การแบ่งอินเดีย

การแบ่งบริติชอินเดียออกเป็นอินเดียและปากีสถานในปี ค.ศ. 1947
(เปลี่ยนทางจาก Partition of India)

การแบ่งอินเดียในปี ค.ศ. 1947 แยกบริติชอินเดีย[a] ออกเป็นประเทศอินเดียในเครือจักรภพและประเทศปากีสถานในเครือจักรภพ[1] ประเทศอินเดียในเครือจักรภพคือสาธารณรัฐอินเดียปัจจุบัน ขณะที่ประเทศปากีสถานในเครือจักรภพกลายเป็นสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานและสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ เหตุการณ์นี้รวมถึงการแยกเขตปกครองเบงกอลและรัฐปัญจาบตามประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม และยังก่อให้เกิดการแยกกองทัพบกบริติชอินเดีย กองทัพเรือบริติชอินเดีย กองทัพอากาศบริติชอินเดีย ราชการอินเดีย การรถไฟอินเดียและกองคลังกลาง การแบ่งอินเดียเป็นสาระสำคัญหนึ่งในพระราชบัญญัติอิสรภาพของอินเดีย ค.ศ. 1947 ซึ่งมีผลให้บริติชราชสิ้นสุด การก่อตั้งประเทศอินเดียในเครือจักรภพและประเทศปากีสถานในเครือจักรภพมีผลตามกฎหมายตอนเที่ยงคืนของวันที่ 14–15 สิงหาคม ค.ศ. 1947

การแบ่งอินเดีย
ศาสนาเด่นในบริติชราช (ค.ศ. 1901) ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์แบ่งดินแดน
วันที่14–15 สิงหาคม ค.ศ. 1947
ที่ตั้งอนุทวีปอินเดีย
สาเหตุพระราชบัญญัติอิสรภาพของอินเดีย ค.ศ. 1947
ผลการแบ่งบริติชอินเดียเป็นอินเดียและปากีสถาน นำไปสู่ความรุนแรงทางนิกาย การเบียดเบียนทางศาสนาและวิกฤตผู้ลี้ภัย
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 200,000–2,000,000 คน
พลัดถิ่น 10–20 ล้านคน
บริติชอินเดียในอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ The Imperial Gazetteer of India ค.ศ. 1909 สีชมพูคือบริติชอินเดีย สีเหลืองคือรัฐมหาราชา

การแบ่งอินเดียทำให้ประชาชน 10–20 ล้านคนต้องพลัดถิ่น ก่อให้ภัยพิบัติครั้งใหญ่ในสองประเทศเกิดใหม่[2][3][4][5][6][7][8][b] ประมาณการว่าประชาชน 200,000–1,000,000 คนเสียชีวิตระหว่างการย้ายถิ่นฐาน[c][9] ซึ่งถือเป็นการอพยพหมู่ครั้งใหญ่ที่สุด[10][11] และเป็นหนึ่งในวิกฤตผู้ลี้ภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงประมาณหลายแสนถึงสองล้านคน[9][c] ความรุนแรงที่เกิดขึ้นยังสร้างความเป็นปรปักษ์และความหวาดระแวงระหว่างอินเดียกับปากีสถานจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้การแบ่งอินเดียไม่ได้รวมถึงการแยกตัวของบังกลาเทศจากปากีสถานในปี ค.ศ. 1971 หรือการแยกตัวก่อนหน้านั้นของพม่า (ประเทศพม่าปัจจุบัน) และบริติชซีลอน (ประเทศศรีลังกาปัจจุบัน) จากการปกครองอินเดีย[d] เหตุการณ์นี้ยังไม่รวมถึงการรวมรัฐมหาราชาเป็นสองประเทศในเครือเอกภพ หรือข้อพิพาทในการผนวกและแยกรัฐไฮเดอราบาด รัฐชูนาครห์และรัฐชัมมูและกัศมีร์ นอกจากนี้ยังไม่รวมถึงการรวมดินแดนแทรกอินเดียของฝรั่งเศสช่วงค.ศ. 1947–1954 หรือการผนวกอินเดียของโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1961 อย่างไรก็ตามหน่วยการเมืองอื่นที่อยู่ร่วมสมัย เช่น ราชอาณาจักรสิกขิม ราชอาณาจักรภูฏาน ราชอาณาจักรเนปาล ราชอาณาจักรอัฟกานิสถานและมัลดีฟส์ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้[e]

