วงศ์ปลาแสงอาทิตย์
วงศ์ปลาแสงอาทิตย์ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีนตอนปลาย-ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Tetraodontiformes |
วงศ์: | Molidae |
สกุล | |
วงศ์ปลาแสงอาทิตย์ หรือ วงศ์ปลาโมลา (อังกฤษ: Mola, Sunfish, Headfish, Trunkfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Molidae (/โม-ลิ-ดี้/)
มีลำตัวกลมรูปไข่ แบนข้างมาก ตามีขนาดเล็ก ช่องเปิดเหงือกที่ขนาดเล็ก ปากอยู่ในตำแหน่งตรงมีขนาดเล็กฟันทั้งสองข้างเชื่อมต่อกันมีลักษณะคล้ายปากนก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ตรงข้ามกัน ครีบอกมีเล็ก ไม่มีครีบท้อง ในน่านน้ำไทยส่วนใหญ่พบทางฝั่งทะเลอันดามัน ส่วนหางของลำตัวตัดตรง ไม่มีครีบหาง ปกติเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรเข้ามาในเขตน้ำตื้นโดยบังเอิญหรือติดมากับอวนของชาวประมงที่ออกไปทำการประมงในมหาสมุทร เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่[2]
เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้ช้า เนื่องจากรูปร่าง กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอนสัตว์, แมงกะพรุน และสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ขณะที่ว่ายน้ำจะใช้ครีบก้นและครีบหาง ขณะที่ครีบอกจะใช้ควบคุมทิศทาง มีถุงลมขนาดใหญ่ ปากรวมทั้งเหงือกจะพ่นน้ำออกมาเพื่อเป่าทรายเหมือนเครื่องยนต์เจ็ตเพื่อค้นหาอาหารที่ใต้ทรายอีกด้วย[3]
แบ่งออกเป็น 3 สกุล[4] 4 ชนิด โดยชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดและพบได้บ่อย คือ ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ซึ่งเป็นชนิดที่มีความใหญ่ที่สุดด้วย โดยสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักกว่า 2 ตัน ซึ่งนับเป็นปลากระดูกแข็งที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก และถือเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับนี้อีกด้วย
การจำแนก
แก้- Masturus Gill, 1884
- Masturus lanceolatus (Liénard, 1840)
- Mola Koelreuter, 1766
- Mola mola (Linnaeus, 1758)
- Mola ramsayi (Gigoli, 1883)
- Ranzania Nardo, 1840
- Ranzania laevis (Pennant, 1776)
มีพฤติกรรมโดยทั่วไป มักว่ายอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว แต่บางครั้งอาจพบรวมฝูงกันหลายสิบตัว แม้จะเป็นปลาใหญ่และมีรูปร่างแปลก แต่สามารถกระโดดเหนือผิวน้ำได้เป็นสิบฟุต มีการบริโภคเป็นอาหารบ้าง แต่ในอวัยวะภายในมีรายงานว่ามีพิษเช่นเดียวกับปลาปักเป้า
กระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเปิดทั่วโลก มักพบในเขตน้ำลึกและมีอุณหภูมิที่เย็น[5]
โดยคำว่า "Mola" นั้นเป็นภาษาลาติน แปลว่า "หินโม่" มีความหมายถึง รูปร่างของปลาในวงศ์นี้[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology 364: 560. http://strata.ummp.lsa.umich.edu/jack/showgenera.php?taxon=611&rank=class เก็บถาวร 2011-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 2008-01-08.
- ↑ "Family Molidae". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-16. สืบค้นเมื่อ 2013-03-19.
- ↑ Keiichi, Matsura & Tyler James C. (1998). Paxton, J.R. & Eschmeyer, W.N.. ed. Encyclopedia of Fishes. San Diego: Academic Press. p. 231. ISBN 0-12-547665-5.
- ↑ จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
- ↑ "โมลา โมล่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-03-15.
- ↑ Family Molidae - Molas or Ocean Sunfishes (อังกฤษ)