ปาทริส ลูมูมบา

นายกรัฐมนตรีและผู้นำสงครามเย็นจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
(เปลี่ยนทางจาก Patrice Lumumba)

ปาทริส เอเมอรี ลูมูมบา (ฝรั่งเศส: Patrice Émery Lumumba;[c] 2 กรกฎาคม 1925 – 17 มกราคม 1961) เป็นนักการเมืองและผู้นำขบวนการเอกราชคองโก เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ในเวลานั้นคือสาธารณรัฐคองโก) ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน 1960 และเป็นผู้นำของขบวนการแห่งชาติคองโก (แอมแอนเซ) นับตั้งแต่ปี 1958 จนกระทั่งเสียชีวิตในเดือนมกราคม 1961 เขาเชื่อมั่นในชาตินิยมแอฟริกาและอุดมการณ์รวมกลุ่มแอฟริกา ลูมูมบาเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านคองโกจากอาณานิคมของเบลเยียมสู่การเป็นรัฐเอกราช

ปาทริส ลูมูมบา
ภาพถ่ายทางการของลูมูมบาเมื่อปี 1960
นายกรัฐมนตรี
สาธารณรัฐคองโก
คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
24 มิถุนายน – 5 กันยายน 1960
ประธานาธิบดีโฌแซ็ฟ กาซา-วูบู
รองอ็องตวน กีเซงกา
ก่อนหน้าประเดิมตำแหน่ง
ถัดไปโฌแซ็ฟ อีเลโอ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
24 มิถุนายน – 5 กันยายน 1960
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าประเดิมตำแหน่ง
ถัดไปแฟร์ดีน็อง กาซาดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Élias Okit'Asombo

2 กรกฎาคม ค.ศ. 1925(1925-07-02)
กาตาโกกอมเบ กงโก-กาซาย เบลเจียนคองโก[a]
เสียชีวิต17 มกราคม ค.ศ. 1961(1961-01-17) (35 ปี)
ใกล้กับเอลีซาแบ็ตวีล รัฐกาต็องกา[b]
สาเหตุการเสียชีวิตถูกประหารชีวิต (ด้วยปืน)
พรรคการเมืองขบวนการแห่งชาติคองโก (แอมแอนเซ)
คู่สมรสปอลีน โอปังโก (สมรส 1951)

ไม่นานหลังคองโกได้รับเอกราชในปี 1960 ได้เกิดการก่อการกำเริบขึ้นในกองทัพ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์คองโก ลูมูมบาได้ร้องขอให้สหรัฐและสหประชาชาติช่วยปราบปรามกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกาต็องกาซึ่งมีเบลเยียมหนุนหลังและนำโดยมออีซ ชอมเบ คำร้องขอของลูมูมบาถูกปฏิเสธเนื่องจากความแคลงใจในโลกตะวันตกว่าลูมูบามีแนวคิดสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ ความแคลงใจนี้เพิ่มขึ้นอีกเมื่อลูมูมบาหันไปขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต ซีไอเอเรียกการขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตนี้ว่า "การยึดครองตามแบบฉบับของลัทธิคอมมิวนิสต์"[2]

หลังลูมูมบาถูกโค่นล้มจากการรัฐประหารที่นำโดยโมบูตู เซเซ เซโก เขาพยายามหลบหนีไปยังสตานเลวีลเพื่อร่วมกับกลุ่มผู้สนับสนุนในการจัดตั้งรัฐต่อต้านโมบูตูที่ชื่อสาธารณรัฐเสรีคองโก ลูมูมบาถูกเจ้าหน้าที่รัฐของโมบูตูจับกุมระหว่างทางไปสตานเลวีล เขาถูกเจ้าหน้าที่กาต็องกาประหารชีวิตต่อหน้าเจ้าหน้าที่และนายทหารจากกาต็องกาและเบลเยียม ศพเขาถูกโยนลงไปในหลุมตื้น ๆ แต่ต่อมาถูกขุดขึ้นและนำไปทำลายทิ้ง[3] หลังจากถูกสังหาร ลูมูมบาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้พลีชีพเพื่อขบวนการรวมกลุ่มแอฟริกาอย่างกว้างขวาง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การสอบสวนได้ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเหตุการณ์แวดล้อมการเสียชีวิตของลูมูมบา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของเบลเยียมและสหรัฐ[3] ในปี 2002 เบลเยียมได้กล่าวคำขอโทษอย่างเป็นทางการจากส่วนร่วมในการสังหารลูมูมบา[4]

อ้างอิง แก้

  1. ปาทริส ลูมูมบา ที่สารานุกรมบริตานิกา
  2. Turner 2007, p. 32.
  3. 3.0 3.1 "How did Patrice Lumumba die?".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. Boffey, Daniel (22 February 2019). "Reappearance of statue's missing hand reignites colonial row". The Guardian.

หมายเหตุ แก้

  1. ปัจจุบันคือซ็องกูรู สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
  2. ปัจจุบันคือลูบูมบาชี สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
  3. หรืออาจสะกดว่า Patrice Hemery Lumumba[1]

อ้างอิง แก้

บรรณานุกรม แก้