โรคไวรัสมาร์บวร์ค

(เปลี่ยนทางจาก Marburg virus disease)

โรคไวรัสมาร์บวร์ค (อังกฤษ: Marburg virus disease, MVD) หรือเดิมเรียก ไข้เลือดออกมาร์บวร์ค (Marburg hemorrhagic fever) เป็นโรคร้ายแรงในมนุษย์และไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ค หรือไวรัสแรเวิน (Ravn virus)[3] โรคไวรัสมาร์บวร์คเป็นไข้เลือดออกจากไวรัสที่มีลักษณะคล้ายโรคไวรัสอีโบลา[1]

โรคไวรัสมาร์บวร์ค
ชื่ออื่นไข้เลือดออกมาร์บวร์ค
ภาพไวรัสมาร์บวร์คจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ (การแพทย์เฉพาะทาง)
อาการไข้, อ่อนแรง, ปวดกล้ามเนื้อ[1]
การตั้งต้น2–21 วันหลังติดเชื้อ[1]
สาเหตุมาร์บวร์คไวรัส[1]
ปัจจัยเสี่ยงสัมผัสโดยตรงกับสารน้ำของผู้ติดเชื้อ[1]
วิธีวินิจฉัยตรวจเลือด[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคไวรัสอีโบลา[1]
การรักษาการรักษาตามอาการ[1]
ความชุกพบได้ยาก
การเสียชีวิตอัตราป่วยตาย 24%–88%[2]

โรคไวรัสมาร์บวร์คมีบันทึกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967 เมื่อเกิดการระบาดในเมืองมาร์บวร์คและแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนีตะวันตก และเมืองเบลเกรด ประเทศยูโกสลาเวีย การระบาดนี้เกิดจากการติดเชื้อจากลิงกรีเวต (Chlorocebus aethiops) ที่ถูกส่งมาจากประเทศยูกันดาเพื่อใช้ในการพัฒนาวัคซีนโปลิโอ การติดเชื้อหลักเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการเมื่อเจ้าหน้าที่ทำงานกับเนื้อเยื่อของลิงโดยไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกันเพียงพอ การติดเชื้อครั้งต่อมาเกิดจากบุคลากรทางการแพทย์สัมผัสเลือดของผู้ป่วย จากการระบาดนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน[4][5][6][7]

การพยากรณ์โรคไวรัสมาร์บวร์คนั้นยังไม่ชัดเจน ผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นมีทั้งฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว หรือมีโรคตาม เช่น อัณฑะอักเสบ ตับอักเสบ หรือม่านตาอักเสบ นอกจากนี้พบว่าไวรัสสามารถคงอยู่ในร่างกายผู้ป่วยที่หายดีและอาจก่อโรคในภายหลัง ทั้งยังสามารถติดต่อผ่านทางตัวอสุจิ[8][9][10][11] เมื่อเกิดการระบาดในประเทศแองโกลาระหว่าง ค.ศ. 2004–2005 มีผู้ติดเชื้อ 252 คน ซึ่งในจำนวนนี้เสียชีวิต 227 คน คิดเป็นอัตราป่วยตาย 90%[12] แม้ทุกกลุ่มอายุมีโอกาสติดเชื้อ แต่การติดเชื้อในเด็กพบได้ยาก การระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกระหว่าง ค.ศ. 1998–2000 มีเพียง 8% ที่เป็นผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 5 ปี[13]

