มาห์เซียร์

(เปลี่ยนทางจาก Mahseer)

มาห์เซียร์ (อังกฤษ: Mahseers), มหาศีร์ (ฮินดี: महाशीर) หรือ มหาสีร์ (ฮินดี: महासीर) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Tor[1], Neolissochilus[2] และ Naziritor[3]โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล Tor[4] ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

ปลาพลวงหิน (Neolissochilus stracheyi) ที่น้ำตกเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี
ปลาเวียนทอง (Tor putitora) วัยอ่อน ซึ่งเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มมาห์เซียร์

มาห์เซียร์เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ในเขตร้อนของทวีปเอเชียตั้งแต่มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เอเชียใต้ จนถึงอิหร่าน ตลอดจนอนุทวีปอินเดีย[5][4]

มาห์เซียร์เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ มีรูปร่างคล้ายปลาคาร์ป เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ มักพบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ใสสะอาด มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง เช่น ลำธารหรือน้ำตกในป่าดิบชื้น หรือแม่น้ำขนาดใหญ่หลายสาย เช่น แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำเมย[6], แม่น้ำเพชรบุรี เป็นต้น [7]

เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา และนิยมรับประทานเนื้อเป็นอาหารในบางชนิด และบางพื้นที่ แต่ขณะที่บางพื้นที่ในประเทศไทยมีความเชื่อว่า เมื่อรับประทานไปแล้วจะมีอาการมึนเมา หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงเชื่อกันว่าเป็นปลาเจ้า แต่ความจริงแล้ว เกิดจากการที่ปลากินผลไม้พิษจำพวกลูกกระเบาหรือลูกลำโพงเข้าไปแล้วสะสมความเป็นพิษไว้ในตัวเหมือนกับกรณีของปลาบ้า เมื่อมีผู้รับประทานไปแล้วจะเกิดมีอาการมึนเมา[8]

มาห์เซียร์ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือปลาเวียนทอง ซึ่งมีสถิติบันทึกไว้ว่ายาวได้ถึง 2.75 เมตร (9 ฟุต) และมีน้ำหนักถึง 54 กิโลกรัม (119 ปอนด์) ถือว่าเป็นหนึ่งในปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย แต่ปัจจุบันนี้ก็หาตัวอย่างปลาที่มีขนาดใกล้เคียงขนาดนี้ได้ยากเต็มที[9] [6]

สำหรับมาห์เซียร์ มีชื่อเรียกหลากหลายในภาษาไทย เช่น "ปลาพลวง", "ปลาโพ"[10], "ปลาเพง[11] ", "ปลาจาด"[10] , "ปลาพุง", "ปลายาด" [12], "ปลาคม", "ปลาเวียน", "ปลาเงียน" ในขณะที่ภาษามลายูจะเรียกว่า "อีกันเมเลาะ" หรือ "อีกันกือเลาะ" เป็นต้น[8]

การจำแนก แก้

สกุล Tor แก้

ประกอบด้วย[1]

สกุล Neolissochilus แก้

ประกอบด้วย:[2]

สกุล Naziritor แก้

ประกอบด้วย:[3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Genus: Tor". fishbase.org. 5 April 2014. สืบค้นเมื่อ 5 April 2014.
  2. 2.0 2.1 "Genus: Neolissochilus". fishbase.org. 5 April 2014. สืบค้นเมื่อ 5 April 2014.
  3. 3.0 3.1 "Genus: Naziritor". fishbase.org. 5 April 2014. สืบค้นเมื่อ 5 April 2014.
  4. 4.0 4.1 Roberts TR (1999). "Fishes of the cyprinid genus Tor in the Nam Theun watershed, Mekong Basin of Laos, with description of a new species". Raffles Bulletin of Zoology. 47 (1): 225–236. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 2014-04-05.
  5. Menon AGK, 1992. Taxonomy of mahseer fishes of the genus Tor Gray with description of a new species from the Deccan. J. Bombay Nat. Hist. Soc. 89 (2):210–228
  6. 6.0 6.1 หน้า 118, Monsters of the River 2013 โดย กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, ป๋อง บางตาล. "V.I.P. (Very Important Pisces)". นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 4 ฉบับที่ 39: กันยายน 2013
  7. "ปลาเวียน". ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรี กรมประมง. 5 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-26. สืบค้นเมื่อ 5 April 2014.
  8. 8.0 8.1 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 115-116. ISBN 974-00-8701-9
  9. Cordington, K. De. B. 1939. Notes on Indian Mahseer. Journal of Bombay Natural History Society. 46: 336–334
  10. 10.0 10.1 ราชบัณฑิตยสถาน, 2539: หน้า 225
  11. ดร. ชวลิต วิทยานนท์. ปลาน้ำจืดไทย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2544. 115 หน้า. หน้า 42. ISBN 9789744726551
  12. ราชบัณฑิตยสถาน, 2539: หน้า 775

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้