เหล่านาวิกโยธินฟิลิปปินส์

(เปลี่ยนทางจาก Philippine Marine Corps)

เหล่านาวิกโยธินฟิลิปปินส์ (ตากาล็อก: Hukbong Kawal Pandagat ng Pilipinas; อังกฤษ: Philippine Marine Corps; อักษรย่อ: PMC) เป็นเหล่านาวิกโยธินของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นทหารราบนาวิกภายใต้คำสั่งของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ โดยได้ดำเนินการสงครามสะเทินน้ำสะเทินบกและการสงครามนอกประเทศ เช่นเดียวกับภารกิจการปฏิบัติการพิเศษ

เหล่านาวิกโยธินฟิลิปปินส์
Hukbong Kawal Pandagat ng Pilipinas
เครื่องหมายของเหล่านาวิกโยธินฟิลิปปินส์
ประจำการ2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1950 (1950-11-02)
ประเทศ ฟิลิปปินส์
รูปแบบทหารราบนาวิก
กำลังรบ7,500 นาย[1] (ค.ศ. 2007)[2]
ขึ้นกับ กองทัพฟิลิปปินส์
กองบัญชาการฟอร์ตโบนีฟาซีโอ ตากีกซิตี ประเทศฟิลิปปินส์
คำขวัญKarangalan, Katungkulan, Kabayanihan
("เกียรติยศ, หน้าที่, กล้าหาญ")
สีหน่วยเลือดหมู, ทอง และน้ำเงิน
วันสถาปนา7 พฤศจิกายน
ปฏิบัติการสำคัญการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์
ความขัดแย้งโมโร
กรณีพิพาทหมู่เกาะสแปรตลี
ปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน - ประเทศฟิลิปปินส์
ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติ
การล้อมมะนิลาเพนนินซูลา
วิกฤตการณ์ซัมบวงกาซิตี ค.ศ. 2013
การล้อมมาราวี ค.ศ. 2017
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการเหล่านาวิกโยธินฟิลิปปินส์พลตรี อัลบิน ปาร์เรโญ, กองทัพฟิลิปปินส์
เครื่องหมายสังกัด
ธง
แผ่นปะประจำเครื่องแบบทหาร
สัญลักษณ์

ประวัติ แก้

 
นาวิกโยธินฟิลิปปินส์ใน ค.ศ. 1992


"ภารกิจของการฝึกชายหนุ่มเหล่านี้ให้เป็นนาวิกโยธินตกเป็นของพวกเรา วันนี้ ในขณะที่เราเริ่มฝึกพวกเขา เราจะตีด้วยค้อนทุบครั้งแรกในการ "ลับคม" ของกองทัพ"

— ภารกิจของเรือเอก มานูเอล โกเมซ ในการก่อตั้งเหล่านาวิกโยธินฟิลิปปินส์เมื่อ ค.ศ. 1950[ต้องการอ้างอิง]

ตามคำสั่งของประธานาธิบดีเอลปิดิโอ กีริโน และรามอน แมกไซไซ ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรงกลาโหม เหล่านี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1950 ในฐานะกองร้อยหนึ่งของกองเรือนาวิกโยธินที่ 1 แห่งประเทศฟิลิปปินส์ และต่อจากนั้นมีสำนักงานใหญ่ที่ฐานทัพเรือคาบีเต ในคาบีเตซิตี เจ้าหน้าที่จากกองทัพบกสหรัฐและเหล่านาวิกโยธินสหรัฐได้ช่วยฝึกเหล่านาวิกโยธินฟิลิปปินส์ในช่วงแรกเป็นอย่างมากในการศึกและภาระหน้าที่สะเทินน้ำสะเทินบกที่ฟอร์ตโบนีฟาซีโอ ในมากาตีซิตี และในสถานที่อื่น ๆ หลายแห่ง ทั้งนี้ เรือเอก มานูเอล โกเมซ ได้เป็นผู้บัญชาการคนแรก โดยต่อจากนั้น เรือโท เกรโกริโอ ลิม ได้มาเป็นผู้ช่วยของเขา กับนายทหารอีกหกคน (4 ผู้ช่วยจากกองทัพเรือ และอีกสองนายจากกองทัพบกฟิลิปปินส์) ที่มาเข้าร่วมกับพวกเขา ซึ่งนายทหารหลายคนนี้เป็นทหารผ่านศึกจากสงครามโลกครั้งที่สอง

ความพยายามและการฝึกฝนอย่างหนักของพวกเขาบังเกิดผล เมื่อกองร้อยนาวิกโยธินทำการยกพลสะเทินน้ำสะเทินบกเป็นครั้งแรกในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1951 ที่อูมิไร เกซอน และมีส่วนร่วมในการต่อสู้เป็นครั้งแรกในวันที่ 4 มิถุนายนของปีเดียวกันในจังหวัดนูเวบาเอซีฮาเพื่อต่อต้านกลุ่มกบฏคอมมิวนิสต์ การต่อสู้เหล่านี้และอื่น ๆ ที่โดดเด่นในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ เช่นเดียวกับการเคลื่อนกำลังพลข้ามน้ำข้ามทะเลสู่เกาหลี นำไปสู่การตัดสินใจของกองทัพเรือเพื่อเติมเต็มกองพันนาวิกโยธินที่ 1 กับการเพิ่มของกองร้อยใน ค.ศ. 1955 และกองบัญชาการตลอดจนกองร้อยบริการในปีเดียวกัน ดังนั้นกองพันนาวิกโยธินของหนึ่งกองบัญชาการและสองกองร้อยปืนเล็กยาวนาวิกโยธิน ซึ่งคราวนี้นาวาตรี ลิม รับผิดชอบ ก็เสร็จสมบูรณ์ (วันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1955 เป็นวันเลื่อนขั้นอย่างเป็นทางการของกองพันนาวิกโยธินที่ 1 นับเป็นวันครบรอบอย่างเป็นทางการของเหล่าจนถึงปัจจุบันโดยแท้)