อาการ แก้

โรคไวรัสมาร์บวร์คมีระยะฟักตัว 2–21 วัน โดยเฉลี่ย 5–9 วัน[14] ช่วงวันที่ 1–5 หลังเริ่มแสดงอาการ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน หนาวสั่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง คอหอยอักเสบ ผื่นนูนแบน ปวดท้อง เยื่อตาอักเสบ และละเหี่ย[14] ช่วงวันที่ 5–13 ผู้ป่วยจะมีภาวะสิ้นกำลัง หายใจลำบาก บวมน้ำ ไข้ออกผื่น และอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สมองอักเสบ สับสน เพ้อ ปลายช่วงนี้ผู้ป่วยจะมีอาการตกเลือดซึ่งจะนำไปสู่ช่วงฟื้นตัวหรือทรุดหนัก[14] หลังจากนั้นช่วงวันที่ 13–21 อาการผู้ป่วยสามารถแบ่งเป็นสองประเภท หากฟื้นตัวผู้ป่วยจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ไฟโบรไมอัลเจีย ตับอักเสบ และอ่อนแรง ส่วนผู้ป่วยที่อาการทรุดจะมีไข้ต่อเนื่อง ภาวะตื้อ โคม่า ชัก การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และช็อก ผู้ป่วยมักเสียชีวิต 8–16 วันหลังเริ่มแสดงอาการ[14]

สาเหตุ แก้

โรคไวรัสมาร์บวร์คเกิดจากไวรัสสองชนิดคือไวรัสมาร์บวร์คและไวรัสแรเวินที่อยู่ในสกุล Marburgvirus วงศ์ Filoviridae[15] เป็นไวรัสเฉพาะถิ่นที่พบในป่าแห้งแล้งแถบเส้นศูนย์สูตรของทวีปแอฟริกา[16][17][18] การติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์คส่วนใหญ่มาจากการไปเยือนถ้ำหรือทำงานในเหมือง ในปี ค.ศ. 2009 มีการแยกไวรัสสองชนิดนี้จากค้างคาวผลไม้อียิปต์ (Rousettus aegyptiacus) ที่แข็งแรงที่ถูกจับจากถ้ำ[19] การแยกไวรัสนี้ชี้ว่าค้างคาวผลไม้โลกเก่ามีส่วนเป็นตัวเก็บเชื้อในธรรมชาติ และการเยือนถ้ำที่ค้างคาวอาศัยอยู่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่าค้างคาวผลไม้อียิปต์เป็นพาหะที่แท้จริง หรือรับเชื้อมาจากสัตว์อื่น ปัจจัยเสี่ยงอื่นคือการสัมผัสกับไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ถึงแม้ว่าจะมีการระบาดของโรคนี้เพียงครั้งเดียวในปี ค.ศ. 1967 ที่เกิดจากการสัมผัสกับลิงที่ติดเชื้อ[20]

การวินิจฉัย แก้

โรคไวรัสมาร์บวร์คมีลักษณะคล้ายโรคไวรัสอีโบลา และมักสับสนกับหลายโรคที่พบในแถบเส้นศูนย์สูตรของแอฟริกา เช่น มาลาเรีย ไข้รากสาดน้อย และโรคบิดจากเชื้อชิเกลลา เมื่อวินิจฉัยแยกโรคยังพบว่าโรคนี้มีอาการคล้ายโรคฉี่หนู ไข้รากสาดใหญ่จากป่าละเมาะ และกาฬโรค รวมถึงโรคไม่ติดต่อ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดโปรไมอิโลไซต์ กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตก-ยูรีเมีย และได้รับพิษงู[21][22][23][24] สิ่งสำคัญในการวินิจฉัยโรคนี้คือการซักประวัติผู้ป่วย โดยเฉพาะประวัติการเดินทาง การทำงาน และการสัมผัสสัตว์ป่า การยืนยันโรคไวรัสมาร์บวร์คทำได้ด้วยการแยกไวรัส หรือตรวจหาแอนติเจนหรืออาร์เอ็นเอของไวรัสในตัวอย่างเลือดผู้ป่วย[25]

