อาการปวดขาที่เกิดจากประสาท

(เปลี่ยนทางจาก NC)

อาการปวดขาที่เกิดจากประสาท (อังกฤษ: Neurogenic claudication, pseudoclaudication ตัวย่อ NC) เป็นอาการสามัญอย่างหนึ่งของช่องไขสันหลังที่เอวตีบ (lumbar spinal stenosis)[1][2] และของการอักเสบที่เส้นประสาทซึ่งออกมาจากไขสันหลัง คำคุณศัพท์ว่า "เกิดจากประสาท" หมายความว่า ปัญหาอยู่ที่เส้นประสาท และคำว่า claudication มาจากคำภาษาละตินที่แปลว่า ปวกเปียก เพราะว่าคนไข้รู้สึกปวดหรืออ่อนแรงที่ขา ดังนั้น จึงควรแยกแยะ NC จาก อาการปวดขาเป็นระยะเหตุขาดเลือด (Intermittent claudication) ซึ่งเกิดจากปัญหาการไหลเวียนของเลือด ไม่ใช่ปัญหาทางประสาท

อาการอาจเป็นทั้งสองข้างหรือข้างเดียวที่บั้นท้าย ต้นขา น่อง เป็นความไม่สบาย เจ็บปวด ชา หรือกะปลกกะเปลี้ย ในคนไข้บางราย อาการอาจจุดชนวนโดยการเดินหรือยืนนาน ๆ ลักษณะคลาสสิกของอาการนี้ก็คือ อาการจะบรรเทาเมื่อเปลี่ยนอากัปกิริยาหรืองอเอว ไม่ใช่เพียงแค่พักเหมือนกับอาการที่มีเหตุจากการขาดเลือด[3] ดังนั้น คนไข้ที่มีอาการเหตุประสาทจะพิการน้อยกว่าในการขึ้นลงบันได เข็นรถ หรือปั่นจักรยาน[3][4] ในคนไข้ที่รากประสาทถูกบีบอย่างรุนแรง NC จะไม่เกิดเป็นระยะ ๆ แต่จะเป็นอย่างต่อเนื่อง

พยาธิสรีรภาพของโรคเชื่อว่าเป็นการขาดเลือดที่รากประสาทของเอว-กระเบนเหน็บ (lumbosacral) โดยเป็นเหตุทุติยภูมิเนื่องจากการบีบอัดของเส้นประสาทจากโครงสร้างรอบ ๆ รวมทั้ง

  • หน้าประกบข้อต่อ (facet) ที่โตเกิน
  • เอ็น ligamentum flavum ที่โตเกิน
  • ปุ่มงอกกระดูก (osteophyte) ที่โตเกิน
  • แผลเป็น
  • หมอนรองกระดูกสันหลังที่นูนหรือเคลื่อนออก

นอกจากอาการปวดขาเป็นระยะเหตุขาดเลือดแล้ว pseudo-trochanteric bursitis ก็ควรพิจารณาเพื่อวินิจฉัยแยกแยะด้วย

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. Comer, CM; Redmond, AC; Bird, HA; Conaghan, PG (2009). "Assessment and management of neurogenic claudication associated with lumbar spinal stenosis in a UK primary care musculoskeletal service: a survey of current practice among physiotherapists". BMC Musculoskelet Disord. 10: 121. doi:10.1186/1471-2474-10-121. PMC 2762954. PMID 19796387.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. Harrast, MA (March 2008). "Epidural steroid injections for lumbar spinal stenosis". Curr Rev Musculoskelet Med. 1 (1): 32–8. doi:10.1007/s12178-007-9003-2. PMC 2684150. PMID 19468896.
  3. 3.0 3.1 Genevay, S; Atlas, SJ (April 2010). "Lumbar spinal stenosis". Best Pract Res Clin Rheumatol. 24 (2): 253–65. doi:10.1016/j.berh.2009.11.001. PMC 2841052. PMID 20227646.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. Djurasovic, M; Glassman, SD; Carreon, LY; Dimar, JR (April 2010). "Contemporary management of symptomatic lumbar spinal stenosis". Orthop. Clin. North Am. 41 (2): 183–91. doi:10.1016/j.ocl.2009.12.003. PMID 20399357.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)