เชิงอรรถ แก้

หมายเหตุ แก้

  1. บริติชอินเดียประกอบด้วยบริติชราชซึ่งบริเตนปกครองโดยตรง และรัฐมหาราชาซึ่งบริเตนปกครองทางอ้อม
  2. "ประชาชนราว 12 ล้านคนต้องพลัดถิ่นในการแยกรัฐปัญจาบ และจำนวนผู้พลัดถิ่นอาจสูงถึง 20 ล้านคนเมื่อนับรวมอนุทวีปอินเดียทั้งหมด"[4]
  3. 3.0 3.1 "ยอดผู้เสียชีวิตยังคงเป็นที่ถกเถียง มีการประมาณการที่ 2 แสนถึง 2 ล้านคน"[9]
  4. ซีลอนเคยเป็นส่วนหนึ่งของเขตการปกครองมัทราสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1796 ก่อนจะแยกเป็นบริติชซีลอนในปี ค.ศ. 1802 ขณะที่พม่าถูกบริเตนผนวกระหว่างค.ศ. 1826–86 และเป็นส่วนหนึ่งของบริติชอินเดียจนถึงปี ค.ศ. 1937 หลังจากนั้นบริเตนปกครองพม่าโดยตรง[12] พม่าและซีลอนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1948 และ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 ตามลำดับ (ดูบทความประวัติศาสตร์ศรีลังกาและประวัติศาสตร์พม่า)
  5. ราชอาณาจักรสิกขิมถูกสถาปนาเป็นรัฐมหาราชาหลังมีการลงนามสนธิสัญญาอังกฤษ-สิกขิมในปี ค.ศ. 1861 อย่างไรก็ตามปัญหาอำนาจอธิปไตยไม่ได้รับการแก้ไข[13] สิกขิมกลายเป็นรัฐเอกราชภายใต้อำนาจของอินเดียในปี ค.ศ. 1947 ก่อนถูกผนวกเข้าเป็นรัฐที่ 22 ของอินเดียในปี ค.ศ. 1975 ด้านเนปาลและภูฏานลงนามสนธิสัญญากับบริเตนซึ่งนิยามทั้งสองรัฐเป็น "รัฐเอกราช" และไม่เป็นส่วนหนึ่งของอินเดียที่บริเตนปกครอง[14] ขณะที่บริเตนรับรองเอกราชของราชอาณาจักรอัฟกานิสถานหลังลงนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-อัฟกานิสถาน ค.ศ. 1919 สนธิสัญญานี้กำหนดเส้นดูรันด์เป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศ ซึ่งภายหลังนำไปสู่ข้อพิพาทพรมแดนระหว่างอัฟกานิสถานกับปากีสถานหลังได้รับเอกราช[15] ส่วนมัลดีฟส์เป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในปี ค.ศ. 1887 ก่อนได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1965

อ้างอิง แก้

  1. Partition (n), 7. b (3rd ed.). Oxford English Dictionary. 2005. The division of British India into India and Pakistan, achieved in 1947.
  2. "Rupture in South Asia" (PDF). United Nations High Commission for Refugees. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2016. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  3. Dr Crispin Bates (3 March 2011). "The Hidden Story of Partition and its Legacies". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  4. 4.0 4.1 Vazira Fazila‐Yacoobali Zamindar (4 February 2013). "India–Pakistan Partition 1947 and forced migration". The Encyclopedia of Global Human Migration. doi:10.1002/9781444351071.wbeghm285. ISBN 9781444334890. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  5. Population Redistribution and Development in South Asia. Springer Science & Business Media. 2012. p. 6. ISBN 978-9400953093. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017.
  6. "Rupture in South Asia" (PDF). United Nations High Commission for Refugees. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2016. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  7. Dr Crispin Bates (3 March 2011). "The Hidden Story of Partition and its Legacies". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  8. Vazira Fazila‐Yacoobali Zamindar (4 February 2013). "India–Pakistan Partition 1947 and forced migration". The Encyclopedia of Global Human Migration. doi:10.1002/9781444351071.wbeghm285. ISBN 9781444334890. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  9. 9.0 9.1 9.2 Talbot & Singh 2009, p. 2.
  10. "Rupture in South Asia" (PDF). UNHCR. สืบค้นเมื่อ 2014-08-16.
  11. Bates, Dr Crispin (March 3, 2011). "The Hidden Story of Partition and its Legacies". BBC. สืบค้นเมื่อ August 16, 2014.
  12. Sword For Pen, Time, 12 April 1937
  13. "Sikkim". Encyclopædia Britannica. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2007. สืบค้นเมื่อ 23 February 2017.
  14. Encyclopædia Britannica. 2008. "Nepal." เก็บถาวร 18 มีนาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Encyclopædia Britannica. 2008. "Bhutan."
  15. "The Durand Line: Analysis of the Legal Status of the Disputed Afghanistan-Pakistan Frontier". 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2020. สืบค้นเมื่อ 1 November 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้