การป้องกัน แก้

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนรักษาโรคไวรัสมาร์บวร์คที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ มีการพัฒนาวัคซีนหลายชนิด เช่น วัคซีนดีเอ็นเอ[26] วัคซีนที่ใช้เรพลิคอนไวรัสสมองอักเสบม้าเวเนซุเอลา (Venezuelan equine encephalitis virus)[27] ไวรัสปากอักเสบพุพองอินเดียนา (vesicular stomatitis Indiana virus)[28][29] หรืออนุภาคคล้ายไฟโลไวรัส[30] เนื่องจากมาร์บวร์คไวรัสไม่แพร่กระจายทางละอองลอย การป้องกันหลักจึงเป็นการแยกผู้ป่วยและหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง รวมถึงหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง ของเสีย หรือของใช้ผู้ป่วย[31]

การรักษา แก้

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคไวรัสมาร์บวร์คที่จำเพาะและมีประสิทธิภาพ การรักษามุ่งเน้นที่การรักษาตามอาการ ปรับสมดุลสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ให้สารกันเลือดเป็นลิ่มในช่วงต้นเพื่อป้องกันภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย ให้สารจับลิ่มของเลือดในช่วงปลายเพื่อป้องกันการตกเลือด รักษาระดับออกซิเจน บรรเทาอาการปวด และให้ยาปฏิชีวนะหรือสารต้านเชื้อราเพื่อรักษาการติดเชื้อทุติยภูมิ[32][33]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 "Ebola Virus Disease & Marburg Virus Disease - Chapter 3 - 2018 Yellow Book | Travelers' Health | CDC". wwwnc.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 19 July 2019.
  2. "Marburg virus disease". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
  3. Spickler, Anna. "Ebolavirus and Marburgvirus Infections" (PDF).
  4. Kissling, R. E.; Robinson, R. Q.; Murphy, F. A.; Whitfield, S. G. (1968). "Agent of disease contracted from green monkeys". Science. 160 (830): 888–890. Bibcode:1968Sci...160..888K. doi:10.1126/science.160.3830.888. PMID 4296724. S2CID 30252321.
  5. Bonin, O. (1969). "The Cercopithecus monkey disease in Marburg and Frankfurt (Main), 1967". Acta Zoologica et Pathologica Antverpiensia. 48: 319–331. PMID 5005859.
  6. Jacob, H.; Solcher, H. (1968). "An infectious disease transmitted by Cercopithecus aethiops ("marbury disease") with glial nodule encephalitis". Acta Neuropathologica. 11 (1): 29–44. doi:10.1007/bf00692793. PMID 5748997. S2CID 12791113.
  7. Stojkovic, L.; Bordjoski, M.; Gligic, A.; Stefanovic, Z. (1971). "Two Cases of Cercopithecus-Monkeys-Associated Haemorrhagic Fever". ใน Martini, G. A.; Siegert, R. (บ.ก.). Marburg Virus Disease. Berlin, Germany: Springer-Verlag. pp. 24–33. ISBN 978-0-387-05199-4{{inconsistent citations}}{{cite book}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  8. Nikiforov, V. V.; Turovskiĭ, I.; Kalinin, P. P.; Akinfeeva, L. A.; Katkova, L. R.; Barmin, V. S.; Riabchikova, E. I.; Popkova, N. I.; Shestopalov, A. M.; Nazarov, V. P. (1994). "A case of a laboratory infection with Marburg fever". Zhurnal Mikrobiologii, Epidemiologii, I Immunobiologii (3): 104–106. PMID 7941853.
  9. Martini, G. A.; Schmidt, H. A. (1968). "Spermatogenic transmission of the "Marburg virus". (Causes of "Marburg simian disease")". Klinische Wochenschrift. 46 (7): 398–400. doi:10.1007/bf01734141. PMID 4971902. S2CID 25002057.
  10. Siegert, R.; Shu, H. -L.; Slenczka, W. (2009). "Nachweis des "Marburg-Virus" beim Patienten". Deutsche Medizinische Wochenschrift. 93 (12): 616–619. doi:10.1055/s-0028-1105105. PMID 4966286.