นอกจากนี้ เหล่านาวิกโยธินและเหล่าอาวุธจะได้รับการก่อตั้งขึ้นในภายหลังเพื่อเพิ่มการขยายตัวของกองกำลังในคริสต์ทศวรรษ 1960 และเขี้ยวเล็บยังขยายไปสู่การอารักขาระดับวีไอพี รวมทั้งจะเห็นการสนับสนุนเหล่ากลองและแตรเดี่ยวของตัวเองอย่างแท้จริง เหล่านาวิกโยธินได้ปฏิบัติการในการรักษาหมู่เกาะสแปรตลีเมื่อ ค.ศ. 1971 รวมถึงในการต่อสู้กับกองกำลังแบ่งแยกดินแดนมุสลิมและกองทัพประชาชนใหม่ที่แข็งแกร่งในปีต่อ ๆ ไป เมื่อกองกำลังกลายเป็นกองพันนาวิกโยธินฟิลิปปินส์ด้วยการก่อตัวของกองพันนาวิกโยธินที่ 2 และ 3, หมู่ทหารกองบัญชาการ, กองพันยุทธวิธีเฉพาะกาลที่ 1 (ซึ่งปฏิบัติการปะทะในเกาะมินดาเนากับผู้แบ่งแยกดินแดนอิสลาม) และกองฝึกทางทะเล ซึ่งเป็นกองฝึกนาวิกโยธินฟิลิปปินส์ในเวลาต่อมา

เพื่อเน้นการเปลี่ยนแปลงกองกำลังที่เกิดขึ้นเหล่านี้ใน ค.ศ. 1976 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นนาวิกโยธินฟิลิปปินส์

เมื่อถึงช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 การขยายตัวของกองกำลังก็มาพร้อมกับการต่อสู้กับทั้งคอมมิวนิสต์และกลุ่มกบฏมุสลิมติดอาวุธทั่วประเทศ รวมถึงใน ค.ศ. 1986 ก็มีส่วนร่วมในการปฏิวัติพลังประชาชนที่ประสบความสำเร็จ ปีต่อ ๆ เหล่านาวิกโยธินนี้ได้ปฏิบัติการในรัฐประหารจำนวนหนึ่ง หลังจากนั้นก็เข้าร่วมต่อต้านการบริหารของคอราซอน อากีโน ซึ่งจบลงด้วยความล้มเหลวทั้งหมด นอกจากนี้ โรดอลโฟ เบียซอน ได้กลายเป็นนายพลเหล่านาวิกโยธินคนแรกและรายเดียวที่เป็นหัวหน้ากองกำลังติดอาวุธในฐานะเสนาธิการหลังจากดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นนายพลนาวิกโยธินคนแรกและคนเดียวที่จะดำรงตำแหน่งจนถึงปัจจุบันในประวัติศาสตร์โรงเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์

ยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 จะพบการขยายตัวต่อไปในฐานะกองกำลัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ โดยกลายเป็นเหล่านาวิกโยธินฟิลิปปินส์ใน ค.ศ. 1995 ในฐานะครบรอบกองกำลัง 45 ปี ส่วนต้นทศวรรษคริสต์ทศวรรษ 2000 จะพบว่าเหล่านาวิกโยธินไม่เพียงแต่เผชิญหน้ากับผู้ทำสงครามคอมมิวนิสต์และอิสลามเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มผู้ก่อการร้ายด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ นาวิกโยธินยังได้ปฏิบัติการในยุทธการที่ซัมบวงกาซิตี ค.ศ. 2013 ซึ่งให้การจู่โจมสะเทินน้ำสะเทินบกและการยิงสนับสนุนสำหรับกองกำลังทหารราบ ในระหว่างยุทธการที่มาราวี ค.ศ. 2017 ได้พบพวกเขาต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายของรัฐอิสลามในฐานะยานพาหนะของพวกเขา เช่น แอลเอวี-300 และวี-150 ได้รับการโมดิฟายด้วยไม้กระดาน เพื่อป้องกันพวกมันจากระเบิดแสวงเครื่องและอาร์พีจี

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

หมายเหตุ
  1. "Philippine National Security". 24 July 2009.
  2. Publications, USA International Business (2007), Philippines Government and Business Contacts Handbook, Int'l Business Publications, p. 23, ISBN 978-1-4330-3979-9[ลิงก์เสีย]
ผลงานที่ปรึกษา
  • International Institute for Strategic Studies (IISS) (2012). The Military Balance 2012. London: IISS. ISSN 0459-7222.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้