953-7022-20-4.
  6. 6.0 6.1 Thijl Sunier; Rob van GInkel (2006). "'At Your Service!' Reflections on the Rise of Neo-Nationalism in the Netherlands". ใน André Gingrich; Marcus Banks (บ.ก.). Neo-nationalism in Europe and Beyond: Perspectives from Social Anthropology. Berghahn Books. p. 121. ISBN 978-1-84545-190-5.
  7. Raymond Taras (2012). Xenophobia and Islamophobia in Europe. Edinburgh University Press. p. 185. ISBN 978-0-7486-5489-5.
  8. Cas Mudde (2007). "A Fortuynist Foreign Policy". ใน Christina Schori Liang (บ.ก.). Europe for the Europeans: The Foreign and Security Policy of the Populist Radical Right. Ashgate Publishing, Ltd. p. 217. ISBN 978-0-7546-4851-2.
  9. Andeweg, R. and G. Irwin Politics and Governance in the Netherlands, Basingstoke (Palgrave) p.49