  11. Kuming, B. S.; Kokoris, N. (1977). "Uveal involvement in Marburg virus disease". The British Journal of Ophthalmology. 61 (4): 265–266. doi:10.1136/bjo.61.4.265. PMC 1042937. PMID 557985.
  12. "Known Cases and Outbreaks of Marburg Hemorrhagic Fever, in Chronological Order". Centers for Disease Control and Prevention. July 31, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2011. สืบค้นเมื่อ 2 September 2011.
  13. "Marburg haemorrhagic fever". Health Topics A to Z. สืบค้นเมื่อ 2011-09-25.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Mehedi, Masfique; Allison Groseth; Heinz Feldmann; Hideki Ebihara (September 2011). "Clinical aspects of Marburg hemorrhagic fever". Future Virol. 6 (9): 1091–1106. doi:10.2217/fvl.11.79. PMC 3201746. PMID 22046196.
  15. Singh, edited by Sunit K.; Ruzek, Daniel (2014). Viral hemorrhagic fevers (ภาษาอังกฤษ). Boca Raton: CRC Press. p. 458. ISBN 9781439884317. สืบค้นเมื่อ 28 October 2017. {{cite book}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  16. Peterson, A. T.; Bauer, J. T.; Mills, J. N. (2004). "Ecologic and Geographic Distribution of Filovirus Disease". Emerging Infectious Diseases. 10 (1): 40–47. doi:10.3201/eid1001.030125. PMC 3322747. PMID 15078595.
  17. Pinzon, E.; Wilson, J. M.; Tucker, C. J. (2005). "Climate-based health monitoring systems for eco-climatic conditions associated with infectious diseases". Bulletin de la Société de Pathologie Exotique. 98 (3): 239–243. PMID 16267968.
  18. Peterson, A. T.; Lash, R. R.; Carroll, D. S.; Johnson, K. M. (2006). "Geographic potential for outbreaks of Marburg hemorrhagic fever". The American Journal of Tropical Medicine and Hygiene. 75 (1): 9–15. doi:10.4269/ajtmh.2006.75.1.0750009. PMID 16837700.
  19. Towner, J. S.; Amman, B. R.; Sealy, T. K.; Carroll, S. A. R.; Comer, J. A.; Kemp, A.; Swanepoel, R.; Paddock, C. D.; Balinandi, S.; Khristova, M. L.; Formenty, P. B.; Albarino, C. G.; Miller, D. M.; Reed, Z. D.; Kayiwa, J. T.; Mills, J. N.; Cannon, D. L.; Greer, P. W.; Byaruhanga, E.; Farnon, E. C.; Atimnedi, P.; Okware, S.; Katongole-Mbidde, E.; Downing, R.; Tappero, J. W.; Zaki, S. R.; Ksiazek, T. G.; Nichol, S. T.; Rollin, P. E. (2009). Fouchier, Ron A. M. (บ.ก.). "Isolation of Genetically Diverse Marburg Viruses from Egyptian Fruit Bats". PLOS Pathogens. 5 (7): e1000536. doi:10.1371/journal.ppat.1000536. PMC 2713404. PMID 19649327.
  20. Siegert, R.; Shu, H. L.; Slenczka, W.; Peters, D.; Müller, G. (2009). "Zur Ätiologie einer unbekannten, von Affen ausgegangenen menschlichen Infektionskrankheit". Deutsche Medizinische Wochenschrift. 92 (51): 2341–2343. doi:10.1055/s-0028-1106144. PMID 4294540.
  21. Gear, J. H. (1989). "Clinical aspects of African viral hemorrhagic fevers". Reviews of Infectious Diseases. 11 Suppl 4: S777–S782. doi:10.1093/clinids/11.supplement_4.s777. PMID 2665013.
  22. Gear, J. H.; Ryan, J.; Rossouw, E. (1978). "A consideration of the diagnosis of dangerous infectious fevers in South Africa". South African Medical Journal. 53 (7): 235–237. PMID 565951.
  23. Grolla, A.; Lucht, A.; Dick, D.; Strong, J. E.; Feldmann, H. (2005). "Laboratory diagnosis of Ebola and Marburg hemorrhagic fever". Bulletin de la Société de Pathologie Exotique. 98 (3): 205–209. PMID 16267962.
  24. Bogomolov, B. P. (1998). "Differential diagnosis of infectious diseases with hemorrhagic syndrome". Terapevticheskii Arkhiv. 70 (4): 63–68. PMID 9612907.
  25. "Marburg virus disease". World Health Organization. February 15, 2018. สืบค้นเมื่อ March 20, 2021.
  26. Riemenschneider, J.; Garrison, A.; Geisbert, J.; Jahrling, P.; Hevey, M.; Negley, D.; Schmaljohn, A.; Lee, J.; Hart, M. K.; Vanderzanden, L.; Custer, D.; Bray, M.; Ruff, A.; Ivins, B.; Bassett, A.; Rossi, C.; Schmaljohn, C. (2003). "Comparison of individual and combination DNA vaccines for B. Anthracis, Ebola virus, Marburg virus and Venezuelan equine encephalitis virus". Vaccine. 21 (25–26): 4071–4080. doi:10.1016/S0264-410X(03)00362-1. PMID 12922144.
  27. Hevey, M.; Negley, D.; Pushko, P.; Smith, J.; Schmaljohn, A. (Nov 1998). "Marburg virus vaccines based upon alphavirus replicons protect guinea pigs and nonhuman primates". Virology. 251 (1): 28–37. doi:10.1006/viro.1998.9367. ISSN 0042-6822. PMID 9813200.
  28. Daddario-Dicaprio, K. M.; Geisbert, T. W.; Geisbert, J. B.; Ströher, U.; Hensley, L. E.; Grolla, A.; Fritz, E. A.; Feldmann, F.; Feldmann, H.; Jones, S. M. (2006). "Cross-Protection against Marburg Virus Strains by Using a Live, Attenuated Recombinant Vaccine". Journal of Virology. 80 (19): 9659–9666. doi:10.1128/JVI.00959-06. PMC 1617222. PMID 16973570.
  29. Jones, M.; Feldmann, H.; Ströher, U.; Geisbert, J. B.; Fernando, L.; Grolla, A.; Klenk, H. D.; Sullivan, N. J.; Volchkov, V. E.; Fritz, E. A.; Daddario, K. M.; Hensley, L. E.; Jahrling, P. B.; Geisbert, T. W. (2005). "Live attenuated recombinant vaccine protects nonhuman primates against Ebola and Marburg viruses". Nature Medicine. 11 (7): 786–790. doi:10.1038/nm1258. PMID 15937495. S2CID 5450135.
  30. Swenson, D. L.; Warfield, K. L.; Larsen, T.; Alves, D. A.; Coberley, S. S.; Bavari, S. (2008). "Monovalent virus-like particle vaccine protects guinea pigs and nonhuman primates against infection with multiple Marburg viruses". Expert Review of Vaccines. 7 (4): 417–429. doi:10.1586/14760584.7.4.417. PMID 18444889. S2CID 23200723.
  31. Centers for Disease Control and Prevention and World Health Organization (1998). Infection Control for Viral Haemorrhagic Fevers in the African Health Care Setting (PDF). Atlanta, Georgia, USA: Centers for Disease Control and Prevention. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-07. สืบค้นเมื่อ 2009-05-31.
  32. Bausch, D. G.; Feldmann, H.; Geisbert, T. W.; Bray, M.; Sprecher, A. G.; Boumandouki, P.; Rollin, P. E.; Roth, C.; Winnipeg Filovirus Clinical Working Group (2007). "Outbreaks of Filovirus Hemorrhagic Fever: Time to Refocus on the Patient". The Journal of Infectious Diseases. 196: S136–S141. doi:10.1086/520542. PMID 17940941.
  33. Jeffs, B. (2006). "A clinical guide to viral haemorrhagic fevers: Ebola, Marburg and Lassa". Tropical Doctor. 36 (1): 1–4. doi:10.1258/004947506775598914. PMID 16483416. S2CID 101015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้